ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลาดุก

โดย : นายสุพรรณ ไพรบึง วันที่ : 2017-04-01-05:34:37

ที่อยู่ : หมู่ 1 ไพรบึง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

หากคุณอยากมีรายได้เสริม เพิ่มเติมจากรายได้หลักและมีการลงทุนไม่สูงมาก หรืออยากทำอาชีพเสริมแต่ไม่มีต้นทุนมากพอ และพอมีพื้นที่อยู่บ้างเล็กน้อยในบริเวณบ้าน เราขอแนะนำอาชีพอิสระที่น่าสนใจ คือการเลี้ยงปลาดุกในบ่อวงปูน ซึ่งเป็นอาชีพที่ลงทุนด้วยเงินลงทุนไม่มากนัก แต่รายได้ดีเนื่องจากปลาดุกตลาดรับซื้อค่อนข้างกว้าง ขายได้แน่ๆ หรือคุณจะเลี้ยงเพื่อไว้บริโภคภายในครอบครัวของคุณก็ได้ลดภาระค่าใช้จ่ายภายในบ้าน ทำบัญชีครัวเรือนได้ไม่ขัดสน โดยปลาดุกบิ๊กอุย เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายเจริญเติบโตเร็ว ปลาชนิดนี้สามารถนำมาเลี้ยงได้ทั้งในบ่อปูนซีเมนต์ บ่อพลาสติก หรือบ่อดิน อีกทั้งยังมีภูมิต้านทานต่อโรคค่อนข้างสูง ปลาดุกอุย หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “ปลาดุกบิ๊กอุย” เป็นปลาที่มีการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลาดุกรัสเซียกับปลาดุกอุย โดยใช้ปลาดุกรัสเซียเพศเมีย และปลาดุกอุยเพศผู้ลูกปลาจะมีลักษณะใกล้เคียงกับปลาดุกอุยมาก คืออัตราการเจริญเติบโตสูง และมีความทนทานต่อโรคสูง เกษตรกรนิยมเลี้ยงกันมาก และมีการบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีรสชาติดี ราคาถูก และเป็นการสร้างรายได้ ลดรายจ่ายตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย อาหารสำหรับเลี้ยงปลาดุก ต้องแล้วแต่ขนาดของตัวปลา โดยปกติแล้วจะมีรายละเอียดการให้อาหารดังนี้ ถ้าเป็นปลาขนาดเล็ก (2-3 เซนติเมตร) ควรเป็นอาหารเม็ด ผสมข้าวสุก คลุกกับน้ำแล้วปั้นให้เป็นก้อนๆ ถ้าปลาโตแล้วจนมีความยาว 15 เซนติเมตร ขึ้นไป จะใช้อาหารเม็ด, รำละเอียด, เศษผัก หรือเศษอาหาร ใช้อัตราส่วน 2 : 4 : 4 หรือใครจะใช้เป็นอาหารเม็ดเพียงอย่างเดียวก็ได้ แต่ต้นทุนมันจะสูงกว่า อาหารผสมแบบนี้ ถ้าลูกปลามีขนาด 10 ตัว ต่อกิโลกรัม คุณก็หาผักตบชวา หรือผักบุ้งใส่ลงไปในปูนวงที่เลี้ยงปลาดุก แล้วก็ค่อยลดปริมาณอาหารสำเร็จรูปลงเรื่อยๆ เมื่อปลาหิวจัดๆ มันก็จะกินผักตบชวา หรือผักบุ้งเป็นอาหาร ในช่วงเย็น เราก็ให้อาหารเม็ดกินเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอแล้ว สำหรับปลาดุก 1 ปูนวง และในหนึ่งบ่อเราจะใช้ผักตบชวาประมาณ 4 กอ ต่อ 7 วัน ซึ่งปลาจะกัดกินบริเวณใบและยอดอ่อนจนหมด เหลือไว้เพียงลำต้นแก่ๆ เท่านั้น

จำนวนในการเลี้ยงปลาดุก ควรเลี้ยง 70 ตัว / หนึ่งปูนวงนะ จะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำ 5 วัน ต่อครั้ง และในแต่ละครั้งจะเปิดน้ำที่เลี้ยงปลาออกทิ้งจนหมด จากนั้นก็ดูดน้ำใหม่มาใส่ทันที วงปูนที่เราใช้เลี้ยงปลานั้น จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร และสูง 50 เซนติเมตร ส่วนพื้นบ่อปูน วงก็ทำพื้นปูนปิด และต่อท่อพลาสติกเพื่อใช้ในการถ่านน้ำออก ในการเลี้ยงปลาดุกตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในบ่อปูนวงนี้ จะใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 3 เดือนกว่าๆ คุณจะได้ปลาดุกขนาด 4 ตัวต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นขนาดที่ตลาดต้องการ ราคาขายของปลาดุกในขณะนี้ตกกิโลละ 40 – 45 บาท เทคนิคและวิธีการเลี้ยงปลาดุก ขนาดปลาที่จะนำมาเลี้ยง ปลาที่เริ่มเลี้ยงยาวตั้งแต่ 1.5 นิ้วขึ้นไปไม่ควรนำปลามาเลี้ยงในฤดูหนาวเพราะปลามีความต้านทานต่อโรคต่ำ อัตราการเลี้ยงปล่อยลูกปลาในอัตรา 50 – 70 ตัว/ตารางเมตร การปล่อยปลาแช่ถุงลูกปลาไว้ในบ่อเลี้ยง 30 นาที จึงค่อยๆ ปล่อยลงบ่อ ช่วงแรกที่ปล่อยให้เติมน้ำลงบ่อมีความสูงประมาณ 10 ซม.แล้วค่อยเพิ่มระดับน้ำขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกๆ อาทิตย์จนมีระดับสูงสุด 30-50 ซม. การถ่ายเทน้ำ ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำเมื่อน้ำเริ่มเสีย ไม่ควรถ่ายน้ำออกหมด เหลือน้ำเก่าไว้ 2/3 เปลี่ยนถ่ายน้ำหลังให้อาหารแล้วไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง น้ำที่ถ่ายออกสามารถนำไปรดพืชผักได้ การให้อาหารปลาดุก การให้อาหารปลา การเลี้ยงปลา 1 รุ่น ใช้เวลา 3 เดือน อาหารเสริม (ไส้ไก่ ไก่บด) ให้อาหารสำเร็จรูปโปรตีน 2 กระสอบ โดยให้วันละ 2.5 กก./1 มื้อ/ 1,000 ตัว ให้อาหารเม็ดเล็กและบุบพอแตกสำหรับปลาเล็ก อาหารสดพวกเศษเนื้อ สับให้ปลากินได้ ตัวปลวก แมลงเม่า และแมลงอื่น ๆ โปรยให้ปลากิน ให้อาหารเป็นเวลาวันละ 2 มื้อ เช้า – เย็น โรคปลาดุกและการป้องกัน การเกิดโรคของปลาดุกที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหาคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุของการให้อาหารมากเกินไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้โดยต้องหมั่นสังเกตว่าเมือปลาหยุดกินอาหารจะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะปลาดุกลูกผสมมีนิสัยชอบกินอาหารที่ให้ใหม่ โดยถึงแม้จะกินอิ่มแล้วถ้าให้อาหารใหม่อีกก็จะคายหรือสำรอกอาหารเก่าทิ้งแล้วกินอาหารให้ใหม่อีกซึ่งปริมาณอาหาร ที่ให้ไม่ควรเกิน 4 – 5 % ของน้ำหนักตัวปลา หากมีอาหารเหลือให้ช้อนทิ้ง วิธีป้องกันและกำจัดโรคปลาดุก ควรใช้ EM ขยาย จำนวน 2 ลิตร/สัปดาห์ ซื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าเป็นปลาแข็งแรง และปราศจากโรค หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว อย่าให้อาหารจนเหลือ หรือมากเกินไป

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา