ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำเครื่องทองเหลือง

โดย : นายเฉลิมชัย พิศโสระ วันที่ : 2017-05-09-16:51:31

ที่อยู่ : 94 หมู่ที่ 8 ต.เขวาสินรินทร์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำเครื่องประดับเงิน บ้านนาตัง หมู่ที่ 8 ตำบลเขวาสินรินทร์ โดยมีการสืบสานวัฒนาธรรมการทำเครื่องประดับเงินมาจากประเทศกัมพูชา มีบรรพบุรุษอพยพหนีภัยสงครามจากประเทศกัมพูชามาอาศัยอยู่เมื่อประมาณ  300  ปีที่ผ่านมา  และได้นำศิลปหัตถกรรมการทำเครื่องเงิน  มาถ่ายทอดให้ลูกหลานเป็นอาชีพที่สร้างรายได้  สร้างชื่อเสียงให้กับอำเภอเขวาสินรินทร์เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน   ราษฎรบางส่วนก็มีความถนัดในด้านการทอผ้าไหม    ผ้าไหมที่ทอได้ก็ไว้สำหรับสวมใส่ในครัวเรือน   และจำหน่ายเป็นรายได้เสริมของครอบครัวในการพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

1. มีการรวมกลุ่มกัน

2. มีตลาดจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง

3. เป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับที่เป็นภูมิปัญญาในชุมชนน้อยรายในประเทศไทย

4. มีครูภูมิปัญญาที่สามารถถ่ายทอดได้ภายในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการในการผลิตเม็ดประคำ

            การผลิตเม็ดประคำเงิน จะต้องดำเนินไปตามขั้นตอนซึ่งเป็นเทคนิคของงานช่าง ที่จะต้องใช้กระบวนการเพื่อให้งานสำเร็จในเวลาที่กำหนด กระบวนการผลิตเม็ดประคำเงินมีขั้นตอนการผลิตดังนี้

ขั้นที่ 1 การหลอมละลายเม็ดเงิน เพื่อนำมาตีแผ่ และรีดให้ได้แผ่นเงินตามขนาดที่ต้องการ

1. นำเม็ดเงินที่จะหลอมใส่ลงไปในเบ้าหลอม

2. ใช้ชุดเป่าไฟหลอมละลายเม็ดเงิน ในขณะที่หลอมใส่สารบอแรกซ์ลงไปพอประมาณ   เพื่อสกัดสิ่งสกปรกออกจากเม็ดเงิน ความร้อนจะหลอมละลายเม็ดเงินเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว

3. เทเงินจากเบ้าลงในรางเทที่เตรียมไว้ เมื่อเย็นตัวจะคืนสถานะเป็นของแข็ง ใช้คีมจับแท่เงินจากรางเท จุ่มในน้ำเพื่อให้คายความร้อนเร็วขึ้น

4. นำแท่งเงินมาตีแผ่ให้ได้ขนาดความกว้างตามต้องการ เคาะปลายด้านหนึ่งให้เรียบแบน จนสามารถใส่ในลูกรีดได้

5. ปรับลูกรีดที่เครื่องรีด นำแท่งเงินเข้าลูกรีด เปิดสวิตซ์ไฟฟ้าให้มอเตอร์เครื่องรีดทำงาน    ในขณะเครื่องรีดหมุนทำงานจะต้องปรับลูกรีดเพื่อบีบเงินให้ได้ความบางตามความต้องการ

ขั้นที่ 2 นำแผ่นที่รีดแล้วมาวัดความยาว ตัด ม้วน และเชื่อมประสาน

1. นำแผ่นเงินมาวัดขนาดความยาว วิธีกำจัดโดยนำชิ้นแบบที่มีขนาดยาวแล้วพับแผ่นเงินที่

ปลายให้เป็นรอยแล้วเลื่อนแบบไปต่อที่รอยพับ ทำเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆจนได้จำนวนมากพอ แล้วจึงนำมาตัดเป็นชิ้นๆ เมื่อมีความชำนาญสามารถนำแผ่นเงินมาซ้อนกันแล้วจึงตัดก็ได้จะทำให้ประหยัดเวลาและแรงงาน

 2. นำชิ้นเงินที่ตัดแล้วมาพันกันกับไม้แกนทรงกระบอก ม้วนแผ่นเงินให้เป็นหลอดให้ริมซ้อนกันเล็กน้อย ไม้แกนกระบอกสามารถใช้แขนงไม้ไผ่ได้เพราะพื้นผิวเรียบได้รูปทรงตามธรรมชาติ

3. ทาน้ำประสานทับรอยต่อของริมที่ซ้อนตลอดรอยต่อของหลอดเงิน

4. นำเงินที่ทาน้ำประสานวางบนไม้รองไฟที่เซาะเป็นร่อง เพื่อป้องกันไม่ให้หลอดเงินดิ้นในขณะที่เป่าไฟเชื่อมประสานรอยต่อ

5. ปรับหัวไฟจากชุดเป่าไฟให้ไฟเดินสม่ำเสมอ แล้วจ่อลงที่ตรงรอยต่อที่จะเชื่อมประสานความร้อนจะหลอมละลายโลหะในน้ำประสานให้เชื่อมต่อกัน

ขั้นที่ 3 การตีขึ้นรูปทรงเม็ดประคำเงิน

   การตีขึ้นรูปทรงเม็ดประคำเงิน หมายถึงการนำแผ่นเงินที่ประสานแล้ว มาตีขึ้นรูปให้ได้ทรงที่ต้องการ การทำในขั้นตอนนี้จะต้องฝึกจนให้เกิดความชำนาญพอสมควรจึงจะตีขึ้นรูปได้สวยดูสมส่วน ทั้งนี้ความสำคัญอยู่ที่ผู้ตีเม็ดประคำเงินจะต้องรู้จักการใช้ค้อนตีให้สัมพันธ์กับที่หมุนหลอดเงินไปรอบฐานตีเม็ดประคำเงินมีหลายรูปทรง แต่ขั้นตอนการตีขึ้นรูปของประคำทรงกลมและทรงกระบอกถือได้ว่าเป็นขั้นตอนพื้นฐานในการตีขึ้นรูปของประคำชนิดอื่นๆและทรงกระบอกถือได้ว่าเป็นขั้นตอนพื้นฐานในการตีขึ้นรูปทรงหลายรูปทรงประคำชนิดอื่นๆ ขั้นตอนการตีขึ้นรูปประคำทรงกลมมีอยู่ 3 ขั้น คือ

         1. การตีปรับร่างรูปทรง

             นำเงินที่เชื่อมเรียบร้อยแล้วมาสอดในเหล็กตาปูที่แท่งตี ใช้ค้อนเขาควายตีไล่ตั้งแต่ขอบของหลอดเงิน ในขณะเดียวกันมือที่จับหลอดเงินหมุนหลอดเงินไปรอบๆฐานให้สัมพันธ์กับการตีจะทำให้หลอดเงินทรงตัวตีได้ง่าย ตีนวดเข้าไปเรื่อยๆจนถึงกิ่งหนึ่งของหลอดเงินก็ถอดกลับเปลี่ยนข้างและตีในลักษณะเดียวกันจนชนส่วนที่ตีนวดอีกข้าง เมื่อตีเสร็จทั้งสองข้างหลอดเงินจะมีลักษณะแข็งขึ้นซึ่งจะทำให้การหยิบ การจับ และการตีในขั้นต่อไปง่ายขึ้น แต่ก่อนที่จะนำเม็ดเงินไปตีในขั้นตอนต่อไปจะต้องนำเม็ดเงินไปเผา เพื่อให้ความร้อนทำความสะอาดและปรับเนื้อเงินให้นิ่ม หากไม่เผาเนื้อเงินที่ผ่านการตีแล้วจะแข็งกระด้างยากต่อการตีขึ้นรูปขั้นต่อไป

         2. การตีเกลารูปทรง

               นำเงินที่ตีปรับร่างรูปทรงแล้วมาตีในลักษณะเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง ในขั้นนี้เป็นการตีบีบเพื่อขัดเกลารูปทรงให้ได้ตามที่ต้องการ หลังจากตีทั้งสองข้างแล้วก็นำไปเผาอีกครั้งหนึ่งเพื่อนำไปตีในขั้นต่อไป

           3. การตีแต่งรูปทรง

              เป็นการครั้งสุดท้ายในการตีขึ้นรูปทรงเม็ดประคำทรงกลม ขั้นนี้จะเป็นการตีปรับแต่งเม็ดประคำก่อนนำไปแต่งขอบปาก วิธีการคล้ายการเกลารูปทรงแต่จะเป็นการตีประณีตขึ้น เพราะเป็นการตีแต่งรูปทรงประคำให้สมส่วนพร้อมที่จะนำไปตกแต่งใส่ขอบปากต่อไปเมื่อเสร็จขั้นนี้แล้วไม่ต้องนำเม็ดประคำไปเผา การตีขึ้นรูปประคำทรงกระบอก วิธีการตีจะง่ายกว่าประคำทรงกลม ดังนี้

  3.1 นำหลอดเงินใส่แท่งตี

  3.2 ตีนวดขอบปากให้รอบลึกพอประมาณแล้วตีพับขอบปาก กลับอีกข้างหนึ่งทรง ลักษณะเดียวกัน

  3.3 นำไปใส่ขอบปากทั้งสองข้าง ก็จะได้ประคำทรงกระบอก

ขั้นที่ 4 การใส่ขอบปากเม็ดประคำ

           การใส่ขอบปากเม็ดประคำ หมายถึง การนำลวดเงินที่ทำเป็นห่วงวงกลม มาวางเชื่อมติดที่ปากเม็ดประคำทั้งสองข้าง เพื่อให้เม็ดประคำสวยงามและแข็งแรง มีขั้นตอนการใส่ดังนี้

          4.1 ทาน้ำประสานที่ขอบปากเม็ดประคำ

          4.2 ใส่ห่วงลวดเงินที่ขอบปาก ดูให้ริมปากประคำเสมอห่วงแล้ววางเม็ดประคำลงบนไม้

รองไฟ

          4.3 ใช้ความร้อนจากชุดเป่าไฟหลอมละลายน้ำประสาน เพื่อให้ลวดเชื่อมติดกับปาก

ประคำ เมื่อทำเสร็จด้านหนึ่งก็กลับอีกด้านหนึ่งทำในลักษณะเดียวกัน ประคำที่ใส่ปากเรียบร้อยแล้ว ถ้าต้องการขัดขาวควรนำเม็ดประคำไปต้มน้ำที่มีส่วนผสมของเกลือสารส้ม ใช้ความร้อนที่พอเหมาะประมาณ 15 นาที จะทำให้เม็ดประคำขาวขึ้นหลังจากนั้นนำไปล้างด้วยน้ำสะอาดประมาณ 2 ครั้ง แต่ถ้าต้องการรมดำไม่ต้องนำไปต้มเตรียมเข้าชันในขั้นต่อไปได้เลย

 ขั้นที่ 5 การเข้าชั้น การเข้าชั้น หมายถึง การนำเม็ดประคำมาอัดชันผสมเข้าไปในเม็ดประคำให้แน่น ก่อนจะนำไปแกะสลักลาย การอัดชันผสมต้องอาศัยความร้อนช่วยให้ชันอ่อนตัวก่อนจึงจะอัดเข้าไปในเม็ดประคำได้ก่อนการเข้าชันจะต้องมีการเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ในการเข้าชันให้เรียบร้อย

การเข้าชันมี 2 วิธี

การเข้าชันวิธีที่ 1 นำเหล็กคีบเผาไฟ เอาน้ำทาแท่นรองนำเม็ดประคำวางบนแท่น เอาชันผสมที่เตรียมไว้ใส่ในเม็ดประคำ ใช้เหล็กคีบจับที่เม็ดประคำ ความร้อนจากเหล็กคีบจะทำให้ชันอ่อนตัวง่ายในการอัดเข้า

การเข้าชันวิธีที่ 2 นำชันที่ผสมเตรียมไว้ลนไฟจากเทียนหรือตะเกียง เมื่อชันอ่อนตัวจึงนำเข้าในเม็ดประคำแล้วค่อยๆอัดเข้าไป วิธีนี้ค่อนข้างจะยากแต่อุปกรณ์น้อยไม่ยุ่งยาก

ขั้นที่ 6 การแกะสลัก

การแกะสลักกลายเป็นการตกแต่งเม็ดประคำ ลวดลายที่ใส่ลงไปมีมากมาย ในการแกะสลักจะต้องคำนึงถึงความสวยงามและการเลือกลายให้เหมาะสมกับรูปทรงประคำ

ขั้นที่ 7 การเจาะร่อง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา