ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำเกษตรแบบผสมผสาน

โดย : นายทองมา สุระสุข วันที่ : 2017-08-15-16:24:21

ที่อยู่ : 85 ม.8 ต.หนองอียอ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายบุญมา  สุระสุข  ปัจจุบันอายุ  49  ปี  จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่  4  แต่งงานมีครอบครัว  มีบุตร  3  คน  ปัจจุบันประกอบอาชีพ  ทำนา  และมีอาชีพเสริม  เป็นการทำไร่นาสวนผสม  ซึ่งทำอยู่บนที่ของภรรยา  เดิมเคยไปรับจ้างต่างจังหวัดเหมือนกับผู้ใช้แรงงานทั่วไป  หมดหน้านาก็ไปรับจ้าง  ไปเก็บทุเรียนบ้าง  ก่อสร้างบ้างตามแต่จังหวะแต่ก้ไม่พอกินพอใช้เหมือนเดิม  เลยกลับมาปรึกษากับทางครอบครัว  จะทำงานตามที่ตนเองถนัด  คือ  การปลูกผักต่าง ๆ บนที่นาของตนเอง  จำนวน  8  ไร่  เศษ ๆ  ณ  สมัยนั้น ราว ๆ ปี  พ.ศ.  2543  การทำไร่นาสวนผสมยังไม่เป็นที่ยอมรับของเกษตรกรทั่วไป  มีแต่จอบด้ามเดียวเท่านั้น  แรงงานจากควายบ้างเพราะสมัยนั้นยังมีฐานะยากจนอยู่  ไม่มีเครื่องจักรทุ่นแรง  ทุกครั้งที่ปลูกผักขาย  สมัยนั้นนิยมปลูกผักกันมาก  จะใช้แรงงานของตนเองอย่างเดียว  ขุดคันนาให้สูงเพื่อปลูกพริก  มะเขือ  มะม่วง  แต่ก็ไม่พอกินพอใช้เหมือน  ตนจึงคิดว่าถ้าปลูกผักตามฤดูกาลแบบนี้  รายได้คงไม่เพิ่มขึ้น  เพราะทุกอย่างต้องซื้อเขาหมด  รายได้ไม่มี  รายรับก็น้อย  ตนเลยตัดสินใจปรึกษาปราชญ์ผู้โด่งดังในขณะนั้น  คือ  ลุงสุวรรณ  กันภัย  บ้านสำโรง  ม. 9 ตำบลสนม  จังหวัดสุรินทร์  ไปดูงานคุณลุงสุวรรณ  สอบถามวิธีการ  ขั้นตอน  ไปหาลุงสุวรรณบ่อยครั้งต่อบ่อยครั้ง  ลุงสุวรรณเลยถามว่า  งานแบบนี้มันเหนื่อยน่ะ  ใจต้องรักจริง ๆ คนบ้าเท่านั้นทีทำได้แต่ตนก็ไม่ยอมท้อถอย  กลับมาบ้านก็จัดการตามวิธีของลุงสุวรรณทันที  เริ่มทำจริงจัง  ปี  พ.ศ.  2543  เป็นต้นมา  เริ่มทำทุกอย่างจากสองมือ  ขุดดินเช้ายังค่ำปลูกทุกอย่างที่ปลูกได้  ปลูกเสียจน  แทบไม่มีที่ว่างสำหรับเดินเข้าสวนแล้วทุกตารางนิ้ว  มีพืชทุกชนิดผักกินได้  พืชกินได้  ไม้ผล  ไม้ดอกทุกอย่างก็ว่าได้  ปัจจุบัน  เก็บผลผลิตที่มีตามฤดูกาลหรือผักอื่น ๆ ขาย  ทุกวันเสาร์ที่ตลาดนัดสีเขียว  ที่สุรินทร์  ของหน่วยงาน  อบจ.สุรินทร์  จัดขึ้น  ขายตามหมู่บ้าน  ทุกวันนี้เกือบพูดได้เต็มปากว่า  พออยู่พอกิน  ไม่เดือดร้อนต่อครอบครัว  สามารถส่งลูกเรียนแพทย์ได้  ทำงานเลี้ยงตนเองได้เกือบทุกคน  ตนจะยึดหลักของในหลวง  คือ  ความพอประมาณ  ความพอเพียง  เป็นต้นแบบในการดำเนินกิจกรรมไร่นาสวนผสมทุกครั้งที่ลงมือทำงาน  ขาดเสียไม่ได้  คือ  ครองครัวที่เป็นกำลังใจ  ได้ช่วยขายผลผลิตในแต่ละครั้ง

                ขอบคุณสังคมที่ให้กำลังใจ  ขอบคุณตนเอง  นี้คือความเป็นมาพอสังเขป

วัตถุประสงค์ ->

การมีรายได้เพิ่มขึ้น  ยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียง  พึ่งตนเอง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.       ที่ดิน

อุปกรณ์ ->

1.  จอบ  เสียม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

หลักการและเงื่อนไขของเกษตรผสานผสาน   มีหลักการที่สำคัญ 2 ประการ คือ

             1) มีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป และกิจกรรมการเกษตรทั้งสองชนิดต้องทำเวลาและสถานที่เดียวกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดมากกว่าให้เกิดกำไรสูงสุด

             2) เกิดการเกื้อกูลกันอย่างต่อเนื่องระหว่างกิจกรรม

เกื้อกูลกันระหว่างพืชกับพืช พืชกับปลา สัตว์กับปลา พืชกับสัตว์ สัตว์กับสัตว์ ซึ่งลักษณะการเกื้อกูลกันของระบบเกษตรผสมผสาน จึงทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง หรือที่เรียกว่า เป็นการประหยัดทางขอบข่าย(Ecomomy of Scope) และลดการพึ่งพิงปัจจัยจากภายนอกในที่สุด

             ในด้านเทคนิคและการจัดการไร่นานั้น เกษตรผสมผสานให้ความสำคัญในเรื่องของการสร้าง ความหลากหลายของพืช สัตว์ และทรัพยากรชีวภาพ การใช้ประโยชน์เกื้อกูลกันระหว่างกิจกรรม การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก การใช้วัสดุหรือพืชคลุมดิน การปลูกพืชหลายระดับ มีแหล่งน้ำในไร่นาซึ่งจะไม่เน้นหนักว่าต้องมีการปฏิบัติ เช่นสามารถใช้พืชคลุมดิน ไถพรวนดิน หรือปุ๋ยเคมีก็ได้

            การพัฒนารูปแบบเกษตรผสมผสาน

มีการทำการเกษตรแบบผสมผสานมานานแล้ว จากรูปแบบการผลิตที่ง่ายๆเช่นการเลี้ยงปลาในนาข้าว และหลังจากที่หน่วยงานของรัฐเข้ามามีบทบาทในด้านการส่งเสริมและวิจัยมากขึ้น รูปแบบการผลิตจึงมีความซับซ้อนมากขึ้น มีการผสมผสานระหว่างพืช สัตว์และปลา

       โดยทั่วไปรูปแบบของการผลิตซึ่งประกอบด้วยชนิดและขนาดของกิจกรรมการผลิตในไร่นาจะแตกต่างกันไป ปัจจัยที่กำหนดรูปแบบการผลิตมี 3 ประการคือ

        (1) สภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่ เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ระดับความสูงต่ำของพื้นที่ แหล่งน้ำ สภาพลมฟ้าอากาศและอื่นๆ

        (2) สภาพแวดล้อมทางชีวภาพของพื้นที่ ได้แก่ ชนิดของพืช สัตว์และปลาที่สามารถปรับตัวเข้ากับพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม

         (3) สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ ขนาดของพื้นที่ถือครอง จำนวนแรงงานในครัวเรือน เงินออม ตลาด พฤติกรรมการบริโภค เป็นต้น

                   รูปแบบของเกษตรผสมผสานจะคิดสมมติจากรายได้รวมจากฟาร์มเป็นหลัก สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ

    1) การผสมผสานโดยยึดพืชเป็นหลัก รายได้จากพืชจะเป็นรายได้หลักของครัวเรือน ส่วนรายได้จากกิจกรรมอื่นเช่น ปลา และเลี้ยงสัตว์ จะเป็นรายได้รอง

    2) การผสมผสานโดยยึดสัตว์เป็นหลัก จะได้รายได้หลักจากสัตว์เลี้ยงส่วนรายได้จากพืชและปลาจะเป็นรายได้รอง

    3) การผสมผสานโดยยึดปลาเป็นหลัก รายได้หลักมาจากการเลี้ยงปลา ส่วนรายได้จากพืชและสัตว์จะเป็นรายได้รอง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา