เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการสื่อสารวางตัวที่เหมาะในที่ประชุม

โดย : นางนงเยาว์ ธุระสะ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-05-17-15:50:43

ที่อยู่ : บ้านเลขที่167/4 หมู่ที่ 9 ตำบลเนินปอ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                      การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน  โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

                ดังนั้น ผู้นำวิทยากรสัมมาชีพชุมชน จึงต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน และการประชุมจึงเป็นที่จับตาของคัวเรือนสัมมาชีพว่าผู้นำวิทยากรสัมมาชีพชุมชนสามารถวางตัวที่เหมาะในที่ประชุมหรือไม่

วัตถุประสงค์ ->

          1. ใช้คำพูดเป็นเหตุเป็นผล ขึ้นต้นประโยค ในระหว่างการประชุม เมื่อคุณต้องการแสดงความคิดเห็นใดๆ ออกมา ถ้าจะให้เวิร์คสุด ควรขึ้นต้นประโยคด้วยคำพูดที่มีเหตุผล น่าเชื่อถือ เพื่อสนับสนุนให้ความคิดเห็นของคุณดูมีน้ำหนักมากขึ้น ตัวอย่างเช่น “จากประสบการณ์ของฉัน ฉันพบว่า...” หรือ “ฉันพบว่าการทำงานที่ดีน่าจะเป็นไปในแบบ...”

          2. ถ้าเห็นด้วยกับใคร จงชื่นชม-พูดชื่อเขาออกมาเลย เมื่อนั่งฟังความคิดเห็นใครต่อใครในที่ประชุม อาจมีบ้างที่คุณเห็นด้วยกับความคิดของคนอื่น ซึ่งมารยาทที่ควรทำในข้อนี้บอกไว้เลยว่า ถ้ารู้สึกเห็นด้วยกับใคร อย่าทำแค่พยักหน้าหรือผงกหัวเท่านั้น แต่ควรจะเอ่ยปากชม พร้อมระบุชื่อผู้พูดคนนั้นออกมาด้วย เพราะนอกจากจะเป็นการให้เครดิตกับเจ้าของความคิดเห็นดีๆ แล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้คุณเป็นที่จดจำของคนในที่ประชุมได้ด้วย ประมาณว่ามีเสียงในที่ประชุมบ้าง คนเค้าได้ไม่ลืม แต่คงไม่ต้องถึงกับพูดเห็นด้วยกับทุกคนจนพร่ำเพรื่อหรอกนะ เอาแค่พอเหมาะ ตัวอย่างเช่น “ฉันเห็นด้วยที่คุณเอกพูดนะคะ เป็นความคิดที่ดีมากเลยค่ะ”

          3. เช็กเสมอว่า คนในที่ประชุมเข้าใจตรงกันกับสิ่งที่คุณพูด หากถึงคราวที่คุณทำหน้าที่เป็นผู้พูดในที่ประชุมบ้าง ควรตระหนักเสมอว่า คนอื่นๆ ในที่ประชุมอาจจะไม่เข้าใจสิ่งที่คุณพูดได้ทั้งหมดเสมอไป เพราะหลายครั้งเหลือเกินที่พบว่า การถกเถียงในที่ประชุมส่วนใหญ่ มักมาจากการสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน

         ดังนั้นเช็กให้ดีค่ะ ว่าคนอื่นเข้าใจตรงกับที่คุณพูดหรือเปล่า โดยสังเกตทั้งคำพูด ท่าทาง และสีหน้าของเขาด้วย เพราะบางคนอาจพยักหน้าเมื่อเราพูด แต่การพยักหน้าก็มองได้ 2 มุมว่า พยักหน้าเพราะเห็นด้วย หรือพยักหน้าไปงั้น แต่ไม่ได้ใส่ใจกับสิ่งที่คุณพูด ฉะนั้นอย่ามองเพียงผ่านๆ แต่ต้องใส่ใจกับปฏิกิริยาตอบกลับของผู้ฟังด้วยค่ะ

          4. มั่นเข้าไว้ แม้คนในที่ประชุมจะบอกว่าไม่ get สิ่งที่คุณพูด ถึงแม้เวลาที่คุณอธิบายอยู่ จะมีคนในที่ประชุมพูดขึ้นว่า “ผมไม่เข้าใจเลย ว่าคุณกำลังพูดอะไรอยู่” โอ้ว! แม้จะเป็นคำกล่าวที่แรง และบั่นทอนจิตใจคุณได้เยอะอยู่ แต่อย่าเพิ่งท้อใจ ทำใจร่มๆ แล้วคิดซะว่า บางทีเราอาจจะอธิบายไม่กระจ่างก็ได้ จึงทำให้เขาไม่เข้าใจสิ่งที่เราพูด จากนั้นค่อยรวบรวมสติ แล้วอธิบายอย่างใจเย็นอีกที อย่าไปเหวี่ยง หรือหงุดหงิดใส่คนที่ไม่เข้าใจเด็ดขาด เพราะมันจะทำให้คุณเสียคะแนนความนิยมอย่างมหาศาลเชียว

           5. ใช้คำพูดน่ารักๆ ให้กำลังใจผู้อื่นบ้าง มันจะดีมากเลยค่ะ ถ้าหากคุณคล้อยตามกับสิ่งที่คนอื่นพูด แล้วคุณโปรยคำหวานให้เขาได้ชุ่มฉ่ำหัวใจบ้าง เพราะนั่นไม่เพียงจะช่วยให้ผู้พูดมีกำลังใจ แต่ยังช่วยให้คนอื่นในที่ประชุมรู้สึกว่าคุณใจกว้าง แล้วก็น่ารักขึ้นเป็นกองเชียวค่ะ ตัวอย่างเช่น “ฉันเคยคิดว่า...แต่หลังจากที่ได้ฟังคุณดำรงพูดแล้ว ฉันรู้สึกว่ามันดีกว่าแบบเดิมเยอะเชียวค่ะ”

         6. แสดงความเห็นแย้งได้ แต่ต้องมีเหตุผล ในระหว่างที่คนอื่นพูด ไม่ควรทำปากขมุมขมิบ หรือบ่นพึมพำคนเดียว เพราะมันเหมือนว่าคุณกำลังเถียงผู้พูดอยู่ตลอดเวลา (ถึงแม้คุณจะไม่ได้ตั้งใจก็เถอะ) แต่ถ้าคุณรู้สึกไม่เห็นด้วยกับความคิดของคนอื่น ก็ไม่ต้องกลัวที่จะแสดงความคิดเห็นแย้งค่ะ สามารถทำได้เพียงแต่ควรพูดอย่างมีมารยาท น้ำเสียงสุภาพ ที่สำคัญ ควรบอกเหตุผลที่คุณไม่เห็นด้วย พร้อมให้ทางเลือกอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย ตัวอย่างเช่น ฉันคิดว่าแนวทางนี้ไม่น่าจะเหมาะสมนะคะ เพราะ...ฉันแนะนำว่าเราน่าจะมีวิธีอื่นเช่น....

           7. หากความคิดของคุณผิด ต้องยืดอกยอมรับ หากความคิดเห็นที่คุณแสดงไว้มันผิดพลาด หรือมีความคิดเห็นของคนอื่นที่ดีกว่า จงยอมรับอย่างเต็มใจ และยืดอกรับฟังอย่างสุภาพ บางครั้งถ้ายังทำไม่ได้ก็ท่องไว้ว่า “การทำงานมันย่อมมีผิดพลาดกันบ้าง ไม่มีใครหรอกที่จะดีไปทั้งหมด” ยิ้มรับเข้าไว้ แล้วคุณจะกุมหัวใจ คนทั้งที่ประชุมได้ค่ะ

             8. “ขอโทษ” ก่อนพูดแทรก มารยาทที่ดี ไม่ควรที่จะพูดแทรกในระหว่างที่คนอื่นกำลังพูดอยู่ค่ะ เพราะมันคือ การรบกวนทั้งตัวผู้พูด และผู้ฟังคนอื่นๆ ไปในคราวเดียวกัน คุณอาจถูกเหมารวมได้ว่าเป็นคนไม่มีมารยาท แต่หากจำเป็นจริงๆ ที่คุณจะต้องพูดแทรกเดี๋ยวนั้น เช่นข้อมูลที่ผู้พูดกำลังบรรยายอยู่ผิดมหันต์ ก็พออนุโลมได้ แต่ก่อนพูดแทรกขึ้นไป ควรยกมือ พูดขอโทษ หรือบอกให้ที่ประชุมรู้ว่าคุณขอรบกวนสักครู่ตัวอย่างเช่น “ขอโทษนะคะ ดิฉันขอรบกวนสักครู่ คือ ดิฉันคิดว่าตัวเลขที่คุณพูดถึงไม่ถูกต้องค่ะ”

           9. ให้เกียรติผู้อื่น โดยถามความคิดเห็นของเขา ในบางครั้งคุณก็สามารถให้กำลังใจ หรือสร้างความมีตัวตน สร้างความมั่นใจให้กับผู้อื่นได้ง่ายๆ ด้วยการถามถึงความคิดเห็นของเขา ซึ่งอาจจะเป็นคนที่นั่งเฉยๆ ไม่ค่อยได้แสดงบทบาทในที่ประชุมมากนัก แต่ข้อสำคัญต้องมั่นใจนะคะ ว่าน้ำเสียง สีหน้า และท่าทางของคุณดูมีไมตรี สุภาพ ไม่ได้เย้ยหยันเขา ตัวอย่างเช่น “ฉันอยากทราบนะคะว่าคุณวินัย คิดอย่างไรกับเรื่องนี้” (พูดจบอย่าลืมส่งยิ้มหวานๆ แถมท้ายไปด้วยนะคะ)

             10. ใช้คำว่า “เรา” เมื่อต้องการข้อสรุปการประชุม กรณีที่ประชุมกันมานานเกินควร แล้วยังไม่ได้ข้อสรุปเสียที หากคุณกำลังคิดหาทางออก หรือข้อสรุปในที่ประชุม จำไว้ว่าควรเน้นคำว่า “พวกเรา” เสมอ เพื่อเป็นเหมือนการดึงเอาความคิด และความรู้สึกร่วมของทุกคนมารวมกันไว้ ตัวอย่างเช่น “ฉันแนะนำว่าพวกเราน่าจะทำการ...” หรือ “พวกเรามีความเห็นร่วมกันว่า...ใช่มั้ยคะ”

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

             การวางตัวที่เหมาะสมในที่ประชุมจะทำให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนเชื่อถือเรา และพร้อมที่จะดำเนินการตามแนวทางที่เราแนะนำ

อุปกรณ์ ->

             อย่างวางตัวมากเกินไป แต่ควรวางตัวให้เหมาะสม มีรอยยิ้มอยู่เสมอ แสดงความจริงใจออกมาทุกครั้ง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

               การแต่งกายที่เข้ากับสถานการณ์ก็จะช่วยผลักดันให้เรามีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา