เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การสร้างวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

โดย : นายเสนาะ กันน้อย ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-05-30-12:58:07

ที่อยู่ : 107/2 หมู่ที่ 8 ตำบลเนินสว่าง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

        ข้าพเจ้าได้รับการคัดเลือกจากหมู่บ้านให้เป็นปราชญ์ชุมชน และเป็นตัวแทนปราชญ์เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องสัมมาชีพ ทักษะการถ่ายทอดความรู้ เทคนิคการเป็นวิทยากร และกระบวนการสัมมาชีพชุมชน สามารถนำความรู้กลับไปทำหน้าที่ “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน” ในระดับหมู่บ้านได้

 

วัตถุประสงค์ ->

         1. เข้ารับการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”

          2. ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และวิเคราะห์ความต้องการอาชีพของประชาชนในหมู่บ้าน

          3. ร่วมกับพัฒนากร คัดเลือกปราชญ์ชุมชน เพิ่มอีก 4 คน เพื่อร่วมทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน รวมเป็น 5 คน

          4. ร่วมประชุมโครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

                   - ถ่ายทอดความรู้ ของการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ

                   - ฝึกการถ่ายทอดองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้

                   - รับมอบภารกิจ โดยให้ทีมทั้ง 5 คน ไปหาครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ อีกคนละ 4 ครัวเรือน เน้นครัวเรือนยากจนเป็นอันดับแรก

          5. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ จำนวน 20 ครัวเรือน โดยแบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรฯ 1 คนต่อ 4 ครัวเรือน เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องสัมมาชีพชุมชน สอบถามครัวเรือนสนใจฝึกอาชีพหรือไม่

          5. ดำเนินโครงการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 20 คน เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ครัวเรือนสนใจ โดยทีมวิทยากรจำนวน 5 คน ผู้แทนครัวเรือนศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ชัยพัฒนาการเกษตรสิรินธร อำเภอบางมูลนาก และสาธิตอาชีพ (พร้อมกรอกข้อมูลในแบบติดตามครัวเรือนสัมมาชีพ ในวันที่ 3 ของการอบรม)

          6. ติดตามเยี่ยมเยียนครัวเรือนเป้าหมายที่ฝึกอาชีพ เกี่ยวกับการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพตามที่ได้รับการอบรม

          7. ทีมวิทยากรชุมชนสัมมาชีพชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องติดตามครัวเรือนสัมมาชีพอย่างต่อเนื่อง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

          1. การส่งเสริมสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ

          2. ความร่วมมือจากหมู่บ้านและครัวเรือนเป้าหมาย

          3. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

อุปกรณ์ ->

        การคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมาย ควรคัดเลือกจากผู้ที่สมัครใจในการประกอบอาชีพ เพราะถ้าคัดเลือกครัวเรือนที่ไม่มีความพร้อม (เวลา การเข้าร่วมกิจกรรม) ก็จะไม่เกิดประโยชน์ และไม่นำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

        การกำหนดอาชีพของครัวเรือนสัมมาชีพ ควรจะระเบิดจากข้างใน และตรงกับปัญหาความต้องการที่แท้จริง ของชุมชน

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา