ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การสานสุ่มไก่

โดย : นายประจิน เอี่ยมสะอาด วันที่ : 2017-03-30-09:36:57

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 32 หมู่ที่ 4 ตำบลโพทะเล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมาของการสานสุ่มในหมู่บ้านหลังจากฤดูการทำนา ชาวบ้านไม่มีงานทำ ประกอบกับมีชาวบ้าน จำนวนมากที่ชื่นชอบและนิยมกีฬาชนไก่  จึงมีการเลี้ยงไก่ชนเป็นจํานวนมาก และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเลี้ยงดูไก่ชนอย่างใกล้ชิด  คือ สุ่มไก่  ซึ่งสุ่มไก่สานได้ง่ายมีราคาถูกและใช้ประโยชน์ได้ดีการสานสุ่มไก่นี้สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านานสืบทอดมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษจึงได้มีการสานสุ่มสืบต่อกันมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน และในหมู่บ้านก็หาคนที่จะมาสานสุ่มไก่มีน้อยมาก ส่วนมากก็จะเป็นคนแก่ที่อยู่กับบ้าน และส่วนใหญ่ ก็เสียชีวิตกันไปแล้ว และในการสานสุ่มไก่ขายก็เป็นการใช้วัสดุธรรมชาติที่มีอยู่มากมายในหมู่บ้านให้เกิดประโยชน์ และยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ อีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.     ไม้ไผ่ที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไปอายุประมาณ2ปี

อุปกรณ์ ->

1. เลื่อยคันธนู ใช้เลื่อยตัดข้อปลายลำไผ่ และเลื่อยตัดปากสุ่มเมื่อสานสุ่มไก่ เสร็จแล้ว
2. มีดพร้า ใช้ผ่าลำไผ่และเหลาจักตอกไผ่เพื่อแยกส่วนในและส่วนผิวของไผ่ ซึ่งส่วนผิวที่ใช้งานจะมีความเหนียว ง่ายต่อการจักสาน
3. ค้อน ใช้ตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดส่วนหัวสุ่มไก่เมื่อสานขึ้นรูป

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การจักตอกไผ่
1.1 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดข้อปล้องแรกของไผ่ทิ้งเพื่อให้ผ่าลำไผ่ได้สะดวก
การใช้เลื่อยคันธนูตัดไม้ไผ่
1.2 ผ่าลำไผ่ออกมาเป็นเส้น ๆ
การใช้มีดพร้าผ่าไม้ไผ่ออกมาเป็นเส้นๆ
1.3จักตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน (ส่วนข้อไผ่ที่ มีตาไผ่)ความกว้างและความยาว

ของตอกแต่ละแบบโดยประมาณ คือ ตอกยืน ยาว 150 – 200 ซม. กว้าง1.5–2.5 ซม. ตอกยาว

ยาว ประมาน 8 ม. กว้าง 1 - 2 ซม.และตอกไผ่ตีน 1.6–2.0 ซม. ซึ่งไผ่หนึ่งลำเหลาจักตอกได้ ตอก

ยืนที่ใช้สานสุ่มไก่ได้ 1 ใบ และตอกยาวสานสุ่มไก่ได้ 2 ใบ
2.การสานสุ่มไก่
2.1 ใช้ตอกยาว สานเป็นวงหัว
2.2 นำ วงหัว มาสานกับตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัดการใช้ตอกยืนกับวงหัว สานเป็นลายขัด
2.3 ใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ สุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งข้ามหนึ่ง) โดยจุดเริ่มต้นของตอกยาว
แต่ละเส้นเปลี่ยน ตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สุ่มไก่ได้รูปทรงกลมการนำลายขัดที่สานแล้ว มาสาน

กับตอกยาวเพื่อขึ้นรูป
2.4 สานตีนสุ่มไก่ โดยใช้ตอกไผ่ตีนประมาณ 2- 5 เส้นการสานตีนสุ่ม ทำให้ฐานสุ่มไก่แข็งแรง
ใช้ค้อนทุบ เพื่อให้ตีนสุ่มแน่นขึ้น
2.5 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยหรือใช้ขวานตัดส่วนตอกยืนที่ยื่นยาวออกมาตรงตีนสุ่มไก่ทิ้งไป เพื่อมีฐานที่

เท่ากัน
2.6 นำสุ่มไก่ที่สานเสร็จแล้วมาลนไฟเพื่อที่ทำให้ เศษเสี้ยวหนามของไม้ไผ่หายไป และทำให้สุ่มไก่

ทนทานและมีอายุการใช้งานมากขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา