เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการคัดเลือกและสนับสนุนครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ตามแนวทางสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

โดย : นางขวัญสุดา โลหะเวช ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-28-14:27:48

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองบัว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชน  กระทรวงมหาดไทย  มุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก  โดยต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วยการสร้างอาชีพ  ซึ่งเป็นอาชีพที่มาหนุนเสริมเพิ่มเติมรายได้จากอาชีพหลัก  ลดความเสี่ยงของภาคอาชีพเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม  มีความเสี่ยงจากความผันผวนภายนอก  เช่น ภาวะเศรษฐกิจภัยธรรมชาติ  เป็นต้น  ด้วยการใช้องค์ความรู้ที่มีในชุมชนซึ่งมาจากปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ              ที่มีอยู่แล้วในชุมชน  ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจเรียนรู้  พัฒนาต่อยอดเป็นอาชีพใหม่ๆ  แล้วสร้างรายได้เพิ่มเติมจากรายได้ของอาชีพหลัก  จึงเป็นที่มาของการสร้าง  “สัมมาชีพชุมชน”  โดยกรมการพัฒนาชุมชนกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ลงไปในพื้นที่เป้าหมายตามพื้นที่ในความรับผิดชอบของยุทธศาสตร์ที่  1  การส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท  จำนวน  23,589  หมู่บ้านทั่วประเทศ  ให้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครัวเรือนในหมู่บ้านเป้าหมายดังกล่าวมีโอกาสในการเรียนรู้  และพัฒนาอาชีพให้เกิดสัมมาชีพชุมชนเพื่อสร้างรายได้ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตไปได้อย่างมีคุณภาพต่อไป ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2560 อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ มีหมู่บ้านเป้าหมายดังกล่าว จำนวน 23 หมู่บ้าน

วัตถุประสงค์ ->

ในบทบาทพัฒนากรผู้ประสานงานประจำตำบล มีหน้าที่ในการสนับสนุนให้การดำเนินงานตามแนวทางสัมมาชีพชุมชนในพื้นที่เป้าหมายให้เกิดผลสำเร็จ ซึ่งได้ดำเนินการตามกระบวนการที่กรมฯ กำหนด แล้วพบว่า สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนประสบผลสำเร็จได้นั้น การคัดเลือก และสนับสนุนครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนเป้าหมาย จำนวน 20 ครัวเรือนมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งผู้เขียนได้ดำเนินการดังต่อไปนี้

                    1. ศึกษาทำความเข้าใจแนวทางสัมมาชีพชุมชน

                    2. ประชาคมชี้แจงทำความเข้าใจกับหมู่บ้าน

                    3. รับสมัครครัวเรือนที่ต้องการร่วมเป็นครัวเรือนสัมมาชีพ ทั้งนี้ ให้ผู้นำช่วยชักชวนให้ครัวเรือนสนใจสมัครด้วยอีกทาง

                    4. ในกรณีครัวเรือนสมัครใจมีมากกว่า  20  ครัวเรือนตามที่โครงการกำหนด จะคัดเลือกโดย         ยึดหลักพิจารณาจาก

                   - ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย

                   - ครัวเรือนที่มีภาวะหนี้สินมาก

                   - เป็นครัวเรือนที่ยังไม่มีรายได้เสริม

                    5. เมื่อได้กลุ่มเป้าหมายครบแล้ว ให้มีการประชุมชี้แจงร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ให้สร้างความรู้ ความเข้าใจแนวทางที่ครัวเรือนจะต้องดำเนินการ และที่สำคัญ จะต้องสร้างแรงบันดาลใจในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

                    6. พัฒนากรจะต้องมีการติดตาม สนับสนุนการทำงานของวิทยากรสัมมาชีพชุมชนอย่างสม่ำเสมอ

                    7.พัฒนากรจะต้องลงพื้นที่พร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน เพื่อสนับสนุนให้กำลังใจ ให้คำแนะนำต่างๆ แก่ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนอย่างต่อเนื่อง เป็นกระกระตุ้นการทำหน้าที่ของวิทยากรสัมมาชีพชุมชน และครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนให้ดำเนินการตามแนวทาง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินงานจะเกิดได้ พัฒนากรต้องมีความรู้ความเข้าใจ ประกอบกับมีการเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนที่เกิดจากความสมัครใจ พัฒนากรต้องติดตามสนับสนุนการทำงานของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ตลอดจนครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิด

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา