ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การปลูกชะอม และการขยายพันธุ์ชะอม

โดย : นางสุมลทา อิ่มสำราญ วันที่ : 2017-03-30-09:35:05

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 53 หมู่ที่ 5 ตำบลโพทะเล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ชะอมเป็นพืชริมรั้วของคนไทยในท้องถิ่นชุมชน ชนบทมาช้านานแล้วใช้ปลูกเป็นรั้วกันเขตพื้นที่ของเกษตร  ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูกเป็นแปลงเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้รายประจำ  เป็นพื้นที่หลายไร่  มีการจัดแบ่งแปลงปลูกเพื่อจัดการเก็บผลผลิตยอดชะอม  ได้ทุกวันหรือทุกสองวันหรือทุกสัปดาห์ทำให้เกษตรมีรายได้เป็นรายวันหรือรายสัปดาห์  เป็นการสร้างอาชีพ  สร้างรายได้ของเกษตรกรได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน  ชะอมเป็นพืชที่ปลูกได้ทั่วไป ยกเว้นที่เค็มจัดหรือเป็นกรดจัด ชะอมเป็นอาหารยอดนิยมที่คนไทยรู้จักดีและมีการนำยอดอ่อนชะอมไปประกอบอาหาร บริโภคในครัวเรือนคนไทยได้หลากหลายชนิด เช่นชะอมทอดไข่ แกงส้มชะอมไข่ทอด  ยอดชะอมลวกจิ้ม น้ำพริก  ชะอมยำ   เป็นต้น    

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อไว้บริโภคในครัวเรือน

2.เป็นรายได้เสริม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ชะอม มี  2  ชนิด  ได้แก่   ชนิดมีหนาม   และไร้หนาม

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการปลูกชะอม การปลูกชะอมปลูกไม่ยากเลย  ถ้าใช้กิ่งตอนเกษตรกรจะนิยมยกร่องแล้วขุดหลุมปลูกบนร่อง ทั้งนี้เพราะป้องกันน้ำท่วมขังทำให้รากชะอมเน่าตายได้  โดยทั่วไปเกษตรก็จะปลูกห่างกันต้นละประมาณ     30-50เซนติเมตร    โดยการปลูกเป็นแถวเป็นแนวหรือปลูกเป็นแปลงระยะห่างของแถวประมาณ 1 เมตร    แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ จะนิยมปลูกแบบแถวคู่  ระยะห่างของแถว  1 เมตร แต่ถ้าปลูกริมรั้วบางครั้งก็ใช้แถวคู่ ระยะห่างระหว่างแถวและระหว่างต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร 

  

การดูแลและการเก็บยอดชะอม     เมื่อปลูกชะอมได้ประมาณสัก 3 เดือนรดน้ำวันเว้นวันต้นชะอมชอบชื้นแต่ไม่ชอบแฉะเพราะจะทำให้รากเน่าตายได้ ชะอมก็จะเริ่มแตกยอดอ่อนมาให้เก็บไปขายหรือใช้บริโภคได้แล้วและเมื่อเก็บยอดชะอมไปขาย ชะอมก็จะแตกยอดใหม่มาเรื่อย ๆ เราควรมีการดูแลรักษาต้นชะอมโดยการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหลังจากปลูกชะอมได้ 2-3 เดือน จะทำให้ต้นชะอมแข็งแรงและเจริญเติบโตได้ดี  การกระตุ้นการแตกยอดอ่อนของชะอม เกษตรกรจะใช้ปุ๋ยยูเรีย เพื่อกระตุ้นการแตกยอดใหม่ของชะอม แต่ควรใช้ในอัตราที่น้อยและต้องใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักด้วยจะทำให้ดินดีมีความอุดมสมบูรณ์มาก ต้นชะอมจะเจริญเติบโตดีด้วย การกระตุ้นการแตกยอดอ่อนของชะอม อีกวิธีหนึ่งก็คือใช้น้ำหมักชีวภาพ ที่หมักจากยอดอ่อนของพืชชนิดต่าง ๆ ปริมาณการใช้อัตราส่วนน้ำหมัก 1 ลิตร ต่อน้ำ 40 ลิตร รดทุก 7 วัน ชะอมจะแตกยอดอ่อนได้ดีและช่วยให้ต้นแข็งแรงดีด้วย  แต่ก็ควรใส่ปุ๋ยหมักในดินให้กับต้นชะอมด้วยจะดีมากจากการปลูกชะอมโดยวิธีธรรมชาตินี้เกษตรกรทำกันมานานแล้ว เป็นอย่างนี้สืบต่อเรื่อยมา           

การขยายพันธุ์ชะอมมี  3  วิชี  ได้แก่  การเพาะเมล็ด   การปักชำ  และการตอน   แต่วิธีที่นิยมกันโดยทั่วไป  คือ  การตอน

การเตรียมวัสดุที่สำคัญ  ประกอบด้วย

1.      ขุยมะพร้าว

2.      เชือกปอแก้ว

3.      ถุงขนาด  2.5 X 4  นิ้ว

4.      มีดควั่น

5.      กรรไกรแต่งกิ่ง

 

วิธีการตอนชะอม

การตอนกิ่ง คือ การทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ จะทำให้ได้ต้นพืชใหม่ ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์ เหมือนกับต้นแม่ทุกประการ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. เลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลง
2. ควั่นกิ่ง ลอกเอาเปลือกออก แล้วขูดเยื่อเจริญที่เป็นเมือกลื่น ๆ ออก
3. นำตุ้มตอน (ขุยมะพร้าวที่แช่น้ำ แล้วบีบหมาด ๆ อัดลงในถุงพลาสติก ผูกปากถุงให้แน่น) มาผ่าตามความยาวแล้วนำไปหุ้มบนรอยแผลของกิ่งตอน มัดด้วยเชือกทั้งบนและล่างรอยแผล
4. เมื่อกิ่งตอนมีรากงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มแก่เป็นสีเหลือง สีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอจึงตัดกิ่งตอนได้
5. นำกิ่งตอนไปชำในภาชนะ กระถางหรือถุงพลาสติก เพื่อรอการปลูกต่อไป

              

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา