ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำนาอินทรีย์

โดย : นายสุดดี ราบอาสา วันที่ : 2017-05-23-17:55:29

ที่อยู่ : 60หมุ่5 ตำบลเมืองบัว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มีแนวความคิดที่เกิดขึ้นมาจากเมื่อก่อนทำนาใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในนา  ตอนช่วงแรก ๆ ผลผลิตก็ดี เร็วทันใจ  แต่พอใช้ไปนาน ๆ  ดินก็เริ่มเสื่อมสภาพ  ดินแข็ง  ส่งผลให้ผลผลิตไม่ดีขึ้นเหมือนเดิม เลยใส่ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่มากขึ้น  แต่ผลผลิตก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากเหมือนเดิม  และต้นทุนในการทำนาก็สูงขึ้นเรื่อย ๆ  ในทางกลับกันราคาข้าวก็ราคาถูกเหมือนเดิม  ทำให้การทำนาในแต่ละปีขาดทุนลงเรื่อย ๆ  จึงหันหลับมาใช้วิธีการทำนาแบบอินทรีย์  ช่วงแรกที่ทำผลผลิตก็ต่ำลง  แต่พยายามปรับสภาพดินให้ดีขึ้น  โดยการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ในการบำรุงดิน  และปลูกพืชบำรุงดินแล้วไถ่กลบ  ส่งผลให้สภาพดินดีขึ้นเรื่อย ๆ ผลผลิตก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นมา  แต่ใช้ระยะเวลานาน  แต่สุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภคปลอดภัยขึ้น  ซึ่งต่างจากเมื่อก่อนที่ผู้ผลิตมีปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการฉีดพ่นสารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช  ต่อไปนี้จึงให้ความสำคัญของความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยวิธีทางธรรมชาติ ปฏิเสธการใช้ปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืชและสารเร่งการเจริญเติบโตทุกชนิด เนื่องจากการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในนา ก่อให้เกิดปัญหาในด้านสุขภาพอย่างรุนแรง ประกอบกับต้องลงทุนสูง แต่ผลผลิตที่ได้มีความไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม นอกจากนี้สารเคมีที่ใช้ยังไปทำลายแมลงและสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ เป็นผลให้ระบบนิเวศเกิดความไม่สมดุล และเพื่อความปลอดภัยในสุขภาพ ใช้ซากพืช มูลสัตว์ การปลูกพืชหมุนเวียน แร่ธาตุตามธรรมชาติในการปรับปรุงดิน ผสมผสานกับการกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี หรือสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติช่วยในการควบคุมทำลายศัตรูพืช นำมาสู่ความยั่งยืนทางการเกษตร

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

  วิธีการของทำนาอินทรีย์

               1. ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และยาปราบศัตรูพืช

               2. มีการไถพรวนระยะเริ่มแรก และลดการไถพรวนเมื่อปลูกไปนาน ๆ เพื่อรักษาสภาพโครงสร้างของดิน

               3. มีการเปลี่ยนโครงสร้างของดินตามธรรมชาติ คือมีการคลุมดินด้วยใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง ฟางแห้ง วัสดุอื่น ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น เพื่อรักษาความชื้นของดิน

               4. มีการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด

               5. มีการเติมจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่มีประโยชน์

               6. มีการเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วย เช่น เทคนิคการปลูก การดูแลเอาใจใส่ การขยายพันธุ์พืช การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ การให้น้ำ ตลอดจนการเก็บเกี่ยว

               7. มีการปลูกอย่างต่อเนื่อง ไม่ปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่า แห้งแล้ง ทำให้โครงสร้างของดินเสีย จุลินทรีย์ จะตาย อย่างน้อยให้ปลูกพืชคลุมดินชนิดใดก็ได้

               8. มีการป้องกันศัตรูพืช โดยใช้สารสกัดธรรมชาติ เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้ ยาสูบ โล่ตี้น และพืชสมุนไพรอื่น ๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา