ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ตัดเย็บเสื้อผ้าและกระเป๋าผ้า

โดย : นางสาวจ๊ะ แคยิหวา วันที่ : 2017-04-21-10:04:11

ที่อยู่ : กลุ่มตัดเย็บบ้านบ่อหิน ม.3 ต.เขาขาว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้ามีทั้งการตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยมือ จักรเย็บผ้าและการใช้จัรอุตสาหกรรมเข็มเดี่ยวฝีเข้มตรง สิ่งที่สำคัยอย่างมากในการประกอบอาชีพนี้คืออุปกรณ์

เครื่องใช้ที่ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าทุกคนจะต้องเรียนรู้เรื่องอื่นๆทงานตัดเย้บเสื้อผ้านั้นต้องการความเที่ยงตรงเป็นหลัก เครื่องมือเครื่องใช้ที่ถูกต้อง เที่ยงตรงจะช่วยให้ผู้ปฎิบัติงานเกิดนิสัยที่ละเอียดถี่ถ้วน

วัตถุประสงค์ ->

ผลที่ได้รับจากการวางแผนปฏิบัติงานตัดเย็บ

1. ทำให้ทราบบทบาทของการทำงานล่วงหน้า

2. ทำให้งานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จสำเร็จราบรื่น

3. ทำให้การตัดเย็บเป็นไปอย่างมีระบบและเป็นแบบแผน

4. ทำให้ผู้เย็บมีความมั่นใจ และสารมารถทำงานเสร็จตามเวลาที่กำหนดเป็นการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ผ้า

กระดุม

ที่เขียนแบบ

เข็ม

ด้าย

จักร

อุปกรณ์ ->

ชื่ออุปกรณ์

ลักษณะและคุณสมบัติ

วิธีใช้

อุปกรณ์ที่ใช้วัด

1.  สายวัดตัว

เป็นผ้าอาบน้ำยาเคมีกันยืด มีหน่วยวัด  2  ด้านคือ เป็นนิ้ว  และเป็นเซนติเมตร  ปลายทั้งสองหุ้มด้วยโลหะ

ใช้วัดตัวเพื่อทราบขนาดสัดส่วนและสร้างแบบ

2.  ไม้บรรทัด

ทั้งชนิดสั้นและยาวมีความยาวอย่างต่ำ 12  นิ้ว  ทำด้วยพลาสติกเพราะสามารถโค้งงอได้ตอนปลายมีรูสำหรับแขน

ใช้ขีดเส้นเมื่อสร้างแบบ

3.  ไม้ฉาก

มีทั้งแบบพลาสติกและไม้ มีความยาว  8  นิ้วขึ้นไป  มีหน่วยวัดเหมือนกับไม้บรรทัด

ใช้ทำมุมที่ต้องการให้เป็นมุมฉาก

4.  ไม้โค้งสะโพก

มีทั้งแบบไม้และพลาสติก มีหน่วยวัดเป็นนิ้วและเซนติเมตร

ใช้สร้างแบบที่ต้องการเป็นส่วนโค้ง

อุปกรณ์ที่ใช้ตัด

5.  กรรไกร

มี 2  ชนิดคือกรรไกรตัดผ้าและกรรไกรตัดกระดาษ  ควรเลือกที่มีความยาวไม่ต่ำกว่า  8  นิ้ว

ควรเลือกใช้ให้เหมาะกับงานไม่ควรเอากรรไกรตัดผ้าไปตัดกระดาษ

6.  ที่เลาะผ้า

มีด้ามเป็นไม้หรือพลาสติก ตรงปลายที่เลาะทำด้วยโลหะเคลือบไม่เป็นสนิม  ควรมีปลอกสวมป้องกันอันตราย

ใช้เลาะตะเข็บผ้าที่ไม่ต้องการ หรือใช้เลาะด้ายเนา

อุปกรณ์ที่ใช้ทำ

เครื่องหมาย

7.  ลูกกลิ้ง

ลักษณะปลายแหลมคมสม่ำเสมอ ทำด้วยเหล็กไม่เป็นสนิม ส่วนด้ามทำด้วยไม้หรือพลาสติก

ใช้กลิ้งทับเส้นแบบเพื่อให้เกิดรอย หรือใช้กดรอยลงบนกระดาษ หรือผ้าเพื่อทำเครื่องหมาย

8.  ดินสอ

มีทั้งชนิดดินสอดำและดินสอสี ควรเลือกที่ไส้ไม่อ่อนหรือแข็งเกินไป

ใช้ขีดเส้นหรือทำเครื่องหมายบนกระดาษสร้างแบบ

9.  ยางลบ

เลือกชนิดที่ใช้ลบดินสอและมีลักษณะอ่อน ลบง่าย

ใช้ลบเส้นดินสอ

  1. 10. กระดาษกดรอย

มีหลายสี เลือกสีที่ใกล้เคียงกับผ้า หรือสีอ่อนกว่า

ใช้ลอกแบบลงบนผ้าและใช้ร่วมกับลูกกลิ้ง

  1. 11. ชอล์กเขียนผ้า

เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสีผ้าก่อนใช้ควรเหลาให้สันชอล์กบาง

ใช้เขียนหรือทำเครื่องหมายลงบนผ้า

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเย็บ

12.  เข็มมือ

มีหลายขนาดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม ขนาดเล็กสุด เบอร์ 10 ,11  ขนาดกลางเบอร์ 8  และขนาดใหญ่ เบอร์  8

เข็มสอยใช้เบอร์เล็ก คือเบอร์ 10 ,11

เข็มเนาใช้เบอร์ 8 , 9

เข็มถักรังกระดุม ใช้เบอร์ 10

  1. 13. เข็มจักร

มีหลายชนิด เลือกใช้ให้เหมาะกับผ้า ขนาดเล็ดสุด เบอร์ 9 ,11  ขนาดกลางเบอร์ 13 ,14  และขนาดใหญ่ เบอร์  16 , 18

เบอร์ 9 , 11 ใช้เย็บผ้าเนื้อบาง

เบอร์ 13 ,14 เย็บผ้าไม่หนามากเกินไป

เบอร์ 16 , 18 ใช้เย็บผ้าเนื้อหนา

  1. 14. เข็มหมุด

มีหลายขนาด เลือกใช้ให้เหมาะกับเนื้อผ้า มีปลายแหลมคมไม่เป็นสนิม  หัวหุ้มด้วยพลาสติก

ใช้กลัดผ้าให้ติดกันเพื่อสะดวกในการสอยหรือเนา

  1. 15. ด้ายเย็บผ้า

มีหลายชนิดหลายสี และหลายขนาด ควรเลือกให้เหมาะกับผ้าและเข็ม และงานที่ทำ

ใช้เย็บผ้าทั่วไป คือเบอร์ 60

16.  หมอนเข็ม

ทำด้วยผ้าขนสัตว์ หรือกำมะหยี่ ส่วนไส้ในใช้ผม ขนสัตว์ หรือกากกาแฟผสมเศษเทียนไขเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสนิม

ใช้ปักและเก็บเข็มชนิดต่างๆเช่นเข็มหมุด เข็มสอย และเข็มอื่นๆ

17.  ปลอกนิ้ว

เลือกใช้ชนิดที่ทำด้วยเหล็กไม่เป็นสนิม

ใช้สวมนิ้วกลางขณะเย็บด้วยมือเพื่อป้องกันไม่ให้เข็มตำมือ

อุปกรณ์ที่ใช้รีด

18.  เตารีด

มีสองชนิดคือ เตารีดธรรมดา และเตารีดไอน้ำ  มีหลายขนาด

ใช้รีดผ้าให้เรียบก่อนตัด และรีดตะเข็บเวลาเย็บทุกๆ ตะเข็บ

19.  ที่รองรีด

มีทั้งแบบยืนรีดและนั่งรีด และแบบใช้ผ้าหนาๆ วางบนโต๊ะสำหรับรีด

ใช้รองรีดผ้า ในขณะรีดไม่ควรวางเตารีดบนผ้ารองรีดนานๆ

20.  หมอนรองรีด

มีหลายแบบ เช่นแบบรี แบบยาว และแบบกลม

ใช้สำหรับรองรีดส่วนโค้งส่วนเว้า จะทำให้ส่วนโค้งส่วนเว้าได้รูปทรงสวยงาม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ดยขั้นแรกหลังจากที่เราตัดผ้าลำตัวด้านหน้า 1 ชิ้น, ลำตัวด้านหลัง 1 ชิ้น, แขน 2 ชิ้นและชิ้นคอ 1 ชิ้นแล้ว

ขั้นที่ 1 คือการเย็บบริเวณไหล่ทั้ง 2 ด้าน, โดยให้ด้านหน้าผ้ากระกบติดกัน

ขั้นที่ 2 นั้นคือการเย็บชิ้นคอ

บางท่านก็เย็บคอเตรียมไว้ก่อน อันนี้แล้วแต่ถนัด หากเป็นงานภาคอุตสาหกรรมที่แข่งกับเวลาจริงๆ ก็ต้องเตรียมชิ้นคอไว้ให้เรียบร้อยเสียก่อนเพื่อความรวมเร็วในการทำงาน ส่วนเรื่องของวัสดุว่าจะใช้อะไรทำชิ้นคอนั้นก็ว่ากันไปตามลักษณะงานว่าจะใช้ผ้าในตัวหรือใช้ซก (ผ้าที่เป็นยืดๆ) ก็ดีกันไปคนละแบบ

ขั้นที่ 3 : กดเย็บคิ้วรอบคอเพื่อความเรียบร้อยและความคงทน โดยขั้นตอนนี้นั้นบางร้านก็ทำ บางร้านก็ไม่ได้ทำซึ่งก็แล้วแต่จุดประสงค์

ขั้นตอนที่ 4 : การเย็บลาลูกโซ่บริเวณคอ ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็แล้วแต่ร้าน เพราะหากต้องการลดต้นทุนก็จะไม่ทำ แต่ส่วนใหญ่ก็ทำเพื่อความสวยงามและเรียบร้อยของงานเย็บ

ขั้นตอนที่ 5 : การเย็บแขนเสื้อทั้ง 2 ข้างติดกับลำตัว

ขั้นตอนที่ 6 : เย็บโพ้งไล่ลงมาตั้งแต่ปลายแขนเสื้อผ่านตะเข็บด้านข้างลงมาจนสุดลำตัว ด้วยจักรโพ้ง

ขั้นตอนที่ 7 : กลับมาที่จักรลาอีกครั้งเพื่อลาชายเสื้อก็เป็นอันจบขั้นตอนการเย็บเสื้อยืดแบบคร่าวๆ

ข้อพึงระวัง ->

ข้อควรปฏิบัติในการใช้และเก็บรักษาอุปกรณ์การตัดเย็บ

1. ใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับหน้าที่

2. ไม่ควรวางเตารีดบนผ้าหรือกระดาษ

3. ดูแลและระวังไม่ให้กรรไกร ไม้ฉาก และเตารีดตกลงบนพื้น

4. ไม่รีดผ้าบนจักรเย็บผ้า

5. กรรไกรตัดผ้าควรลับให้คมอยู่เสมอ ไม่ควรนำไปตัดสิ่งอื่น

6. ทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกครั้ง หลังจากใช้งานเสร็จ

7. เก็บรักษาอุปกรณ์ให้เป็นที่ เพื่อให้หยิบง่าย หายรู้  ดูงามตา

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสตูล
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา