เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชนโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (บ้านเปราะ ม.2 ต.วังซ่าน)

โดย : นางสาวศศิลักษณ์ คล้ายวิมุติ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-25-16:40:29

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่วงก์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันนี้สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชนมีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูการผลิตและยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริม และพัฒนาอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง และมีส่วนราชการที่มีสถานที่หรือศูนย์ฝึกอบรมซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ/แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพได้ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้ จึงได้กำหนดดำเนินกิจกรรมสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้การบูรณาการความร่วมมือของประชารัฐโดยใช้พื้นที่เป้าหมายตามพื้นที่ในความรับผิดชอบของยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท เป็นพื้นที่ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครัวเรือนในหมู่บ้านเป้าหมายดังกล่าวมีโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพให้เกิดสัมมาชีพชุมชนเพื่อสร้างรายได้ ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตไปได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

1.คัดเลือกวิทยากรผู้นำสัมมาชีพหมู่บ้านละ 1 คน เข้ารับการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”

2. คัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน เพื่อร่วมทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆ ละ 5 คน โดยคัดเลือกจากฐานข้อมูลตามแบบสำรวจปราชญ์ชุมชนหรือผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3.คัดเลือกผู้แทนครัวเรือนเป้าหมาย ที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ตามพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ 1                           หมู่บ้านๆ ละ  คน โดยเน้นผู้แทนครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ปี 2559   เป็นกลุ่มเป้าหมายแรก

4.วิทยากรสัมมาชีพชุมชนผู้เป็นเจ้าของอาชีพ ดำเนินการร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านอบรมให้ความรู้แก่ครัวเรือนสัมมาชีพ ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านดูแลการฝึกปฏิบัติอาชีพ ณ บ้านครัวเรือนที่ต้องการฝึกอาชีพ คนละ 4 ครัวเรือน สนับสนุนให้ชุมชนจัดระบบบริหารการจัดการเงินทุนประกอบอาชีพ เพื่อให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนรวมกลุ่ม สามารถประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง
7.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการองค์กร 4 องค์กร ที่เป็นทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ จำนวน 50 คน ระยะเวลา 1 วัน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน ในเรื่องการยกระดับครัวเรือนยากจน  การบูรณาการแผนชุมชน และการเข้าถึงแหล่งทุน รวมทั้งการสนับสนุนการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนระดับตำบล และหมู่บ้าน/ชุมชน

8.ทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ ติดตามและให้กำลังใจแก่ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน และครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนอย่างสม่ำเสมอ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 1.  ประสิทธิภาพของกลไกและองค์กรในการขับเคลื่อน ซึ่งได้แก่  ผู้นำสัมมาชีพชุมชน หรือ ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน และทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนในแต่ละระดับ

  2.  ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน  ผู้นำ กลุ่มองค์กรในชุมชน  และลงมือทำด้วยตนเอง  เป็นการระเบิดจากข้างใน

  3.  แรงหนุนเสริมจากพลังประชารัฐ  ภาคประชาชน : ลงมือทำ  ภาคราชการ : ชี้เป้า สนับสนุน ส่งเสริม   และภาคเอกชน : ร่วมขับเคลื่อน

 

อุปกรณ์ ->

การส่งเสริม สนับสนุน และติดตามอย่างต่อเนื่อง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา