เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ผ้าพันคอพื้นเมือง

โดย : นางสมหมาย ศรีวิพันธุ์ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-05-01-12:38:21

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 1 บ้านดงลิง หมู่ที่ 11 ตำบลเจ้าท่า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทอผ้าพันคอบ้านดงลิง หมู่ที่ 11 ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ทำสืบเนื่องมาจากบรรพบุรุษ สมัยปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งจะเป็นการให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายเมื่อยามหน้าหนาว และยังเกิดความสวยงามเมื่อยามสวมใส่อีกด้วย การทอผ้ามีวิวัฒนาการมาจากการ ทำเชือก ทอเสื่อ และการจักสาน จึงกล่าวได้ว่าการทอผ้าพันคอเป็นงานหัตถกรรมที่เก่าแก่งานหนึ่ง  หลักของการทอผ้าพันคอ ก็คือการทำให้เส้นด้ายสองกลุ่มขัดกัน โดยทั้งสอง พวกตั้งฉากกัน เส้นด้ายกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายยืน และอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายพุ่ง ลักษณะของการขัดกันของด้ายพุ่งและด้ายยืน  จะขัดกันแบบธรรมดาที่เรียกว่าลายขัด หรืออาจจะเพิ่มเทคนิคพิเศษเพื่อให้ผ้ามีลวดลาย สีสันที่สวยงามแปลกตา

วัตถุประสงค์ ->

1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน  และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึง    

   ปลายเส้นด้ายยืน ทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้า  

   กระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
2. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ
3. การกระทบฟันหวี (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา
4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าพันคอได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บในแกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ ให้พอเหมาะ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ใช้แรงานภายในหมู่บ้าน

2. ชาวบ้านมีพื้นฐานการทอผ้าพันคอจำนวนมาก ทำให้การผลิตทันต่อความต้องการของลูกค้า

3. สมาชิกกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น3

4. มีตลาดรองรับผลผลิต

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา