เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคพัฒนาคนบนเส้นทางสัมมาชีพ

โดย : นายประจักษ์ ไชยวงค์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-03-11:14:31

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดงเจริญ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กระทรวงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ โดยมีแผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง โดยการส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยคำว่า “สัมมาชีพชุมชน” จึงหมายถึง “ชุมชนที่มีการประกอบอาชีพโดยชอบ ซึ่งมีรายได้มากกว่ารายจ่าย โดยลดการเบียดเบียนตนเองผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ต้องมีความสอดคล้องกับวิถีของชุมชนเพื่อความมุ่งหมายในการสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชน”

          การที่อยากให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นและประกอบอาชีพที่สุจริต และชุมชนเข้มแข็งช่วยเหลือตนเองได้จึงเป็นแรงบรรดาลใจให้ทำกิจกรรมนี้

วัตถุประสงค์ ->

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอส่งเสริมและสนับสนุนการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านให้มีความพร้อม สามารถจัดการฝึกอบรมอาชีพ ให้กับประชาชนในหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. ดำเนินการร่วมกับวิทยากรผู้นำสัมมาชีพหมู่บ้านละ 1 คน ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”คัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน เพื่อร่วมทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆ ละ 5 คน โดยคัดเลือกจากฐานข้อมูลตามแบบสำรวจปราชญ์ชุมชนหรือผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รวบรวมส่งให้กรมฯ เรียบร้อยแล้ว
  2. ประชุมปรึกษาหารือเพื่อวางแผน ออกแบบ วิธีการจัดประชุมฯ โดยมีเนื้อหาที่สำคัญในการประชุมเพื่อพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ในการเตรียมความพร้อมให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพต่อไปซึ่งมีกรอบการเรียนรู้
  3. สร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องอาชีพที่ต้องการเรียนรู้ และการสาธิตอาชีพ
  4. ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้
  5. ฝึกปฏิบัติภายในครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ
  6. ส่งเสริม ติดตามสนับสนุน และกำกับให้ 20 ครัวเรือนสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปประกอบอาชีพ ให้ก่อเกิดเป็นอาชีพและมีรายได้หรือลดรายจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการรายงานผลการติดตามในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนที่กำหนดรวบรวมไว้เป็นหลักฐาน เพื่อรองรับการติดตามของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ และทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพระดับอำเภอ
  7. สนับสนุนให้ชุมชนจัดระบบบริหารการจัดการเงินทุนประกอบอาชีพ เพื่อให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนรวมกลุ่ม สามารถประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ
  8. ขั้นติดตามและประเมินผลการติดตามการดำเนินกิจกรรม พัฒนากรต้องติดตามผลการดำเนินงานทุกระยะ และเป็นพี่เลี้ยงของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

  1. ผู้นำทั้ง ๔ ภาคส่วน  คือ ผู้นำธรรมชาติ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ และหน่วยราชการในพื้นที่ ร่วมกันคิดเรื่องการพัฒนา
  2. ใช้ข้อมูลที่คนในชุมชนร่วมกันทำ และ แปลงเป็นแผนในการบริหารการพัฒนาของชุมชน
  3. คนในชุมชน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์ ร่วมเรียนรู้ และร่วมตรวจสอบ กระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญ และทำให้การผสานพลัง สร้างเศรษฐกิจฐานล่างที่ยั่งยืนได้จริง คือ กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่องผ่านการปฏิบัติ เป็นการผสานพลังชุมชน

อุปกรณ์ ->

  1. ขั้นตอนการคัดเลือกปราชญ์ ควรเลือกผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพที่ชัดเจน
  2. การคัดเลือกทีมวิทยากรสัมมาชีพต้องเป็นบุคคลที่สมัครใจ และมีความรู้ความสามารถ เสียสละ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ควรส่งเสริมให้มีการบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล บูรณาการร่วมกับหน่วยงานองค์กรต่างๆ ในชุมชนและนำโครงการสัมมาชีพของชุมชน บรรจุลงในแผนชุมชนเพื่อพัฒนาต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา