ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำเกษตรแบบผสมผสาน

โดย : นายสมบุญ จามากูล วันที่ : 2017-03-13-09:20:45

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๓๐ หมู่ ๕ ตำบล เขาดินพัฒนา อำเภอ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมา

นายสมบุญ จามากูล อายุ ๖๗ ปี เกษตรกรผู้มีวิถีชีวิตแบบพอเพียง เริ่มทำการเกษตรตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ โดยมีพื้นที่ ๑๑ ไร่ ๒ งาน ปลูกทุกอย่างที่กินได้ ขายได้ เช่น การปลูกพืชผักสวนครัว ข้าวโพด มะละกอ ชะอม และ      ไผ่เลี้ยง นอกจากนั้นยังขุดสระน้ำ เพื่อเลี้ยงปลา และกักเก็บน้ำไว้ใช้ทำการเกษตรในช่วงที่ขาดแคลนน้ำ โดยมีการทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารโต๊ะจีน และการทำน้ำส้มควันไม้จากไม้สะเดา/ไม้ยูคา เพื่อใช้ในการบำรุงพืชผลทางการเกษตร และช่วยลดรายจ่าย คุณลุงเล่าว่า “ทุกวันจะเก็บพืชผลทางการเกษตร และเขียนบันทึกไว้ที่กระดานข้างผนัง” ซึ่งเป็นความภูมิใจในอาชีพที่สามารถดูแลครอบครัวได้ และอีกหนึ่งสิ่งความภาคภูมิใจ คือ มีคนมาศึกษาดูงานเกี่ยวกับการทำเกษตรจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเกษตรกรจากอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี   

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวัง ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ

น้ำส้มควันไม้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เช่น เป็นสารปรับปรุงดิน สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสารเร่งการเติบโตของพืชบริเวณส่วนราก ลำต้น หัว ใบ และดอกผลของพืชบางชนิด การใช้น้ำส้มควันไม้ราด   ในดินปลูกพืช จะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชและควบคุมโรคพืชที่มีสามเหตุมาจากไส้เดือนฝอย เชื้อรา นอกจากนั้นน้ำส้มควันไม้ยังมีคุณสมบัติเป็นฮอร์โมนพืช และในบางกรณีเป็นตัวยับยั้งการเจริญเติบโตส่วนต่างๆ ของพืช เมื่อใช้น้ำส้มควันไม้ในอัตราส่วนที่มากน้อยต่างกันไป น้ำส้มควันไม้จะมีพิษต่อพืชสูง เมื่อราดลงดินในปริมาณมากหรือนำไปใช้กับพืชโดยไม่ผสมน้ำให้เจือจางจะเกิดผลเสีย เช่นกัน

ขั้นตอนการทำนำส้มควันไม้

ขั้นตอนที่ ๑ : นำท่อนไม้สะเดาหรือไม้ยูคามาเรียงซ้อนโดยไม้ที่มีขนาดเล็กไว้ด้านล่างของเตา ขนาดใหญ่ไว้ด้านบน โดยวางทับไม้หมอนยาวประมาณ 30 – 40 เซนติเมตร การเรียงไม้นี้มีความสำคัญมากเนื่องจากอุณหภูมิในเตา ขณะเผาถ่านไม่เท่ากัน โดยอุณหภูมิด้านล่างเตาจะต่ำ ส่วนอุณหภูมิที่อยู่ด้านบนเตาจะสูงกว่า

ขั้นตอนที่ ๒ : เริ่มจุดไฟเตา บริเวณที่อยู่หน้าเตา ใส่เชื้อเพลิงให้ความร้อนกระจายเข้าสู่เตาเพื่อไล่อากาศเย็นและความชื้นที่อยู่ในเตาและในเนื้อไม้ควันที่ออกมาจากปล่องควันจะเป็นสีขาว ควันจะมีกลิ่นเหม็นซึ่งเป็นกลิ่นของกรดที่อยู่ในเนื้อไม้

ขั้นตอนที่ ๓ : เมื่อไม้กลายเป็นถ่าน เผาไปอีกระยะหนึ่ง ควันสีขาวจะเริ่มบางลง และเปลี่ยนเป็นสีเทา ในช่วงนี้ค่อย ๆ หยุดการป้อนเชื้อเพลิง และเริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้ได้ โดยช่วงที่เหมาะสมกับการเก็บน้ำส้มควันไม้ควรมีอุณหภูมิบริเวณปากปล่องควัน ประมาณ 85 – 120 องศาเซลเซียส เนื่องจากเป็นช่วงที่สารในเนื้อไม้ถูกขับออกมา จากนั้นควันก็เปลี่ยนจากควันสีเทาเป็นสีน้ำเงิน จึงหยุดเก็บน้ำส้มควันไม้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา