เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

โดย : นายบัวผัน คำนวณ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-04-18-14:12:48

ที่อยู่ : 118 ม.7 นาทัน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพราะ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้เงินลงทุนน้อย เกษตรกรไม่ต้องดูแลมาก ทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทนต่อการเป็นโรคได้ดี

วัตถุประสงค์ ->

1. ควรใช้วัสดุที่หาได้ในพื้นที่ เช่น ไม้ไผ่ ไม้ต้นกลมขนาดเล็ก แกลบ ทราย
2. คอกไก่ควรแยกห่างจากตัวบ้านเรือน
3. โรงเรือนมีฝาทั้ง 4 ด้าน ใช้ไม้กั้นห่างกัน 1 นิ้ว หลังคา อาจมุงด้วยหญ้าแฝก ตองตึง และหญ้าคา เทลาดประมาณ 30-40 องศาเซลเซียส ประตูคนเข้าควรกว้างและสูงให้ผู้เลี้ยงเข้าออกได้สะดวก พื้นโรงเรือนถ้าเป็นคอนกรีตจะทำความสะอาดง่าย ถ้าเป็นพื้นธรรมดาควรถมด้วยทรายหรือดินให้มีระดับสูงกว่าธรรมดา 10 เซนติเมตร ป้องกันน้ำท่วม แล้วรองพื้นด้วยแกลบ ขี้เลื่อย เปลือกถั่ว หรือฟางสับ หนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร
4.  คอนสำหรับไก่นอน ทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้ระแนง จัดเป็นคู่ห่างกัน 1 นิ้ว สูงจากพื้น 1-1.5 เซนติเมตร
5. รังนอนกกลูกของแม่ไก่ควรสูงจากพื้น 40-50 เซนติเมตร ส่วนรังวางไข่ควรอยู่ห่างจากคอนนอนและอยู่ตรงข้ามกัน เพื่อป้องกันไก่ที่ออกไข่ไปนอน และควรทำให้ครบจำนวนแม่ไก่เพื่อป้องกันการแย่งวางไข่
6. บริเวณรอบนอกเล้าไก่ควรทำรั้วกั้นรอบบริเวณ โดยใช้ไม้ไผ่ตีระแนง
7. หมั่นตรวจดูรังฟักอยู่เสมอว่ามีตัวหมัด เหา ไร หรือไม่ หากมีให้เผาไฟเสียป้องกันไม่ให้มันแพร่พันธุ์ต่อไป เพราะไรเป็นศัตรูสำคัญในการบั่นทอนสุขภาพของไก่ หากมีเหา ไรเหลืออยู่ในรัง เมื่อลูกไก่กะเทาะเปลือกออกมา จะถูกตัวเหา ไรกัดกินเลือด ทำให้ลูกไก่เสียสุขภาพไปตั้งแต่ยังเล็กๆ ฉะนั้นขอให้ระวังเรื่องนี้ให้จงหนัก
8. หมั่น ในหน้าร้อน (มีนาคม-เมษายน) แม่ไก่มักจะฟักไข่ออกไม่ดี ควรทำการพ่นน้ำที่ฟักไข่เมื่อแม่ไก่ฟักไข่ได้ประมาณ 1 สัปดาห์ พ่นเช้า-บ่าย จะช่วยทำให้ไข่ฟักออกได้มากขึ้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. แม่ไก่ควรได้รับอาหารและการดูแลมากขึ้น (โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินมากขึ้น)
2. ควรหาแต่แม่ไก่ที่มีพันธุ์ดีๆ ต้านทานโรคดี ผลผลิตดี (เนื้อและไข่) ก็จะดีตามมาเอง
3. ควรเริ่มต้นจากฟาร์มเล็กๆ ไปก่อน ไม่ควรเริ่มทำเป็นฟาร์มใหญ่ทันที เพราะ
- สามารถใช้แรงงานในครอบครัวช่วยดูแลไก่ได้อย่างเต็มที่
- ผลผลิต (เนื้อ/ไก่) ใช้บริโภคในครัวเรือนเป็นอันดันแรก ส่วนที่เหลือจึงไว้ขาย

ประโยชน์ของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
1. เป็นแหล่งอาหารโปรตีนของชาวบ้านในชนบทที่มีราคาถูก หาง่ายและสะดวกที่สุด
2. เป็นรายได้เสริมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เกษตรกรหรือชาวบ้านเกิดความจำเป็นรีบด่วน เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย หรือค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น
3. เนื้อของไก่พื้นเมืองมีรสชาติดี เนื้อแน่น และมีไขมันน้อย ทำให้ไก่พื้นเมืองมีราคาสูงกว่าไก่กระทงประมาณ 20-30 % จึงน่าที่จะเป็นทางเลือก ในอาชีพเกษตรได้ดีอย่างหนึ่งของเกษตรกรไทย เพราะไม่มีปัญหาเรื่องของตลาด อัตราเสี่ยงจึงน้อยมาก มีเท่าไหร่ขายได้หมด
4. สอดคล้องกับระบบการเกษตรแบบผสมผสานหรือระบบไร่นาสวนผสมที่คนไทยรู้จักกันมานาน ซึ่งเหมาะสมกับฐานะของเกษตรกรในชนบท และไม่ได้ทำลายระบบนิเวศวิทยาเป็นระบบการผลิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อมูลด้านการผลิต

อุปกรณ์ ->

ข้อควรปฏิบัติระหว่างแม่ไก่ฟักไข่
1. แม่ไก่กำลังไข่ ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรให้วัคซีนหรือยาใดๆ ถ้าจะให้ควรให้ก่อนระยะไข่เพราะอาจทำให้แม่ไก่หยุดไข่
2. ถ้าแม่ไก่ไข่มากเกินไป ควรแบ่งไข่ออกไปกินบ้าง การฟักไข่แต่ละครั้ง ควรมีไข่ไม่เกิน 12 ฟอง
3. ควรรู้จักการส่องไข่ เพื่อให้แม่ไก่ฟักเฉพาะไข่ที่มีเชื้อ
4.  เมื่อแม่ไก่ฟักเป็นตัวแล้ว ควรแยกลูกไก่ไปเลี้ยงในกรงกก (คอกอนุบาลลูกไก่) ปล่อยให้แม่เป็นสาวฟื้นตัวได้เร็ว ไข่เร็ว ฟัก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เทคนิคและวิธีการให้อาหารไก่พื้นเมือง
1. ใช้อาหารสำเร็จรูปหรือหัวอาหารเร่งการเจริญเติบโตของลูกไก่
2. การเลี้ยงไก่ใหญ่ควรให้อาหารเสริมหรือแร่ธาตุผสมอาหาร
3. สำหรับไก่ใหญ่ ควรให้อาหารที่มีในพื้นที่เป็นหลัก เช่น รำ ปลายข้าว ข้าวเปลือก เศษผัก หญ้า ปลวก ไส้เดือน ข้าวแห้ง เพื่อลดต้นทุนการผลิต
4. ควรให้อาหารไก่เป็นเวลา เช้า กลางวัง เย็น หรืออย่างน้อย เช้า และเย็น
5. น้ำกินใส่ไว้ในภาชนะ ให้น้ำอย่าได้ขาด อย่าลืมว่าไก่ชอบกินน้ำสะอาด เมื่อไม่เตรียมน้ำสะอาดให้ไก่กิน ไก่จะกินน้ำที่ขังอยู่ทั่วไป ซึ่งทำให้เกิดโรคได้ง่าย
6. ให้ระลึกเสมอว่า ไก่คือโรงงาน  ถ้าไม่ป้อนวัตถุดิบ ไก่จะไม่ผลิตอะไรให้ แล้วตัวโรงงานจะโทรมในที่สุด
7. ควรนำไก่ไปปล่อยเลี้ยงในนาข้าวหรือแปลงปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ไปเก็บกินผลผลิตที่ตกหล่น (ข้าว เศษผัก กุ้ง หอย ปู ปลา แมลง มด เป็นต้น)

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา