ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ตีมีด

โดย : นางสนิท เปียสงวน วันที่ : 2017-03-30-15:28:28

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ …5/2…หมู่ที่ ……7……..ตำบล ……บางระจัน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ได้รับการฝึกฝนจากบรรพบุรุษ  และทำเป็นอาชีพสืบต่อกันมา  ตีมีดให้สวยงามถูกใจลูกค้า  และยังสามารถตี เป็นจอบ  เสียม  คลาด  ดาบและอื่น ๆ ตามความต้องการของลูกค้า

วัตถุประสงค์ ->

เป็นอาชีพเสริม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมการ ในการเตรียมการตีมีดหรือทำมีดนั้น มีปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ คือ
     1.เตรียมคน ต้องใช้คน 3-4 คนขึ้นไป โดยเฉพาะการตีมีดในขั้นตอนที่ 1 ( การหลาบ ) ต้องใช้คนที่มีพละกำลัง ร่างกายแข็งแกร่ง ตลอดจนต้องมีความสามัคคีและมีประสบการณ์มาก 
     2. เตรียมอุปกรณ์  เป็นอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ สำหรับช่างตีมีดโดยเฉพาะ เช่น ทั่ง ค้อน พะเนิน คีม สูบลม เตาเผาเหล็ก ตะไบ เหล็กขูด เหล็กไช รางน้ำชุบมีด เขื่อนตัดเหล็ก ขอไฟ หินหยาบ-ละเอียด ทั่งขอ เถาวัลย์เปรียง หลักสี่ (ปากกา) กบ และเลื่อย เป็นต้น 
     3. เตรียมวัตถุดิบ วัสดุที่สำคัญในการตีมีดเป็นอันดับแรกได้แก่ เหล็กกล้า อันดับต่อไป คือ ถ่านไม้ไผ่ ซึ่งเป็นถ่านที่มีประสิทธิภาพสูงในการเผาเหล็ก ต่างจากถ่านจากไม้ทั่ว ๆ ไป และอันดับสุดท้ายคือ ไม้ที่ใช้ทำด้ามมีด  

การดำเนินการผลิต มีดอรัญญิก จะมีขั้นตอนในการทำโดยสรุป 10 ขั้นตอน ดังนี้
     ขั้นตอนที่ 1 ตัดเหล็กให้ได้ขนาดตามความต้องการ เผาไฟให้แดงแล้วนำออกมาจากเตาให้คนสามคนใช้พะเนินตีจนได้รูปหุ่น หรือกูน ( ชาวบ้านเรียกว่าการ “ หลาบ” เหล็ก ) 

   

     ขั้นตอนที่ 2 เมื่อได้หุ่นหรือกูนมีดแล้ว นำเอาเข้าเตาเผาไฟอีกครั้งหนึ่ง แล้วใช้คน คนเดียวตีด้วยค้อนเพื่อขึ้นรูปมีดให้ได้ตามความต้องการ (ชาวบ้านเรียกว่าการ “ซ้ำ” ) 

 

     ขั้นตอนที่ 3 เมื่อซ้ำได้รูปมีดแล้ว ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วใช้ค้อนตีจนเนื้อเหล็กเรียบเป็นมันเพื่อให้เนื้อเหล็กเหนียวแน่น คมบาง ตัวมีดตรง (ชาวบ้านเรียกว่าการ “ ลำเรียบ หรือ ไห่” )

 

     ขั้นตอนที่ 4 เมื่อไห่ได้รูปมีดพอสมควรแล้ว นำมาแต่งด้วยตะไบ เพื่อให้ได้รูปเล่มสวยงามขึ้น (เรียกว่าการ “แต่ง” ) 
     ขั้นตอนที่ 5 เมื่อแต่งด้วยตะไบได้รูปแล้ว นำมาขูดคมให้บางโดยใช้เหล็กขูด เพื่อทำให้ตัวมีดขาวและบาง (เรียกว่าการ “ขูด” ) 

 

     ขั้นตอนที่ 6 เมื่อขูดได้คมบางพอสมควรแล้ว ใช้ตะไบหยาบและตะไบละเอียดโสกตามตัวมีด เพื่อให้ตัวมีดขาวเรียบร้อย และคมจะบางยิ่งขึ้น (เรียกว่าการ “ โสก” ) 
     ขั้นตอนที่ 7 เมื่อโสกเรียบร้อยแล้วนำมาพานคม โดยใช้ตะไบละเอียดพานขวางของคมมีดเพื่อให้คมมีดบางเฉียบ (เรียกว่าการ “ พานคมมีด” ) 
     ขั้นตอนที่ 8 เมื่อพานคมแล้วก็นามาชุบ “การชุบ” เป็นเรื่องสำคัญมาก ช่างต้องมีความชำนาญเป็นพิเศษ โดยนำมีดเข้าเผาไฟในเตาจนร้อนแดงตามความต้องการ แล้วชุบกับน้ำคมของมีดจะกล้าแข็งไม่อ่อนและไม่บิ่น 
     ขั้นตอนที่ 9 เมื่อชุบแล้วนำมาฝนหรือลับ โดยใช้หินหยาบและหินละเอียดให้คมได้ที่ สมัยนี้ใช้หินกากเพชร (เรียกว่าการ “ลับคม” ) 
     ขั้นตอนที่ 10 เมื่อฝนหรือลับคมได้ที่แล้วจึงนำมาเข้าด้ามมีด แล้วใช้น้ำมันทาตัวมีดเพื่อกันสนิม เป็นเสร็จสิ้นขั้นตอนการทำมีด 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา