เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

จักสาร

โดย : นายหัต วิระพันธ์ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-04-19-09:43:08

ที่อยู่ : 41 ม.13 บ.โนนศาลา ต.ภูดิน อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมาของปัญหา       

       หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบางเจ้าฉ่าที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตตั้งแต่อดีตตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน   หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดของคนในท้องถิ่น  ที่ใช้ภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาประยุกต์ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน  ซึ่งมีประโยชน์ในการดำรงชีวิต  

                 จะเห็นได้ว่าหัตถกรรมเครื่องจักสานมีมานานแล้วและได้มีการพัฒนามาตลอดเวลาโดยอาศัยการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง  การดำรงชีวิตประจำวันของชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้เอาการรู้หนังสือมาเกี่ยวข้อง  การเรียนรู้ต่างๆ  อาศัยวิธีการฝึกหัดและบอกเล่าซึ่งไม่เป็นระบบในการบันทึก (ชูเกียรติ์  ลีสุวรรณ, 2535)  สะท้อนให้เห็นการเรียนรู้ ความรู้ที่สะสมที่สืบทอดกันมาจากอดีตมาถึงปัจจุบันหรือที่เรียกกันว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนั้นกระบวนถ่ายทอดความรู้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทำภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นคงอยู่ต่อเนื่องและยั่งยืน

               จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น  ผู้วิจัยจึงสนใจทำการศึกษากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาหัตถกรรมเครื่องจักสานชุมชนบางเจ้าฉ่า  ซึ่งมีความสำคัญยิ่งที่จะให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องจักสานชุมชนบางเจ้าฉ่านั้นๆคงอยู่ตลอดไป ซึ่งผลจากการศึกษากระบวนถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องจักสานชุมชนบางเจ้าฉ่านั้น  จะนำไปเป็นข้อมูลที่จะนำไปไปพัฒนากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาในชุมชนบางเจ้าฉ่ามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และดำรงอยู่คู่สังคมสืบต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

ขั้นตอนวิธีการประดิษฐ์
ตัวอย่างการทำกระโปง
วิธีการประดิษฐ์
อุปกรณ์
– มีดโต้ มีไว้สำหรับตัด ผ่า ไม้ที่มีขนาดใหญ่
– มีดตอก มีรูปร่างเรียวปลายงอนขึ้นค่อนข้างบาง และมีน้ำหนักเบา ใช้สำหรับเหลาตอก ด้ามมีดประกอบด้วยไม้ มีลักษณะงอนเข้าหาศอกผู้ใช้ เพื่อเตรียมความถนัด และกระชับยิ่งขึ้น
– คีมไม้ ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง สำหรับคีบปากเครื่องจักสาน ให้กระชับแน่น เวลาใช้หวายผูกมัดขอบปากเครื่องจักสาน
– เหล็กหมาด ทำด้วยเหล็กกล้า เป็นรูปเรียวแหลม ยาวประมาณ 3-4 นิ้ว ฝังลงไปในด้ามไม้กลมยาวประมาณ 6 นิ้ว
– เรียด ทำด้วยแผ่นเหล็ก หรือสังกะสี เจาะเป็นรูกลมๆ ขนาดเท่ากับวัสดุที่ต้องการเหลาให้เป็นเส้น เช่น เหลาหวายให้เป็นเส้นยาว เพื่อผูกเครื่องจักสานให้สวยงาม
– ไม้ไผ่สุก

วิธีการทำ
******ใช้มีดเหลาไม้ไผ่ (ตอก) ให้บางๆ พอได้ขนาดที่พอเหมาะจึงนำตอกมาสานโดยเริ่มจากฐานก่อน เมื่อได้ฐานตามขนาดที่ต้องการจึงเริ่มกดหรือดัดตัวกระโปงให้ตั้งขึ้นเมื่อได้ความสูงที่ต้องการจึงมัดปากด้วยตอก แล้วนำไม้ไผ่หนาประมาณ 1 นิ้ว วางปากตอกจากนั้นจึงมัดซ้ำด้วยลวด 
หมายเหตุ: การจักรสานแต่ละชนิดจะเริ่มต้นที่ฐานก่อน ลายจะมีลายเดียว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ประโยชน์ที่ชุมชนได้รับ
สุ่ม ใช้จับปลา
อีโฮ่ง ใช้ร่อนปลา(ล้าง)
ตระแกง ใช้ตักปลา
กระบุง ใช้ใส่ข้าวปลูก และอื่นๆ
กระชัง ใช้ใส่ปลา
กระบาย ใช้ แช่ข้าวสาร
ตระกร้อ ใช้สอยมะม่วง และอื่นๆ
กรงนก ใช้สำหรับเลี้ยงนก

อุปกรณ์ ->

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

         1. ผลการวิจัยพบว่า  กระบวนการถ่ายทอดความรู้หัตถกรรมเครื่องจักสาน ด้านเนื้อหาการถ่ายทอดยังไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร  ใช้การถ่ายทอดโดยการบอกเล่า และเน้นการปฏิบัติตาม ซึ่งจะพบว่าถ้าผู้ถ่ายทอดเสียชีวิต และไม่มีการสืบต่อของความรู้นั้น  ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นก็เกิดการสูญหายไป  ดังนั้นควรมีการเก็บภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ในรูปความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) โดยให้ชาวบ้านเกิดความตระหนักในการเก็บบันทึก   หรือให้ส่วนภาคราชการ  หรือองค์กรทางการศึกษาช่วยในการจัดเก็บบันทึก  ซึ่งจะทำให้เกิดการดำรงไว้ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นมีอยู่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

          2.  ผลการวิจัยพบว่าวิธีการถ่ายทอดหัตถกรรมเครื่องจักสานจะเน้นการถ่ายทอดเป็นรายบุคคล และเป็นการสอนปฏิบัติ  เนื้อหาไม่ชัดเจนใช้ประสบการณ์ของผู้สอน  ดังนั้นผู้ฝึกการทำหัตถกรรมเครื่องจักสานจึงต้องหาผู้ถ่ายทอดและเวลาในการปฏิบัติ  ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นการลำบากสำหรับบุคคลอื่นหรือหน่วยงานราชการที่จะเข้าไปศึกษาโดยใช้เวลาช่วงสั้นๆ  เพราะชิ้นงานที่สำเร็จของหัตถกรรมเครื่องจักสานในลักษณะที่มีความละเอียดมากจะใช้เวลามากเป็นเดือน  จึงสังเกตได้ว่าผู้ทำหัตถกรรมจักสานจะเป็นผู้ที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นชุมชนนั่นๆเอง  จึงเกิดการเผยแพร่ในวงกว้างค่อนข้างยาก  แม้ว่าสถานศึกษาบางแห่งมีการสอนก็จะพบว่าต้องนำผู้เชี่ยวชาญหัตถกรรมเครื่องจักสานไปสอน  แสดงให้เห็นว่าถ้าจะจัดหลักสูตรหัตถกรรมเครื่องจักสานในหลักสูตรการศึกษาไม่ว่าจะเป็นประถมศึกษา มัธยมศึกษา  หรือการศึกษานอกโรงเรียนสานอาชีพ ควรใช้รูปแบบการศึกษาตามอัธยาศัยจึงจะเกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน  ให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาในชุมชนนั้นๆ  โดยมีการสอนแบบตัวต่อตัวโดยผู้มีความเชี่ยวชาญในชุมชนนั้น  และยังเป็นการสร้างค่านิยม และกระตุ้นให้เกิดการรักวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย

          3.  ผลการวิจัยพบว่าสื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดเป็นบุคคลที่ที่มีความเชี่ยวชาญถ่ายทอดและใช้วัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการทำหัตถกรรมเครื่องจักสานสอนและสาธิตให้ปฏิบัติ  ซึ่งจะสามารถใช้เสื่อได้ผู้ถ่ายทอดต้องว่างและพร้อมที่จะสอน  ดังนั้นจึงควรใช้สื่อที่เป็นเทคโนโลยีช่วยเช่น การทำวีดีโอ  การทำคู่มือ  การจัดบอร์ด เนื้อเกี่ยวกับกระบวนการทำหัตถกรรมเครื่องจักสานตั้งขั้นตอนการหาวัตถุดิบและการนำมาใช้  การสานลายต่างๆ การทำรูปทรงต่างๆ ให้มีความชัดเจนสามารถปฏิบัติตามได้  ซึ่งจะลดปริมาณเวลาไปนั่งเรียน  และลดเวลาของผู้ถ่ายทอด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อเสนอแนะ
เครื่องจักรสานมีให้เห็นมากในชุมชนนี้ เนื่องจากเมื่อก่อนเคยทำขายและใช้เองมากและด้วยอายุจึงทำให้เริ่มจะหายไป และการสืบทอดความรู้นี้ไม่มีการสืบทอด เพราะเทคโนโลยีเข้ามามีอำนวยความสะดวกให้ได้ดีกว่า การใช้สอยก็ง่ายกว่า หาซื้อง่ายส่วนใหญ่ชาวบ้านแต่ก่อนจะทำใช้กันเอง จึงมีขายน้อย

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา