ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เลี้ยงไก่พื้นเมือง

โดย : นายไพรวัน วิโรจรัตน์ วันที่ : 2017-05-01-21:48:31

ที่อยู่ : ุ62 หมู่ที่ 6 บ้านโคกเพชร ตำบลกันตวจระมวล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เลี้ยงไก่บ้านไก่พื้นเมืองอาชีพเสริมทำที่บ้านคนที่มีรายได้ประจำและต้องทำงานเป็นเวลา หากต้องการอาชีพเสริมทำที่บ้าน เพื่อให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น หรือเลือกทำธุรเสริมเพราะเหตุผลอื่นก็คงต้องเลือกงานที่เหมาะกับ  เวลาว่างเพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับงานประจำ

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1 วัตถุดิบอาหารที่ใช้เลี้ยงและสูตรอาหารไก่พื้นเมือง

                     อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ ข้าวเปลือก ปลายข้าว และรำ ซึ่งเป็นอาหารที่มีอยู่ในท้องถาน นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองอาจใช้ข้าวโพด ใบกระถินบดให้ละเอียด กากถั่วเหลือง และปลาป่น ฯลฯ

                     โดยหลักการแล้ว ไก่พื้นเมืองต้องการอา หารที่ดีมีคุณภาพที่มีพร้องทั้งไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แร่ธาตุ และวิตามิน ซึ่งมีพร้อมในอาหารสำเร็จรูป แต่การเลี้ยงไก่พื้นเมืองในชนบท จะเป็นการเลี้ยงเพื่อรับประทานในครัวเรือน โดยปล่อยให้ไก่พื้นเมืองหาอาหารกินเองตามธรรมชาติ จะมีการให้อาหารเสริมบ้าง เช่น ปลายข้าวหรือข้าวเปลือกโปรยให้กินก่อนไก่พื้นเมืองเข้าโรงเรือน แต่สำหรับผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองที่ต้องการให้ไก่พื้นเมืองเจริญเติบโตเร็ว ขายได้ราคาดี ควรให้อาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนตามที่ไก่พื้นเมืองต้องการ  ให้ไก่พื้นเมืองเจริญเติบโตเร็ว ขายได้ราคาดี ควรให้อาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนตามที่ไก่พื้นเมืองต้องการ อาจใช้หัวอาหารผสมกับปลายข้าวและรำ ในอัตราส่วน 1 : 2 : 2 (หัวอาหาร 1 ส่วน ปลายข้าว 2 ส่วน รำ 2 ส่วน) หรืออาจใช้สูตรอาหารต่อไปนี้   

             สูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงลูกไก่พื้นเมือง

            แรกเกิด จนถึงอายุ 2 เดือน สูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่พื้นเมืองอายุ 2 เดือนขึ้นไป

               1. หัวอาหารอัดเม็ดสำหรับไก่ระยะแรก 8 กิโลกรัม

               2. รำรวม 8 กิโลกรัม

               3. ปลายข้าว 10 กิโลกรัม 1. รำรวม 38 กิโลกรัม

               4. ปลายข้าว 60 กิโลกรัม

               5. เปลือกหอยป่น 2 กิโลกรัม

 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

                2. การฟักไข่ไก่พื้นเมือง

                    ปกติแล้วแม่ไก่พื้นเมืองจะเริ่มให้ไข่ เมืออายุประมาณ 6-8 เดือน จะไข่เป็นชุด โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ ปีละ 4 ชุด ชุดละ 8-12 ฟอง แม่ไก่พื้นเมืองเมื่อไข่หมดชุดแล้วจะเริ่มฟักไข่ก่อนที่แม่ไก่พื้นเมืองจะฟักไข่ ควรฆ่าไรและเหาเสียก่อน โดยจับแม่ไก่พื้นเมืองจุ่มน้ำยาฆ่าไรและเหา เพื่อป้องกันไม่ให้รบกวนในยามฟักไข่การฟักไข่นั้นแม่ไก่พื้นเมืองจะกกไข่ตลอดคือ และออกหาอาหารกินในตอนเช้า ตอนกลางวันแม่ไก่พื้นเมืองจะขึ้นกกไข่วันละ 2 ชั่วโมง แล้วออกจากรังไปหากินอาหารสลับกันอยู่อย่างนี้ เมื่อแม่ไก่พื้นเมืองกกไข่ได้ประมาณ 5-7 วัน ควรเอาไข่มาส่องดูเชื้อ โดยใช้กระดาษแข็งม้วนเป็นรูปกระบอก เอาไข่ไก่พื้นเมืองมาชิดที่ปลายท่อด้านหนึ่ง แล้วยกขึ้นส่องดูกับแสงแดดหรือส่องกับหลอดไฟนีออนก็ได้ ไข่ที่มีเชื้อจะเห็นเป็นจุดสีดำอยู่ข้างในและมีเส้นเลือดสีแดงกระจายออกไป ส่วนไข่ที่ไม่มีเชื้อจะใสมองไม่เห็นเส้นเลือด ต้องคัดออกและนำไปเป็นอาหารได้ (โดยการต้ม)         การคัดไข่ที่ไม่มีเชื้อออกจะเป็นการช่วยให้แม่ไก่พื้นเมืองฟักไข่ที่มีเชื้อได้ดีขึ้นและได้ลูกไก่พื้นเมืองมากขึ้น การส่องไข่เมื่อแม่ไก่พื้นเมืองฟักไข่ได้ 5-7 วันแล้ว ถ้าเป็นไปได้ควรส่องเมื่อฟักไข่ได้ 14 และ 18 วันอีกครั้ง เพื่อคัดไข่เชื้อตายหลังจากฟักการส่องครั้งแรกออกมา

ในการฟักไข่นั้น แม่ไก่พื้นเมืองจะใช้เวลาฟักไข่จนออกเป็นตัวประมาณ 21 วัน เมื่อลูกไก่พื้นเมืองฟักออกหมดแล้ว ควรเอาวัสดุที่รองรังไข่รวมทั้งเปลือกไข่เผาทิ้งเสีย และทำความสะอาดรังไข่ไว้สำหรับให้แม่ไก่พื้นเมืองไข่อีกต่อไป

                3. การเลี้ยงและการดูแลลูกไก่พื้นเมือง

                 เมื่อลูกไก่พื้นเมืองออกจากไข่หมดแล้ว ควรให้แม่ไก่พื้นเมืองเลี้ยงลูกเอง โดยย้ายแม่ไก่พื้นเมืองและลูกไก่พื้นเมืองลงมาขังในสุ่มหรือในกรงในระยะนี้ควรมีถาดอาหารสำหรับใส่รำ ปลายข้าว หรือเศษข้าวสุกให้ลูกไก่พื้นเมืองกินและมีถ้วยหรืออ่างน้ำตื้น ๆ ใส่น้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา   เมื่อลูกไก่พื้นเมืองอายุประมาณ 2 สัปดาห์ ลูกไก่พื้นเมืองแข็งแรงดีแล้ว จึงเปิดสุ่มหรือกรงให้ลูกไก่พื้นเมืองไปหากินกับแม่ไก่พื้นเมืองได้โดยธรรมชาติแม่ไก่พื้นเมืองจะเลี้ยงลูกประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้แยกลูกไก่พื้นเมืองออกจากแม่ไก่พื้นเมือง โดยนำไปเลี้ยงในกรงหรือแยกเลี้ยงต่างหาก เพื่อให้แม่ไก่พื้นเมืองฟักตัวเตรียมไข่ในรุ่งต่อไป  ลูกไก่พื้นเมืองอายุ 2 สัปดาห์ที่แยกออกจากแม่ไก่พื้นเมืองใหม่ ๆ ยังหาอาหารไม่เก่งและยังป้องกันตัวเองไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องเลี้ยงต่างหากในกรงเพื่อให้แข็งแรงปราดเปรียว และเมื่อมีอายุได้ 1 - 2 เดือนจึงปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติในระยะนี้ลูกไก่พื้นเมืองจะมีการตายมากที่สุดผู้ที่เลี้ยงควรเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดในเรื่องน้ำ อาหาร และการป้องกันโรค

                  4. การเลี้ยงไก่พื้นเมืองไว้กินไข่

               การเลี้ยงไก่พื้นเมืองไว้กินไข่ มีการจัดการง่าย ๆ แต่ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองต้องเอาใจใส่พอสมควร เริ่มจากแม่ไก่พื้นเมืองเริ่มไข่ ให้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองต้องเอาใจใส่พอสมควร เริ่มจากแม่ไก่พื้นเมืองเริ่มไข่ ให้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองสังเกตว่าถ้าแม่ไก่พื้นเมืองไข่ดก แม่ไก่พื้นเมืองจะชอบไข่ในตอนเช้า พอรุ่งเช้าขึ้นก็จะไข่อีก 1 ฟอง ให้

ข้อพึงระวัง ->

เทคนิคการเพาะพันธุ์ไก่พื้นเมืองให้ได้ลูกดก

             1. ในการผสมพันธุ์ ไก่ตัวผู้ 1 ตัว  ต่อตัวไก่ตัวเมีย 5 ตัวและขังแยกตัวผู้กับตัวเมีย

             2. จากนั้นปล่อยให้ตัวผู้มาผสมพันธุ์กับตัวเมียในช่วงเย็นเวลา 16-18.00 น. ให้เว้นระยะ 3-5วันต่อครั้ง สำหรับข้อดีในการผสมพันธุ์ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้จะทำให้น้ำเชื้อไก่พ่อพันธุ์แข็งแรง สามารถง่ายในการจัดการและไม่มีต้นทุน ให้อัตราการออกไข่สูงสุด 10-15 ฟอง อัตราการฟักประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์

            3. หลังจากนั้นเมื่อจะทำการผสมพันธุ์ต่อเนื่อง หลังจากแม่ไก่ฟักออกเป็นตัวแล้ว นำลูกไปอนุบาลให้แม่ไก่ไปอาบน้ำจนเปียกแล้วขังให้ไก่ แห้งอทำต่อเนื่อง 2 – 3 วัน แล้วนำไปผสมพันธุ์ต่อ จะได้การขยายพันธุ์ รวดเร็ว ประหยัดเวลา ได้กำไร

 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา