เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน หมู่ 8 ตำบลเกรียงไกร

โดย : นางสาววนิดา อำพันธ์ุ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-04-09:34:25

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองนครสวรรค์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน  โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตาม  แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน จากพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายที่ผ่านการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การสำรวจข้อมูล และการจัดเวทีประชาคมทำแผนชุมชนในปี 2559 ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชนเพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชน หรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพ มีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

         บทบาทของพัฒนากรในการขับเคลื่อนภารกิจ   ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลหมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการสัมมาชีพชุมชน ทั้งสิ้น  14  หมู่บ้านใน  2 ตำบล ดำเนินการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด โดยมีเป้าหมายให้ครัวเรือนสัมมาชีพได้มีโอกาสในการเรียนรู้ และพัฒนาอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ของครัวเรือนให้เพิ่มขึ้น  .

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการ และขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

1.1.            ขั้นเตรียมการ

(1)    เตรียมความพร้อมข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านในการฝึกอบรมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน โดยการสำรวจข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน และจัดทำทะเบียนข้อมูลฯ  หมู่บ้าน  10  คน

(2)    คัดเลือกปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ประสบความสำเร็จ หรือเชี่ยวชาญในอาชีพ ที่พร้อมเข้ารับ การอบรมเป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดสัมมาชีพ จำนวน 1 คน จากเวทีประชาคม เข้าอบรมการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน  (วิทยากรสัมมาชีพชุมชน) ณ ศูนย์พัฒนาชุมชนนครนายก

(3)    วิทยากรสัมมาชีพชุมชนกลับไปสร้างทีมในหมู่บ้าน โดยการคัดเลือกปราชญ์ชุมชนหมู่บ้านละ 4 คน รวมเป็น 5 คน เพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

(4)    ศึกษาแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนจากเอกสารของกรมการพัฒนาชุมชน และเตรียมประสานผู้นำฯ เตรียมพื้นที่ในการดำเนินการสร้างสัมมาชีพชุมชน

1.2.            ขั้นตอนดำเนินการ

               หลังจากทีมวิทยากรสัมมาชีพไปเข้ารับการอบรมแล้ว ให้กลับมาดำเนินการ  วิทยากร 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือน รวมหมู่บ้านละ  20  คน เป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ เพื่อให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน กลับมาวางแผน และวิเคราะห์ข้อมูลในหมู่บ้าน และประสานงานกับหน่วยงานภาคี  แล้วดำเนินการประสานงานครัวเรือนเพื่อดำเนินการตามโครงการฯ  อีกจำนวน 5 วัน

2

 

(1)    วันที่  1-3 ดำเนินการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการ/ทฤษฎีที่ต้องรู้เกี่ยวกับอาชีพ และสาธิต หรือฝึกปฏิบัติเบื้องต้นตามความเหมาะสมของแต่ละประเภทอาชีพให้กับผู้แทนครัวเรือน (ดำเนินการในหมู่บ้าน/บ้านปราชญ์ชุมชน/ศูนย์เรียนรู้ชุมชน)

(2)    วันที่  4  การศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ

(3)    วันที่  5  ดำเนินการฝึกปฏิบัติอาชีพ โดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ติดตามเป็นพี่เลี้ยงในการฝึกปฏิบัติ และสนับสนุนวัสดุการฝึกปฏิบัติ

(4)    สนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการส่งเสริมให้ครัวเรือนนำอาชีพที่ได้ฝึกปฏิบัติไปประกอบอาชีพตามแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ถอดองค์ความรู้ปราชญ์ชุมชน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Facebook เว็บไซต์สัมมาชีพ เป็นต้น

1.3.            ติดตาม และสรุปประเมินผลการดำเนินงาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

(1)    วิทยากรสัมมาชีพชุมชน ได้รับเลือก   และยอมรับจากเวทีประชาคมของหมู่บ้าน   มีความเป็นผู้นำ        มีจิตอาสา มีความรู้ความสามารถ    และทักษะในการถ่ายทอดความรู้    และมีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ

(2)    ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนให้ความสำคัญ เอาใจใส่ และรับผิดชอบการดำเนินการตามโครงการในทุกขั้นตอน

(3)    อาชีพที่ชุมชนเลือก เป็นอาชีพที่เกิดจากความต้องการของชุมชนเอง บนพื้นฐานของความรู้ และสอดรับกับทุนที่มีในชุมชน รวมทั้ง การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพเป้าหมาย ที่สมัครใจ มีความพร้อม และความตั้งใจจริงในการฝึกอาชีพ

(4)    เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ติดตามสนับสนุนอย่างใกล้ชิด และสนับสนุนองค์ความรู้ต่าง ๆ  

อุปกรณ์ ->

เทคนิค/ข้อพึงระวังที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน

(1)    ความพร้อมของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ต้องศึกษาข้อมูลการดำเนินงานแนวทางสัมมาชีพชุมชนให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน เพื่อจะได้นำไปดำเนินการในระดับพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลรวมทั้งกำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม/โครงการให้ชัดเจน

(2)    คัดเลือกปราชญ์ชุมชน  ต้องเป็นบุคคลทีมีองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน และคนในชุมชนสนใจ สามารถต่อยอดให้เกิดการพัฒนาเป็นอาชีพได้

(3)    คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 20 คน ต้องสมัครใจ และตั้งใจในอาชีพ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างกลุ่มอาชีพให้เกิดรายได้อย่างแท้จริง

(4)    ให้การสนับสนุนกิจกรรมผ่านกระบวนการถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และศึกษาผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อศึกษาขั้นตอนกระบวนการในการประกอบอาชีพประเภทเดียวกัน หรือมีความใกล้เคียงกัน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในหมู่บ้านชุมชน

(5)    ติดตามสนับสนุน และเยี่ยมเยียนให้กำลังใจแก่ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน และครัวเรือนเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ยกย่องการขับเคลื่อนกิจกรรมที่น่าสนใจ และประชาสัมพันธ์กิจกรรมเพื่อสร้างกระแสการขับเคลื่อนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook   เว็บไซต์สัมมาชีพ หรือการประชุมระดับตำบล อำเภอ เป็นต้น

(6)    สร้างความมั่นใจแก่ทีมวิทยากร โดยการให้เกียรติ ยกย่องให้เป็นผู้รู้ มีความสามารถเป็นบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน  เป็นแกนหลักในการสร้างอาชีพ และทำให้หมู่บ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยกระบวนการชาวบ้านสอนชาวบ้าน และความสำเร็จอยู่ที่หมู่บ้านไม่ใช่เจ้าหน้าที่

การส่งเสริมอาชีพ ต้องเป็นอาชีพที่สามารถทำรายได้ และอยู่รอดได้จริงในชุมชน และเป็นอาชีพที่สามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดภายในชุมชน และภายนอกชุมชน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

หางบประมาณสนับสนุนสัมมาชีพชุมชน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา