ความรู้สัมมาชีพชุมชน

จักสานเชือกมัดฟาง...

โดย : นางสมบูรณ์ พัฒน์เจริญ วันที่ : 2017-04-05-11:29:09

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 79 หมู่ที่ 8 ตำบลหัวไผ่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จะเห็นได้ว่าหัตถกรรมเครื่องจักสานมีมานานแล้วและได้มีการพัฒนามาตลอดเวลาโดยอาศัยการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง  การดำรงชีวิตประจำวันของชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้เอาการรู้หนังสือมาเกี่ยวข้อง  การเรียนรู้ต่างๆ  อาศัยวิธีการฝึกหัดและบอกเล่าซึ่งไม่เป็นระบบในการบันทึก สะท้อนให้เห็นการเรียนรู้ ความรู้ที่สะสมที่สืบทอดกันมาจากอดีตมาถึงปัจจุบัน

 

วัตถุประสงค์ ->

1. เป็ยรายได้เสริม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เชือกมัดฟางเบอร์ 6

2. โครงเหล็ก 
3. กรรไกร 
4. เหล็กแหลมใช้ขยายรูเวลาสอดเชือก
 

 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑. เริ่มแรกนำเชือก ๑ เส้นมาตีให้แตกแล้วนำมาพันรอบโครงเหล็กตะกร้าให้มิดทั้งใบ

๒. ขึ้นขอบของโครงเหล็กให้รอบทั้งก้นและปากของตะกร้า โดยการสานหรือผูกเชือกมัดฟางแบบผูกไขว้ สลับซ้ายและขวา

๓. ร้อยเชือกสานก้นตะกร้า โดยใช้เชือกสอด ๑ ช่อง เว้น ๑ ช่อง แล้วเอาเชือกสองเส้นคู่หรือสี่เส้น นำมาผูกกันหรือสานให้เต็มส่วนก้นตะกร้าเป็นลายขัด

๔. ร้อยเชือกถักขึ้นลายขอบ การถักลวดลาย คือการขึ้นลายของขอบตะกร้าโดยใช้เชือกมัดฟาง ใส่หนึ่งเส้น เว้น ๑ ช่อง จะเป็นหนึ่งตัวของสี่เส้น แล้วนำมาผูกหรือสานให้เป็นลายดอก แล้วจะขึ้นลวดลายตามแบบลายที่ต้องการ ถักจนเต็มถึงก้นตะกร้าแล้วมัดติดกับส่วนล่างของก้นตะกร้า และตัดเชือกด้วยไฟแช็คเพื่อไม่ให้เชือกลุ่ย ทำการถักสานจนเสร็จทั้งใบ

๕. ร้อยเชือกถักหูตะกร้า โดยถักเชือกในส่วนของด้านข้างหูจับตะกร้าจะถักเป็นลายเกลียว วิธีคือเริ่มถักจากด้านใดด้านหนึ่งก่อนแล้วลายจะหมุนเป็นลายเกลียว ส่วนด้านบนของตัวจับตะกร้า จะถักสลับซ้ายขวา จะได้เป็นสันบริเวณขอบหูและนำเชือกมาถักบริเวณด้านบนของหูจับ เป็นลายสันปลาช่อน เป็นการเสร็จขั้นตอน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา