ความรู้สัมมาชีพชุมชน

หัตถกรรม เชือกร่ม

โดย : นางเวียง ขิงหอม วันที่ : 2017-03-01-10:13:12

ที่อยู่ : 67/1 หมู่ 1 ตำบลบ้านหม้อ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

อาชีพหลักคือ  ร้านอาหาร ขายอาหารพวก ลาบ  ต้มแซบ เนื้อ/หมู แดดเดียว  ฯลฯ การขายอาหารในร้านปัจจุบัน ลูกค้าลดลง พอมีเวลาว่างจึงนำงานฝีมือถักมาลื้อฟื้น และวางขายหน้าร้าน  จนมีชาวบ้านมาเห็นและให้ความสนใจ จึงรวมกลุ่มกันมาเรียน  และก็ถ่ายทอดแลกเปลี่ยน คิดหาแบบต่างๆ กัน ซึ่งแต่ละคนไม่ใช่จะถักกันเป็นทันที บางคนต้องลื้อทำใหม่หลายรอบ  เป็นงานฝีมือ ที่ต้องใช้ความอดทน ฝึกฝน และมีใจรักจริงๆ จึงจะทำได้  แต่ก็สอนโดยไม่ได้คิดค่าจ้างใดๆ  ก็ว่างๆกันอยู่ ก็สอนให้ถักกันเป็นเหมือนๆกัน  พอถักคล่องขึ้นและรู้แนวแล้ว ก็จะค่อยๆ ดัดแปลง ให้แตกต่างจากสินค้าที่วางขายในท้องตลาดทั่วไป  เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า

วัตถุประสงค์ ->

อาชีพเสริมเพ่ิมรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1.เชือกร่มสำหรับถัก

2.เข็มถักหัว  5 -6 

3.เชือกปอแก้ว 

4.โครงตะกร้า

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. พันเชือกร่ม รอบโครงตะกร้าเพื่อความสวยงาม  (ปิดเนื้อโครงตะกร้าที่เป็นสีขาว)

2. ทำพื้นตะกร้า โดยใช้เชือกปอ 4 เส้นเป็นแกนเพิ่มความแข็งแรงของพื้นตะกร้าและช่วยเสริมให้พื้นตะกร้ารับน้ำหนักได้พอสมควร

3. เริ่มต้นทำโครงตะกร้า จากการถักโซ่ 1 แถว แล้วนำไปวัดขนาดรอบโครงตะกร้าที่จะสวม  โดยนับโซ่ที่ถักแต่ละขนาดจะไม่เท่ากัน   เพราะความถี่ห่างของโซ่จากการถักของแต่ละคนไม่เท่ากัน  การกะระยะ เมื่อพันรอบโครงตะกร้า ให้ดึงพอตึงมือ แล้วถักโซ่ให้ติดกัน เพื่อเริ่มต่อลายที่ต้องการ

3. การถักลาย  ลายที่ทำช่วงนี้ มีลายเม็ดมะยม  ลายกล้วยหอม  ลายหอย  และจะมีตามมาอีกหลายแบบ  แต่ละแบบจะใช้เวลาพอสมควรกว่าจะชำนาญ  ขึ้นอยู่กับทักษะและความชำนาญของแต่ละบุคคล

5. ถักชั้นล่างของตะกร้า (ตีนตะกร้า)  ลายแล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน  เพื่อเพิ่มความสวยงาม  และเพื่อให้เกิดความแตกต่างจากชิ้นงานที่วางขายกันในตลาดทั่วไป

ข้อพึงระวัง ->

การถักแต่ละชิ้นงาน ถ้ายังไม่มีความชำนาญ ผู้ฝึกต้องหมั่นถามเพื่อทำให้ถูกต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน  เพื่อให้เกิดความชำนาญและเพิ่มมาตรฐานและมูลค่าของชิ้นงาน

- วิธีแก้ปัญหาเมื่อเกิดความผิดพลาด

เมื่อถักผิด หรือข้ามขั้นตอน จะต้องลื้อชิ้นงาน  และเริ่มทำใหม่ เพื่อให้สมาชิกได้ลำดับขั้นตอน ในการผลิต เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อเป็นมาตรฐานของชิ้นงานต่อไป

 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา