ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

โดย : นางชวนชม แตงอ่อน วันที่ : 2017-03-21-10:40:33

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๘๑ หมู่ที่ ๖ ตำบล โคกใหญ่ อำเภอ บ้านหมอ จังหวัดสระบุรี รหัสไปรษณีย์ ๑๘๑๓๐

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

(๑) เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพตามโครงการอบรมสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน จึงจัดทำบันทึกความรู้สัมมาชีพชุมชนเพื่อเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจ

 (๒) เพื่อเป็นบันทึกสานต่อภูมิปัญญาไปสู่รุ่นลูก/หลาน

วัตถุประสงค์ ->

(๑) เพื่อเป็นต้องการปรับปรุงบำรุงดิน

(๒) เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

(๑) ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ประมาณ 10 ปี๊ป

(๒)  แกลบเผา/แกลบดำ 1 ส่วน

(๓)  รำละเอียด 1 ส่วน

(๔)  เชื้อ EM 20 ซีซี

(๕)  กากน้ำตาล 100 ซีซี

(๖)  น้ำ 10 ลิตร

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการทำปุ๋ยหมักแบบทั่วไป
          – เริ่มด้วยการนำเอาเศษพืช และมูลสัตว์ผสมกันในอัตราส่วน 100 : 10 กองเป็นชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเศษพืชที่รดน้ำให้ชุ่มจนอิ่มน้ำ และโรยทับด้วยมูลสัตว์
          – ขั้นตอนการกองปุ๋ยหมัก แยกวัสดุที่ไม่ย่อยสลาย และเป็นอันตรายออก แล้วนำวัสดุหรือเศษพืชที่เก็บรวบรวมได้มากองบนดินในคอก หรือในหลุมโดยกองเป็นชั้นสลับกันไปโดย เริ่มจากชั้นล่างสุดกองเศษพืชหรือวัสดุลงไปตามขนาดกว้างยาวของกองที่กำหนดไว้สูงประมาณ 25 เซนติเมตร
          – รดน้ำให้ชุ่ม แล้วอัดให้แน่น ให้น้ำซึมเข้าไปในเศษพืชหรือวัสดุ
          – โรยทับด้วยสารเร่ง เช่น ปุ๋ย มูลสัตว์ หรือดินในอัตราส่วนโดยน้ำหนักเศษพืชต่อมูลสัตว์ เท่ากับ 5 : 1
          – ในกรณีที่ใช้ปุ๋ยเคมีเสริม เพื่อลดอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนหรือต้องการลดระยะเวลาการผลิตต้องใช้เศษพืช : ปุ๋ยคอก :ปุ๋ยเคมี ในอัตราส่วน 100 : 20 : 1 ตามลำดับ โดยจะผสมหรือโรยทับบนชั้นกองปุ๋ยหมักก็ได้
          – ทำการเรียงสลับจนได้กองสูงประมาณ 1 เมตร แล้วโรยด้วยดินหนาประมาณ 1 นิ้ว ที่ชั้นบนสุด เพื่อป้องกันนกมาคุ้ยเขี่ย ช่วยป้องกันความร้อน และรักษาความชื้นของกองปุ๋ยให้คงที่
          – สำหรับการหมักแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมี อายุการหมักจะหมักนาน 5-7 เดือน แต่หากใส่ปุ๋ยเคมีร่วมด้วยจะหมักนาน 3-5 เดือน

 

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา