ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปุ๋ยหมักชีวภาพ

โดย : นายถนอม จันโลมา วันที่ : 2017-03-24-16:21:54

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 23 หมูที่ 13 ตำบล เชิงกลัด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หมักชีวภาพหรือน้ำสกัดชีวภาพปัจจุบันได้มีการเรียกชื่อน้ำหมักชีวภาพที่แตกต่างกันออกไป     เช่น น้ำสกัดชีวภาพ ปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์ เป็นต้น และผู้คิดค้นวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพขึ้นมาขณะนี้ไม่ต่ำกว่า 100 สูตร โดยเกษตรกรเองได้ทดลองทำ และเรียนรู้นำไปใช้กับพืชผลของตนเอง ก็ได้พบความมหัศจรรย์ของเจ้าน้ำหมักชีวภาพตัวนี้ ว่าสามารถดลบันดาลให้พืชผลของตนเองเจริญเติบโตงอกงามขึ้นอย่างรวดเร็ว ในระยะเวลามิช้ามินาน ศัตรูพืชที่เคยเข้ามารบกวนพืชผลต่าง ๆ หลังจากปลูกไม่ว่าจะเป็นโรคแมลงค่อย ๆ ลดน้อยถอยลงไปเป็นลำดับ หลังจากที่ได้ใช้น้ำหมักชีวภาพนี้แล้ว จึงแสดงให้เห็นว่าน้ำหมักชีวภาพมีความสำคัญ และความจำเป็นต่อการทำเกษตรอินทรีย์อย่างแท้จริง.

วัตถุประสงค์ ->

1.ใช้ในการปลูกพืชผักไว้บริโภคในครัวเรือน

2. เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กัครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

            1. เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า

            2. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง

            3. ถังสำหรับหมัก

            4. มีด

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

       1. นำวัตถุดิบมาสับ บด โขลก หรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ

      2. บรรจุลงในภาชนะ

      3. เติมกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง และส่วนผสมอื่น ๆ ลงไป ตามอัตราส่วน

      4. คนหรือคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะ หมักไว้ 7-15 วัน

      5. ครอบตามกำหนดปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพจะมีกลิ่นหอม

      6. สำหรับปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพถั่วเหลือง และปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพปลาสดหรือหอยเซลรี่ ควรหมักอย่างน้อย 1 เดือน จึงนำไปใช้ได้ และระหว่างหมักให้หมั่นคนส่วนผสมทุกวัน

 

 

 

      7. หากมีกลิ่นเหม็นหรือบูดเน่าให้เติมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย แล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้ 3-7 วัน กลิ่นเหม็นหรือกลิ่นบูดเน่าจะหายไป

      8. การแยกกากและน้ำชีวภาพ โดยใช้ถุงอาหารสัตว์ ถุงปุ๋ยเคมี หรือมุ้งเขียว รองรับกากและน้ำชีวภาพจะไหลลงภาชนะที่เตรียมไว้ และกากที่เหลือนำไปคลุมโคนพืช หรือคลุมแปลงต่อไปได้อีก

ข้อพึงระวัง ->

ห้ามใช้เศษอาหารที่บูดเน่า

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา