เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ปลูกมันสำปะหลัง

โดย : นายบุญตา จำเริญสัตย์ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-04-18-09:38:50

ที่อยู่ : 55 ม.8 บ.โนนชัย ต.ขมิ้น อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ราคามันสำปะหลังที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์อย่างที่ไม่เคย มีมาก่อน จูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกมันสำปะหลังกันมากขึ้น ส่วนเกษตรกร
ที่เดิมปลูกมันสำปะหลังอยู่แล้วก็ต้องการเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น    เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร      และเพื่อป้องกันมิให้มีการหักร้างถางป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่
การปลูกมันสำปะหลัง  ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยองกรมวิชาการเกษตร จึงแนะนำหลักในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง

วัตถุประสงค์ ->

   1.  การปรับปรุงดินให้เหมาะสมต่อการผลิตมันสำปะหลัง โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน  ได้แก่ การใช้ปุ๋ยจากมูลสัตว์หรือเปลือกมัน
จากโรงงานแป้ง    หรือปุ๋ยพืชสดจากปอเทืองและถั่วพร้า  ปลูกแล้วไถกลบในกรณีที่ดินถูกใช้งานมาเป็นเวลานาน     ทำให้เกิดชั้นดินดานใต้ดินจาก
รถแทรกเตอร์  ทำให้น้ำระบายลงใต้ดินได้ยากในฤดูฝน  เกิดปัญหาหัวเน่าจากน้ำท่วมขังในช่วงฤดูแล้ง มันสำปะหลังไม่สามารถใช้น้ำใต้ดินได้ ทำให้
ชะงักการเจริญเติบโต    ดังนั้นควรไถระเบิดชั้นดินดาน  หรือใช้หญ้าแฝกปลูกประมาณ  1 -2 ปี    เพราะหญ้าแฝกมีระบบรากลึก สามารถทำลายชั้น
ดินดานได้ อีกทั้งเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้กับดินด้วย

                2.  การเลือกฤดูปลูก  ควรเลือกวันปลูกเพื่อให้ช่วงอายุ 3-12 เดือน ของมันสำปะหลังได้รับฝนมากที่สุด เพราะผลผลิตขึ้นอยู่กับปริมาณ
น้ำฝนในช่วงอายุดังกล่าวโดยการปลูกมันสำปะหลัง  แบบอาศัยน้ำฝนจะให้ผลผลิตสูงสุดเมื่อปลูกในช่วงฤดูร้อน (กุมภาพันธ์-มีนาคม)  รองลงมาคือ
ต้นฤดูฝน (เมษายน –พฤษภาคม)  และปลายฤดูฝน(ตุลาคม-พฤศจิกายน)  แต่การปลูกในช่วงฤดูร้อน และปลายฤดูฝนมีข้อจำกัดของปริมาณน้ำฝน
ค่อนข้างน้อย มีผลต่อการงอกของท่อนพันธุ์

 3.  การเลือกพันธุ์มันสำปะหลัง ดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลัง  โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด  คือ ดินร่วมเหนียว และดินร่วมทราย ดินร่วน
เหนียว ถือว่าเป็นดินดี  ควรปลูกพันธุ์ระยอง 5 และระยอง 72 ส่วนดินร่วนทราย ควรปลูกพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 90 ห้วยบง 60 และระยอง 9 เนื่องจากทั้ง 4 พันธุ์  เมื่อนำไปปลูกในดินร่วมเหนียว จะเจริญเติบโตในส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือดินมากกกว่าลงหัว   หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าขึ้นต้น
หรือบ้าต้นเกินไป  ส่วนพันธุ์ระยอง 7  นั้นเหมาะทั้งดินร่วนเหนียว  และดินร่วนทรายที่มีความชื้นของดินดีตลอดช่วงของการเจริญเติบโต แต่ไม่เหมาะ
สมกับสภาพดินที่แห้งแล้ง

                4.  การเตรียมดินให้ลึก  หลักสำคัญคือ ต้องไถดะ  ครั้งแรกให้ลึกที่สุดด้วยผาล 3 หรือผาล 4 เท่านั้น   ควรไถดะในขณะที่ดินมีความชื้น
พอเหมาะ ห้ามไถดะด้วยผาล 7 เพราะจะไถได้ไม่ลึกการไถดะให้ลึกจะเพิ่มความสามารถในการเก็บกักความชื้นของดินได้มากขึ้น  และมันสำปะหลัง
ลงหัวได้ง่าย    จากนั้นตาหน้าดินเพื่อให้วัชพืชตายถ้าเป็นดินร่วนเหนียวควรไถแปรครั้งที่  สองด้วยผาล 7   แล้วยกร่องพร้อมปลูก  ส่วนดินร่วนทราย
ไม่จำเป็นต้องไถแปรครั้งที่สอง    สามารถยกร่องพร้อมปลูกได้เลย   ในกรณีที่เกษตรกรสามารถหาปุ๋ยอินทรีย์   หรือปุ๋ยหมักได้ควรหว่านก่อนไถดะ 
ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้ผลดี คือ ปุ๋ยหมักมูลไก่ 500 - 1,000 กิโลกรัมต่อไร่  หรือวัสดุอินทรีย์จากกากมันที่เหลือจากโรงงานแป้ง 2 ตันต่อไร่ 

                5.  การปลูกที่ถูกต้องต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรมีอายุ 10 -12 เดือน   จะให้ความงอกดีที่สุดโดยเลือกต้นพันธุ์ที่แข็งแรง   มีตาถี่ขนาดโตพอ
สมควร ต้องตัดท่อนพันธุ์ด้วยมีด ที่คมเพื่อมิให้ท่อนปลูกซ้ำ ขนาดยาวไม่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตร   ปลูกปักตรงให้ลึก 2 ใน 3  ของความยาวท่อนปลูก
ในดินร่วนเหนียวควรใช้ระยะแถวกว้าง 1.20 เมตรระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-1.00 เมตร  และในดินร่วนทราย ควรใช้ระยะแถวแคบ 0.80 เมตร ระยะปลูก
ตั้งแต่ 0.50-0.80 เมตร 

                6.  การกำจัดวัชพืช ภายในช่วย 3 เดือนแรกถือว่าเป็นช่วงสำคัญของการปลูกมันสำปะหลัง ต้องดูแลรักษาให้มันสำปะหลังปลอดวัชพืช
ถ้าปล่อยให้วัชพืชแข่งขันกับมันสำปะหลังทำให้มันสำปะหลังแคระแกร็น มีผลให้ผลผลิตลดลงมาก  การกำจัดวัชพืชสามารถเลือกทำแบบผสมผสาน
โดยใช้จอบถาง  ใช้รถไถเดินไถระหว่างร่อง  ใช้สารเคมีประเภทคลุมก่อนวัชพืชงอก  หรือสารเคมีฆ่าหลังวัชพืชงอก   สารเคมีประเภทคลุมใช้ได้ผล
เฉพาะการปลูกต้นฤดูฝนเท่านั้น และห้ามใช้ไกลโพเสทในขณะที่มันสำปะหลังต้นเล็กอยู่ เพราะจะทำให้มันสำปะหลังชะงักการเจริญเติบโต 

                7.  การใส่ปุ๋ยเคมี ควรเลือกใส่ปุ๋ยเคมีอัตราส่วน 2 : 1 : 2 ปุ๋ยเคมีที่แนะนำ คือ 15-7-18  หรือ 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดย
ใส่ปุ๋ย 2 ช้างลำต้นรัศมีพุ่มใบแล้วกลบ ใส่ปุ๋ยครั้งเดียวเมื่ออายุ 1 เดือน  หลังจากปลูกและต้องใส่ปุ๋ยเคมีในขณะที่ดินมีความชื้นและต้องกลบปุ๋ยด้วย
ถ้าไม่กลบปุ๋ย อาจสูญเสียปุ๋ยมากเกิน 50 เปอร์เซ็นต์สำหรับ   การเก็บเกี่ยวควรเลือกเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงที่เหมาะสม    ตั้งแต่ 10-18 เดือน
ควรงดเว้นการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงฝนแรก   คือ ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน เนื่องจากมันสำปะหลังแตกใบอ่อนจะให้เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ

    8.  การให้น้ำมันสำปะหลัง   ควรให้น้ำในช่วงฤดูแล้ง  เพื่อจะช่วยให้มันสำปะหลังมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง  หรือทำให้ใบร่วงน้อย
ที่สุด  ซึ่งจะมีผลทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่ละเดือนอย่างก้าวกระโดด  ดังนั้น การปลูกมันสำปะหลังเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด ต้องปลูกในช่วงฤดูฝน คือ
ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเมษายน   มีการให้น้ำในช่วงสองเดือนแรกของการเจริญเติบโตตามความจำเป็น และให้น้ำเต็มที่ในช่วงฤดูแล้ง 5 เดือน  ตั้งแต่
เดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม เก็บเกี่ยวที่อายุ 12 เดือน  ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ย มันสำปะหลังเป็นพืชที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงเมื่อเทียบกับพืชไร่อื่นๆ ดังนั้นจึงต้องการธาตุอาหารจากดินเป็นจำนวนมากเมื่อมีการปลูกมันสำปะหลังติดต่อกันหลายปี ธาตุอาหารในดินย่อมลดลงตามลำดับ ส่งผลให้<ผลผลิตของมันสำปะหลังลดลงตามไปด้วย ดังนั้นการปลูกมันสำปะหลังจึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือสูตร 16-8-16ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง๐ละเท่าๆกัน ในครั้งแรกให้ใส่หลังจากปลูกมันสำปะหลังแล้ว 1 เดือน ครั้งที่ 2 ใส่เมื่อมันสำปะหลังมีอายุได้ 3 เดือน นอกจากการใส่ปุ๋ยเคมีแล้ว เกษตรกรอาจใช้ปุ๋ยพืชสด โดยการปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม หรือปอเทือง แล้วไถกลบในระยะก่อนออกดอก หรือปลูกพืชแซมที่ช่วยบำรุงดินปลูกระหว่างแถว เพื่อช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินได้อีกวิธีหนึ่งการกำจัดวัชพืช เป็นสิ่งที่จำเป็นมากเนื่องจากการปล่อยให้วัชพืชขึ้นแข่งขันกับมันสำปะหลังโดยไม่กำจัดเลย จะทำให้ผลผลิตลดลงถึง 25-50 เปอร์เซนต์ การกำจัดวัชพืชควรทำอย่างน้อย 2 ครั้ง คือ เมื่อมันสำปะหลังมีอายุได้ 30 และ 60 วันตามลำดับ และควรมีการกำจัดเพิ่มเติม ถ้าหากยังพบว่ามีวัชพืชขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น โดยระบบการจัดการวัชพืชในแปลงปลูกมันสำปะหลัง มี 4 ระบบ คือ
 

ระบบที่1
วิธีเขตกรรมตามด้วยการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชประเภทฆ่าวัชพืช คือ ทำการไถพรวนโดยใช้รถไถเล็กเดินตามหรือแรงงานสัตว์เข้าไปกำจัดวัชพืชที่ขึ้นมาแล้ว หลังจากนั้นรอจนวัชพืชขึ้นมาใหม่อีกรุ่นหนึ่งจึงฉีดพ่นด้วยสารกำจัดวัชพืช ประเภททำลายโดยวิธีสัมผัส ทั้งนี้ต้องมีครอบกันละอองและมันสำปะหลังควรสูงประมาณ 70-80 เซนติเมตร ระบบนี้ เหมาะสำหรับการปลูกเมื่อมีฝนน้อย ช่วงเดือนตุลาคม-มีนาคม
 

ระบบที่ 2
วิธีเขตกรรมตามด้วยการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชประเภทคุมผสมกับประเภทฆ่าวัชพืช ระบบที่ 2 นี้ เหมือนกับ
ระบบที่ 1 ในขั้นตอนไถพรวน 1-2 ครั้ง แล้วฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชชนิดเดียว ประเภทคุมวัชพืชหรือใช้ 2 ชนิดผสมกัน คือ ประเภทคุมและประเภทฆ่าวัชพืช โดยมีครอบกันละออง และมันสำปะหลังควรสูงเกิน 70 เซนติเมตร ระบบที่ 2 นี้ จะเหมาะสำหรับการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชในช่วงที่มีฝนตกชุก



ระบบที่3
วิธีฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชประเภทคุมวัชพืชตามด้วยวิธีเขตกรรม เป็นระบบที่เหมาะสมสำหรับช่วงการปลูกมัน
สำปะหลังที่มีฝนตก โดยฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชทันทีหลังปลูกมันสำปะหลัง จากนั้นเมื่อวัชพืชขึ้นมาแล้ว ให้ใช้วิธีกำจัดด้วยจอบเฉพาะจุด โดยระบบนี้ควรปลูกด้วยระยะต้นห่างกัน 0.5-0.8 เมตร



ระบบที่4
วิธีฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชประเภทคุมหรือสารกำจัดวัชพืชประเภทฆ่าเมื่อปลูกด้วยท่อนพันธุ์ยาวและใช้ระยะปลุกถี่ โดยใช้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังยาว 50 เซนติเมตร หลังจากที่มันสำปะหลังงอกขึ้นมาแล้วสูงเกิน 70 เซนติเมตร ให้ฉีดพ่นด้วยสารกำจัดวัชพืชประเภทคุมหรือฆ่าวัชพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีครอบกันละอองเพื่อป้องกันอันตรายต่อต้นมันสำปะหลังโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา