เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก

โดย : นายวสันติ์ ภูผิว ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-31-21:55:09

ที่อยู่ : 189 ม.2 ต.ดงมูล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เพื่อให้ครอบครัวมีอาชีพเสริมและสร้างรายได้ภายในครอบครัว

วัตถุประสงค์ ->

ขั้นตอนการเลี้ยงมี 4 ขั้นตอน

1. การจัดเตรียมบ่อ

    ขุดบ่อขนาดกว้าง 2 เมตร ลึก 1 เมตร  ก้น 1 เมตร จัดทำขอบบ่อให้มีระดับเดียวกัน ปูผ้าพลาสติก

สีดำกันน้ำซึม

2.  การปรับสภาพน้ำในบ่อปลาเปิดน้ำใส่บ่อจนเต็มจากนั้นใส่จุลินทรีย์ EM จำนวน 1 ลิตร ผสมกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม  และ แร่แม๊กนีเซียม  จำนวน 3 กิโลกรัม  ทิ้งไว้ 5 – 7 วัน เพื่อเป็นการปรับสภาพน้ำและลดการเน่าเสียของน้ำ จากนั้นก็ปล่อยปลาลงเลี้ยงได้

3.  ปลาดุกที่เลี้ยงใช้ พันธุ์บิ๊กอุย  ขนาดยาว  5 – 7 ซม. จำนวน 1,000 – 2,0000 ตัว เลี้ยงประมาณ 2 – 3 เดือน ก็สามารถจับบริโภคได้

4.  การทำอาหารปลาดุก

     ส่วนผสม

     1. รำละเอียด       2          กระสอบปุ๋ย

     2. กากมะพร้าว     1          กระสอบปุ๋ย

     3. ปลาป่น            6          กิโลกรัม

     4. กากถั่วเหลือง    6          กิโลกรัม

     5. จุลินทรีย์ EM              1          ลิตร

     6. กากน้ำตาล                1          กิโลกรัม

     7. น้ำมันพืช                   1 – 2    ลิตร

            วิธีทำ

1.  นำส่วนผสมข้อ 1  1 กระสอบ ข้อ 2,3,4 คลุกให้เข้ากัน

2.  นำส่วนผสม ข้อ 5,6 ผสมน้ำ  20  ลิตร  เพื่อคลุกเคล้าส่วนผสม  ข้อ 1 หมักไว้ 12 ชั่วโมง

3.  นำส่วนผสมที่หมักไว้ในข้อ 1,2 ผสมกับรำละเอียด  1 กระสอบและน้ำมันพืช 1 – 2 ลิตรคลุกเคล้านำเข้าเครื่องอัดเม็ดผึ่งแดด 2 วัน เก็บไว้ได้ 2 เดือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การหมั่นดูแลเอาใจใส่ เปลี่นน้ำให้กับปลาอยู่สม่ำเสมอ จะช่วยให้ปลาโตเร็ว

อุปกรณ์ ->

เกร็ดความรู้

1. การซื้อพันธุ์ปลาก่อนการเคลื่อนย้ายให้ปลาอดอาหาร 1 – 2 วัน เพื่อป้องกันปลาดิ้นและทำให้ปลาไส้ขาดเวลาเลี้ยงปลาจะไม่โต

2.  การเคลื่อนย้ายปลาให้เตรียม น้ำมันพืช 30 ซีซี : เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ  คนให้เข้ากันตักใส่ในถุงหรือที่มีพันธุ์ปลา อยู่ประมาณ  1  ช้อนชา  เพื่อป้องกันปลาบาดเจ็บ

3. การป้องกันปลาหนีจากบ่อเวลาฝนตก ใช่วิธีหากมีฝนตกให้หว่านอาหารให้ปลากิน สัก 2 – 3 ครั้ง เพื่อหลอกว่าเวลาฝนตกจะได้กินอาหารแล้วปลาจะไม่หนี

4. การเปลี่ยนถ่ายน้ำให้ดูดน้ำออก 1 ส่วน ใน 3 ส่วน และนำน้ำที่ใส่ใหม่ให้ทำเป็นละอองฝอยโดยใช้สายยางเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่ปลา

5. การจับปลาเพื่อบริโภคโดยใช้วิธีใช้สายยางฉีดน้ำเหมือนกับฝนตกปลาจะเล่นน้ำจากนั้นใช้สวิงตักปลา ที่เล่นน้ำทันที ปลาจะไม่รู้สึกถึงอันตรายและจะกินอาหารต่อและไม่หนี้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา