ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ไข่เค็มสมุนไพรใบเตย

โดย : นางปราณี บัวพนัส วันที่ : 2017-03-10-15:55:27

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 47/1 หมู่ที่ 12 ตำบลทองเอน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมาของความรู้ หาวัสดุอุปกรณ์ง่าย เนื่องจากในชุมชนมีเกษตรกรเลี้ยงเป็ดไข่ไล่ทุ่ง และทำง่ายขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ประโยชน์ของผลผลิตที่ได้คือการถนอมอาหาร สามารถนำมาประกอบอาหารได้ต่างๆ เช่น  ไข่เค็มสมุนไพรใบเตย , ยำไข่เค็ม , ไข่ดาวเค็ม , ขนมเปี๊ยะไส้ไข่เค็ม , ส้มตำไข่เค็ม ,ผัดปลาหมึกไข่เค็ม และอีกหลากหลายเมนูอาหารประเภทไข่เค็ม จำหน่ายเป็นอาชีพหรือรายได้เสริมในครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ไข่เป็ด  , ดินสอพอง , เกลือไอโอดีน , ใบเตยหั่นบดหรือตำให้ละเอียด , ถาดใส่ไข่ , กะละมัง 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.นำไข่เป็ดและใบเตยมาทำความสะอาด พึ่งให้แห้ง

2.นำใบเตยมาหั่นฝอยและบดให้ละเอียด

3.นำเกลือและใบเตยที่บดละเอียดแล้วผสมกับดินสอพองลงในกะละมัง คลุกเคล้านวดให้เหนียวเป็นเนื้อเดียวกัน

4.นำไข่เป็ดที่เตรียมไว้มาพอก กับส่วนผสมที่เตรียมไว้ ให้มีความหนาประมาณ 1 ซม.  

5.นำไข่เป็ดที่พอกแล้วมาวางใส่ตะแกรงหรือกระจาด (วางให้แห้งดี จัดวางใส่ภาชนะ กล่องชะลอม เก็บไว้ในที่แห้ง มิดชิด ที่โปร่ง) ทิ้งไว้ 7-10 วัน นำมาล้างทำความสะอาด สามารถนำมารับประทานหรือปรุงเป็นอาหารได้

ข้อพึงระวัง ->

     - การพอกไข่อย่าให้บางเกินไปจะทำให้ไข่เสีย

     - เวลาพอกไข่ควรพอกให้หนาทั่วใบไข่พอประมาณเท่ากัน

     - ล้างไข่ให้สะอาด ต้มไข่เค็มอย่าใช้ไฟแรง ไข่จะแตก ควรใช้ไฟอ่อนๆ ต้มนานประมาณ 2-3 ชั่วโมง

      - เมื่อไข่ได้กำหนดการ ควรต้มให้หมดอย่าปล่อยทิ้งไว้ ไข่จะเค็มมาก (สังเกตดูถ้าไข่ที่พอกแห้งมาก จะอยู่ได้นาน 20 -25 วัน)

     -  

- อย่าให้ไข่ที่พอกแล้วโดนแดดหรือฝนจะทำให้เกลือที่พอกไข่ชื้นไม่จับไข่ที่พอกไว้

 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา