ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเพาะเห็ดฟาง

โดย : นางขวัญจิตร คุ้มวงษ์ วันที่ : 2017-04-01-14:37:10

ที่อยู่ : 30/1 ม.1 ต.ต้นโพธิ์ อ.เมืองสิงห์บุรี จ.สิงห์บุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในอดีตการทำนาโยชาวนาจะใช้แรงงานคน และแรงงานจากสัตว์เท่านั้น ทุก ๆ บ้านจะต้องมีคอกวัวหรือคอกควาย ในตอนเช้าจะเอาวัวและควายออกคอกเพื่อไปไถนา หรือเทียมเกวียนบรรทุกของ หรือเป็นพาหนะในการคมนาคม และเอาออกไปกินหญ้า ตอนเย็นจะเอากลับเข้าคอก และจะสุมไฟให้เพื่อไล่ยุงและแมลงต่าง ๆ ผลพลอยได้จากการเลี้ยงสัตว์ ก็จะได้มูลวัวควายมาทำปุ๋ยใส่ในนาข้าว โดยไม่ต้องซื้อหาปุ๋ยเคมี ประหยัดเงินและดินก็อุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันการทำนาใช้เครื่องมือเครื่องจักรเป็นส่วนใหญ่ ใช้รถแทรกเตอร์ไถนาแทนวัว ควาย ใช้รถเกี่ยวข้าวและนวดเป็นเม็ดข้าวเปลือกเลย ไม่ต้องใช้แรงงานจากคนลงแขกเกี่ยวข้าว ตากข้าว มัดข้าว นวดข้าว และขนข้าวขึ้นยุ้งฉาง แต่ปัญหาที่เกิดตามมา คือ ข้าวมีความชื้นสูง ราคาตกต่ำโดนหักค่าความชื้น ต้นทุนสู ที่ดินเป็นกรดเสื่อมโทรม เกิดมลภาวะ ขายข้าวเปลือกให้โรงสี ซื้อข้าวสารมาบริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเผาฟางข้าว ในบรรดาเห็ดเศรษฐกิจที่เพาะกันโดยทั่วไป เห็นฟางเป็นเห็ดที่เพาะมากที่สุดในประเทศและมีการบริโภคภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เห็ดฟางเป็นเห็ดที่เพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี มีอายุการเพาะสั้นประมาณ 10-15 วัน วัสดุที่นำมาเพาะเห็ดฟางมีหลากหลาย เช่น เปลือกถั่วเขียว, ทะลายปาล์มน้ำมัน, มันเส้น, ผักตบชวา, ต้นกล้วยสับแห้ง, ขี้เลื่อย, ฟางข้าวและตอซังข้าวการเพาะเห็ดฟางมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากเหมือนกับการเพาะเห็นอื่น ๆ ไม่ต้องมีการนึ่งฆ่าเชื้อในวัสดุเพาะ

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อศึกษาการเพาะเห็ดนางฟ้า และสามารถนำผลผลิตที่ได้ไปจำหน่าย

2.เพื่อศึกษาลักษณะของโครงสร้าง และส่วนประกอบของเห็ดนางฟ้า

3.สามารถบอกประโยชน์ของการทำโครงงานครั้งนี้ได้

4.สามารถนำความรู้ที่ได้มาไปประกอบอาชีพได้จริงในชีวิตประจำวัน

5.เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและวิธีการต่างๆให้แก่ผู้ที่สนใจในการเพาะเห็ดนางฟ้าได้

6.สามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการเรียนบูรณาการรวมกับวิชาอื่นๆได้

7.สามารถอธิบายโครงงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. วัสดุเพาะหลัก ได้แก่ ฟางข้าว, ตอซังข้าว, เปลือกถั่วเขียว, ขี้เลื่อยเก่าที่เพาะเห็ดถุงมาแล้ว

2. หัวเชื้อเห็ดฟาง

3. อาหารเสริม ได้แก่ ต้นกล้วยสับแห้ง, ผักตบชวา, ปุ๋ยคอกเก่าผสมกับดินร่วนในอัตรา 1:10

โดปริมาตร และรำละเอียด

             4. พลาสติกใส

             5. แบบพิมพ์ รูปสี่เหลี่ยมคางหมู่ ขนาด 40*40*110-120 เซนติเมตร

อุปกรณ์ ->

1. มูลสัตว์ หรือปุ๋ยคอก จำนวน 150 กิโลกรัม

2. รำละเอียด จำนวน 20 กิโลกรัม

3. อาหารหมักสำหรับเห็ดถุงสีแดง  จำนวน 3 กิโลกรัม

4. ยิปซั่ม จำนวน 2 กิโลกรัม

5. ถุงเงิน จำนวน 2 กิโลกรัม

6. ขี้กุ้ง จำนวน 2 กิโลกรัม

7. ปูนหอยสำหรับเห็ด จำนวน 2 กิโลกรัม

8. ปูนขาว จำนวน 2 กิโลกรัม

9. บีไลต์ จำนวน 2 กิโลกรัม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

             เตรียมพื้นที่เพาะเห็ด โดยพื้นดินมีความชื้นหมาด ๆ และแช่ฟางข้าว, ตอซังข้าวหรือวัสดุที่ใช้เพาะทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน รวมทั้งอาหารเสริมให้เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งที่สามารถจัดเตรียมได้ ส่วนหัวเชื้อเห็ดฟางแต่ละถุง ให้ขยี้หัวเชื้อกระจากออกจากกันและแบ่งเป็น 4 ส่วน เท่า ๆ กัน เพื่อใส่ลงในแต่ละชั้นของกองฟาง หัวเชื้อ 1 ถุงใช้ได้ 1 กอง จากนั้นให้วางแบบพิมพ์ในพื้นที่เพาะเห็ดตามยาวตามตะวัน

              1. นำฟางที่แช่ไว้ขึ้นจากน้ำมาใส่ในแบบพิมพ์ กดด้วยมือให้แน่นสูงจากพื้นประมาณ 10 เซนติเมตร โดรอาหารเสริมลงบนวัสดุเพาะรอบ ๆ ทั้ง 4 ด้าน จากนั้นใช้หัวเชื้อที่เตรียมไว้โรยรอบทั้ง 4 ด้าน เช่นเดียวกัน ก็เสร็จในชั้นที่หนึ่ง

              2. เมื่อทำชั้นแรกเสร็จ ก็นำฟางใส่ลงในแบบพิมพ์สูงจากชั้นแรกอีก 10 เซนติเมตร ใส่อาหารเสริมและหัวเชื้อเหมือนกับชั้นแรกครบ 4 ชั้นต่อกอง ก็ถือว่าเสร็จในกองที่ 1

              3. ทำการยกแบบพิมพ์ออกจากกองฟาง และวางแบบพิมพ์ให้ห่างจากกองแรกประมาณ 15 เซนติเมตร และให้ดำเนินเพาะเหมือนกองแรก

              4. เมื่อเพาะเห็ดฟางได้ 5-10 กองแล้ว ก็จะนำพลาสติกใสมาคลุมกองฟางเพื่อป้องกันความชื้นและเพิ่มอุณหภูมิภายในกองให้สูงขึ้น โดยใช้ชายพลาสติกคลุมเหลื่อมกันบนสักองและให้ชายโดยรอบห่างจากของข้างด้านละ 15-20 เซนติเมตร และทำการพลางแสงโดยรอบกองฟางด้วยฟางข้าวอีกครั้งหนึ่ง ในห้าร้อนทิ้งไว้ 8-10 วัน ในหน้าหนาวทิ้งไว้ 15-20 วัน เห็ดฟางจะออกดอกและเก็บผลผลิตได้

              5. การเก็บผลผลิตดอกเห็ด ให้เลือกเก็บดอกเห็ดที่ตูมเต็มที่ จะได้คุณภาพดีที่สุด การเพาะเห็ดฟางในหนึ่งรุ่นจะเก็บผลผลิตได้ต่อเนื่องเป็นเวลา 3 วัน ก็จะเก็บเกี่ยวได้หมด โดยเฉลี่ยผลผลิตต่อกองได้ประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม ให้บรรจุดอกเห็ดในภาชนะที่โปร่ง เช่น ตะกร้า หรือ เข่ง ไม่ควรบรรจุเห็ดในถุงพลาสติก เพราะจะทำให้ดอกเห็ดบานเร็วขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

ศัตรูของเห็ดฟางเช่น แมลง เช่น มด ปลวก ไรเห็ด วิธีแก้ไขโดยใช้สารเคมีพวก เซฟวินโรยรอบๆ กอง ห่างประมาณ 1 ศอกอย่าโรยในกองทำประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนเริ่มกองเห็ดและควรจะโรยสารเคมีนี้ประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนที่จะเริ่มกองเห็ดแต่อย่าโรยภายในกอง เพราะจะมีผลต่อการ ออกดอก ทั้งยังมีสารพิษตกค้างในดอกเห็ดซึ่งเกิดอันตรายต่อผู้กิน 2. เห็ดคู่แข่ง คือเห็ดที่เราไม่ได้เพาะแต่ขึ้นมาด้วย หรือเชื้อโรค อื่นๆ ที่เป็นศัตรูของเห็ดฟาง เช่น พวกราต่าง ๆวิธีแก้คือการเก็บ ฟางไม่ควรให้ถูกฝน และถ้ามีราขึ้นให้หยิบฟางขยุ้มนั้นทิ้งให้ไกลกองเพาะ ข้อแนะนำเพิ่มเติม

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา