ความรู้สัมมาชีพชุมชน

จักสานหวาย

โดย : นายบุญเที่ยง ศรีลานุช วันที่ : 2017-06-27-16:21:10

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 8/7 หมู่ที่ 4 ตาบลเมืองที อาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายบุญเที่ยง ศรีลานุช ราษฎรบ้านบุทม หมู่ที่ 4 ตาบลเมืองที อาเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ได้เรียนรู้การจักสานหวายมาจากบรรพบุรุษได้ยึดเป็นอาชีพเสริม และเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัวที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ ราษฎรบ้านบุทม

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการผลิต

2.1 การผ่าหวาย เลือกหวายผ่าประมาณ 10 ต้น ควรเลือกลาต้นใหญ่กว่าลูกกรง หวาย 1 ต้น ควรผ่าให้ได้อย่างน้อย 4 ส่วน จนสุดลาต้น เทคนิคการผ่ามีดต้องคม ผ่าจากปลายไปหาโคน โดยใช้กาลังมือตั้งมีดตอก และใช้มืออีกข้างดันหวายตามความถนัด บังคับอย่าให้บิดเบี้ยว หวายจะขาดกลางลา

2.2 รีดหวาย ใช้มีดตอกรีดเอาไส้หวายออกให้เหลือส่วนที่เป็นเปลือกเท่านั้นจากนั้นสอดเข้าไปในรูแป้น รีดหวายทีละเส้น ค่อยๆ ดึงจนสุดเส้นหวาย และควรรีดให้ได้ขนาดเท่ากันเส้นหวายจะได้เป็นระเบียบสวยงาม

2.3 ตีลายลูกกรง ให้นาหวายหางหนูที่แช่น้า 10 ต้น มาดัดลูกกรงครั้งละ 2 – 4 ต้นจนครบ 10 ต้น และสุดลาต้น โดยใช้หวายวางทาบบนไม้ดัดลูกกรง และใช้ค้อนทุบเบา ๆ พอให้หวายหักมุมเท่านั้น

2.4 ดัดรูปทรงตะกร้า (กลม,เหลี่ยม,รี และอื่น ๆ)

2.5 การทาฐาน (ก้นตะกร้า)

2.5.1 นาไม้เจลยมาดัดเป็นวงกลมวงที่ 1 เส้นผ่าศูนย์กลาง 28 ซ.ม. หรือตามต้องการใช้ตะปูเข็มตอกยึดเอาไว้ จากนั้นใช้เส้นหวายที่รีดแล้วพันรอบวงกลม โดยพันเว้นช่องแต่พองาม

2.5.2 นาหวายน้าที่มีขนาดเท่ากับวงกลมวงที่ 1 ตีทับวงที่ 1 ใช้ตะปูเข็มตอก แล้วใช้เส้นหวายที่รีดมาพันรอบวงกลมทั้ง 2 วงให้ติดกันจนครบรอบวงกลม

2.5.3 ใช้หวายน้า 2 เส้น ที่มีขนาดเท่ากับวงกลมวงที่ 1 ใช้ตะปูเข็มตอกยึดรอบวง เพื่อเป็นฐานรองรับก้นตะกร้าให้แข็งแรง

2.5.4 นาไม้เจลยจานวน 8 ท่อน มีขนาดยาวเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมตะกร้าตีกากะบาท 8 มุมตอกตะปูยึดกับวงกลม

2.5.5 ใช้เส้นหวายที่รีดแล้ว สานเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมคล้ายใยแมงมุม ความกว้างพอประมาณ (5 ซ.ม.)

2.5.6 ใช้หวายหางหนูทั้งต้นที่เลือกไว้มีขนาดเท่ากัน นามาขดให้เต็มวงกลมคล้ายขดยากันยุงใช้เส้นหวายสานยึดแต่ละเส้นจนครบ สิ้นสุดการทาก้นตะกร้าโดยสมบูรณ์

2.6 การขึ้นลูกกรง

2.6.1 การขึ้นลูกกรง นาเหล็กแหลมเจาะที่ขอบฐานตะกร้าให้เป็นรู 5-7 ที่ตามจานวนลูกกรง จากนั้นนาหวายลูกกรงที่เตรียมไว้เหลาปลายต้นทั้ง 5-7 ให้แหลม ใช้ปลายแหลมของลูกกรงสอดลงไปในรูที่เจาะไว้ ต่อจากนั้นใช้มือดัดลูกกรงขึ้นเป็นลวดลาย ใช้เส้นหวายสานยึดติดกับขอบฐานจนครบ

2.6.2 การใส่ขอบขั้น 1 (ภาษาพื้นเมืองสุรินทร์เรียกว่า ใส่กะนับ หรือ เอวตะกร้า) โดยนาต้นเจลยที่ดัดเป็นวงกลม มาวางทับกับลูกกรงชั้นที่ 1 ใช้เส้นหวายที่รีดแล้วสานยึดวงกลมกับลูกกรงไว้จนครบรอบวงกลม

2.6.3 นาหวายน้าที่มีขนาดเท่ากับวงกลมวงที่ 1 ตีทับบนขอบวงกลมที่ 1 ตอกตะปูยึดทั้งสองวงกลมจนครบรอบ เสร็จตัวกระจาด 1 ชั้น ต่อไปก็เป็นการ ทาหูจับ

2.7 การทาหูจับ (มือจับ, หูหิ้ว)

2.7.1 ใช้หวายน้าที่มีขนาดใหญ่พอสมควร มาดัดเป็นรูปโค้ง ใช้ตะปูตอกยึดทั้ง 2 ข้างติดกับฐานตะกร้าและขอบปากตะกร้าโค้งขนาดพอที่จะสอดนิ้ว 4 นิ้ว ได้เป็นหูจับ

2.7.2 นาหวายมาทาบบนขอบตะกร้า และหูจับให้โค้งตาม ใช้ตะปูเข็มตอกยึดติดกันไว้โดยรอบ

2.7.3 ใช้เส้นหวายรีดพันรอบขอบปากตะกร้าและหูจับ เว้นช่องแต่ละช่องให้ พองามต่อไปก็สานจูงนางเพื่อให้เป็นลวดลายสวยงาม

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา