ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงปลาดุกในกระชัง

โดย : นายอัศนัย ผาสุดโอด วันที่ : 2017-03-20-16:30:56

ที่อยู่ : บ้านเลขที่......8.. หมู่ที่....5... ตำบล....โคกสะอาด....อำเภอ..หนองแซง... จังหวัดสระบุรี รหัสไปรษณีย์....๑๘๑๗๐..

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากสภาพภูมิประเทศพื้นที่ของบ้านหนองกระธาตุ ตำบลโคกสะอาด อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี  ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ และมีแหล่งน้ำเพียงพอ ซึ่งเหมาะสำหรับการเลี้ยงปลาอย่างมาก เลี้ยงปลาดุกในกระชัง จึงมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ชาวบ้านมีปลาไว้บริโภคและจำหน่ายตลอดจนนำมาแปรูปเก็บไว้บริโภคในช่วงฤดูขาดแคลน และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

(๑).เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับผู้สนใจ.สามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมได้

(2) เพื่อให้ชาบ้านได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ แก่การพัฒนาตนเอง ครอบครัวและสังคม

(3) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดอาชีพที่สร้างรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

(๑) อาหารเม็ด ตามช่วงอายุ 

(๒) อาหารพืชสด

(๓) ปูนขาว

span lang=TH style='font-size:18.0pt; line-height:115%;font-family:"TH SarabunIT๙","sans-serif"'>(3) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดอาชีพที่สร้างรายได้

อุปกรณ์ ->

(๑). กระชังปลา

(๒) ไม่ไผ่ สำหรับทำโครงสร้างกระชัง

(๓).ตาข่ายปิดปากกระชัง  

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

(1) อัตราปล่อยปลาดุกลูกผสม (บิ๊กอุย) ปล่อยในอัตประมาณ 40 - 100 ตัว/ตรม. อัตราปล่อยเลี้ยงประมาณ 50 ตัว/ตรม. และเพื่อป้องกันโรคซื่งอาจจะติดมากับลูกปลา ่ในวันที่ปล่อยลูกปลาไม่จำเป็นต้องให้อาหารควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น

(2) การให้อาหาร เมื่อปล่อยลูกปลาดุกผสมลงแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลาดุก ควรให้อาหารผสมคลุกน้ำปั้นเป็นก้อนให้ลูกปลากิน โดยให้กินวันละ 2 ครั้ง หว่านให้กินทั่วบ่อโดยเฉพาะในบริเวณขอบบ่อ อาหารที่ลดต้นทุน เช่น อาหารผสมบดจากส่วนผสมต่างๆเช่น กระดูกไก่ ไส้ไก่ เศษขนมปัง เศษเส้นหมี่ เศษเลือดหมู เลือดไก่ เศษเกี้ยว หรือเศษอาหารว่างๆเท่าที่สามารถหาได้นำมาบดรวมกินแล้วผสมให้ปลากินแต่การให้อาหารประเภทนี้จะต้องระวัง เรื่องคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงให้ดี

(3) การถ่ายเท น้ำเมื่อตอนเริ่มเลี้ยงใหม่ๆระดับความลึกของน้ำในบ่อควรมีค่าประมาณ 30 - 40 ซม. เมื่อลูกปลาเจริญเติบโตขึ้นในเดือนแรกจึงเพิ่มระดับน้ำสูงเป็นประมาณ 50 -60 ซม. หลังจากย่างเข้าเดือนที่สองควรเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น 10 ชม./อาทิตย์ จนระดับน้ำในบ่อมีความลึก 1.20 - 1.50 เมตร การถ่ายเทน้ำควรเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงผ่านไปประมาณ 1

(4) การป้องกันโรค สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้โดยต้องหมั่นสังเกตว่าเมือปลาหยุดกินอาหารจะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะปลาดุกลูกผสมมีนิสัยชอบกินอาหารที่ให้ใหม่ โดยถึงแม้จะกินอิ่มแล้วถ้าให้อาหารใหม่อีกก็จะคายหรือสำรอกอาหารเก่าทิ้งแล้วกินอาหารให้ใหม่อีกซึ่งปริมาณอาหาร ที่ให้ไม่ควรเกิน 4 - 5 % ของน้ำหนักตัวปลา

ข้อพึงระวัง ->

(1) คุณภาพของน้ำต้องดี

 (2) เป็นแหล่งที่มีกระแสน้ำไหลผ่านสะดวก

 (4) ในบริเวณที่ใช้เลี้ยงปลาในกระชังควรปราศจากศัตรูธรรมชาติ

 

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา