เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การจักสานหวายธรรมชาติ

โดย : นางบุญเทียน มยุรา ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-08-28-11:48:10

ที่อยู่ : 75 หมู่ที่ 4 ต.งิ้ว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การพัฒนากลุ่มอาชีพ หรือกลุ่ม อื่นๆ ให้มีความเข้มแข็ง โดยใช้หลัก 5 ก ซึ่งได้แก่

 

 

1 : กลุ่ม/สมาชิก 

ที่มีความสมัครใจพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของกลุ่ม สมาชิกกลุ่มโดยทั่วไป มี 3 ประเภท คือ

·                      สมาชิกสามัญ

·                      สมาชิกกิตติมศักดิ์

·                      สมาชิกสมทบ

 

2 : กรรมการ 

ซึ่งได้รับมอบหมายและเป็นตัวแทนจากสมาชิกให้บริหารกลุ่ม  จำนวน ตามความเหมาะสม ได้แก่

·                     ประธาน

·                     รองประธาน

·                     เลขานุการ

·                     เหรัญญิก

·                     กรรมการฝ่าย ต่างๆ  ตามความเหมาะสม เช่นฝ่ายการผลิต  ฝ่ายการคลาด ฝ่ายผลิตภัณฑ์

 

3 : กฎ กติกา ระเบียบข้อบังคับกลุ่ม 

เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน ระหว่างสมาชิกและคณะกรรมการ ที่เป็นลายหลักอักษร และสมาชิกรับทราบ

 

 

4 : กองทุน 

ซึ่งเป็นปัจจัย เงินหรือเครื่องมือ ที่ทำให้กิจกรรมของกลุ่มดำเนินการได้และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม ที่มาของทุนเช่น

·                     ระดมทุนจากสมาชิก(ลงหุ้น)

·                     ขอรับการสนับสนุน

·                     เงินกู้/เงินยืม

·                     เงินบริจาค

 

5 : กิจกรรม 

เป็นสิ่งที่ร่วมกันปฏิบัติ เพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน กิจโดยมีการกำหนดแผนกิจกรรมต่างๆ เช่น

·                     ประชุม

·                     การผลิต

·                     การจำหน่าย 

·                     การเสริมสร้างความรู้

 

 

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการผลิต

 

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

 

๑. ไม้ไผ่
๒. หวาย
๓. ตะปูเข็ม
๔. ต้นกก
๕. กาวลาเท็กซ์
๖. แล็คเกอร์
๗. ลวด

 

ขั้นตอนการผลิต

 

๑. เตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ 
- ต้นกก นำมาทำเป็นเส้นเล็กๆ ใช้เฉพาะบริเวณผิวของลำต้น นำไปตากแดดให้แห้ง และเปียเป็นเส้นเล็กๆ เตรียมไว้สำหรับสาน
-หวายจักเส้นหวายและขูดให้เรียบ เป็นเส้นเล็กสำหรับมัดและสานยึดติดโครงผลิตภัณฑ์
- ไม้ไผ่ ตัดไม้ไผ่ เป็นท่อนเล็กๆ ความยาวประมาณ ๑๖ เซนติเมตร (หรือเท่ากับความสูงของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ) ทาสีเพื่อกันมอด/แมลง
๒. ขึ้นโครงตะกร้า โดยใช้หวายขดเป็นวง ตอกตะปูยึดเพื่อความแน่นหนา
๓. ส่วนก้นตะกร้า ใช้ไม้ไผ่วางตามแนวขวาง พันยึดด้วยลวดและเส้นหวาย(ชุบน้ำก่อนเพื่อให้เส้นหวายเหนียวและพันง่ายขึ้น)
๔. ขึ้นโครงด้านข้างด้วยวิธีเดียวกัน ตัดไม้ส่วนเกินออกให้เรียบร้อย
๕. หลังจากที่ประกอบโครงร่างตะกร้าด้วยไม้ไผ่แล้ว ให้ทาด้วยกาวลาเท็กซ์ เพื่อให้ทุกชิ้นส่วนยึดติดกันให้แน่น แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง
๖. นำเส้นกกที่เปียเตรียมไว้แล้วมาสานขึ้นลาย โดยสานทีละชั้น จนเต็มโครงตะกร้า 
๗. เก็บรายละเอียด ตรวจสอบความเรียบร้อย 
๘. เคลือบเงาด้วยแล็คเกอร์ ทิ้งไว้ให้แห้ง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ความสัมพันธ์กับชุมชน

 

๑. การผลิตใช้แรงงานของคนในชุมชน ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชน เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 
๒.มีการถ่ายทอดความรู้/ภูมิปัญญาในการจักสานให้กับคนในชุมชน/สมาชิกกลุ่มอาชีพ นักเรียน นำไปสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพ
๓.เป็นอาชีพที่ส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนมีรายได้ 
๔. ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

 

๑. การเตรียมและคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ จะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความละเอียด สวยงาม
๒.มีการตรวจสอบ/ควบคุมคุณภาพ ในทุกกระบวนการ โดยเฉพาะการจัดทำโครงตะกร้า ต้องให้ แน่นหนาและแข็งแรง การวางลวดลายให้ลงตัวเพื่อความสวยงาม

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา