ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ผักอินทรีย์

โดย : นายสยัน พิมูลชาติ วันที่ : 2017-04-01-01:52:20

ที่อยู่ : หมู่ 5 ต.ไพรบึง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เกษตรอินทรีย์ หมายถึง ระบบการผลิตทางการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ใดๆที่อาจจะเกิดการปนเปื้อนต่อทรัพยากรดิน น้ำ และสิ่งมีชีวิต รวมถึงสุขภาพของมนุษย์ ด้วยการสร้างสมดุลของทรัพยากรให้เป็นไปตามธรรมชาติ และร่วมจัดการให้เกิดความยั่งยืนต่อทรัพยากร และผลผลิตนั้นๆ

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทำเกษตรอินทรีย์ในระบบปลูกพืช
1. ดิน และปุ๋ย
– เน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่หาได้ง่าย ได้แก่ ปุ๋ยคอก ทั้งจากมูลโค มูลกระบือ มูลไก่ รวมถึง ปุ๋ยหมักจากพืช แกลบ แกลบดำ ขี้เลื่อย เป็นต้น
– ใช้วัสดุอินทรีย์ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเป็นปุ๋ยสด เช่น เศษพืชหลังการเก็บเกี่ยว เศษใบไม้ เป็นต้น
– เน้นการใช้ปุ๋ยพืชสด โดยเฉพาะการปลูกพืชตระกูลถั่วต่างๆ เช่น ปอเทือง
– ใช้หินแร่เป็นแหล่งเสริมธาตุอาหาร และปรับปรุงดิน อาทิ แร่ยิปซัม หินฟอสเฟต เปลือกหอยเผา และปูนขาว เป็นต้น
– หลีกเลี่ยงการเผาตอซัง และวัสดุอินทรีย์ ซึ่งอาจทำให้จุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตในดินตายได้ รวมถึงจะเป็นการเร่งการเสื่อมสภาพของดินให้เร็วขึ้น
– ปลูกพืชคลุมดินรอบๆแปลงเกษตร เพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน และการไหลออกของดินสู่พื้นที่อื่น
– ไถพรวนดิน 1-2 ครั้งต่อรอบการผลิต ไม่ควรไถมากกว่านี้ เพราะอาจเร่งการชะล้างปุ๋ยออกนอกพื้นที่ได้
2. น้ำ
– จัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอ ทั้งน้ำจากโครงการชลประทาน และน้ำจากบ่อที่ขุดเอง
– หลีกเลี่ยงการใช้น้ำที่มาจากแหล่งชุมชน หรือแหล่งอุตสาหกรรมมารดพืชในแปลงเกษตร ซึ่งอาจทำให้พืชผักเกิดปนเปื้อนสารเคมีได้
3. อากาศ
สำหรับการปลูกพืชผักมักไม่ค่อยพบปัญหาทางด้านมลพิษนัก แต่จะพบมากบริเวณพื้นที่รอบชุมชนเมือง ชุมชนอุตสาหกรรม ดังนั้น โอกาสที่พืชจะปนเปื้อนสารเคมีจึงเป็นไปได้สูง แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้ใช้แนวทางดังนี้
– การปลูกไม้ยืนต้นล้อมรอบแปลงเกษตร เพื่อเป็นเกาะกำบังฝุ่นหรือสารพิษ
– สร้างโรงเรือนระบบปิดเพื่อใช้สำหรับปลูกพืช
นอกจากปัญหาในเรื่องมลพิษทางอากาศแล้ว การส่งเสริมเพื่อเพิ่มผลผลิตที่เกี่ยวข้องในด้านอื่น ได้แก่
– การจัดแนวปลูกในทิศขวางตะวัน
– การจัดแนวปลูกในทิศตามลม
– การปลูกพืชอื่นล้อมรอบ เพื่อให้ความชื้น และรักษาความชื้นของอากาศรอบแปลงเกษตร
4. พืช และโรค/แมลง
– หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช กำจัดศัตรูพืชทุกชนิด
– เน้นการใช้สารสกัดหรือน้ำต้มจากสมุนไพร อาทิ สะเดา ดาวเรือง บอระเพ็ด ตะไคร้หอม เป็นต้น สำหรับฉีดพ่นป้องกันโรค และแมลงต่างๆ
– ปล่อย และส่งเสริมการเพิ่มจำนวนของตัวห้ำ ตัวเบียนเพื่อช่วยในการควบคุมแมลงศัตรูพืช เช่น นก แตน ต่อ และแมลงปอ เป็นต้น
– ใช้เชื้อราในการฉีดพ่นเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืช อาทิ เชื้อราเบอร์บิวเรีย เป็นต้น
5. ผลผลิต
– หลีกเลี่ยงการฉีดหรือพ่นรมควันด้วยสารเคมี สำหรับป้องกันด้วงแมลงในเมล็ดธัญพืช แต่เน้นในเรื่องการจัดการแทน อาทิ การเก็บในโรงเรือนปิด การจัดสร้างโรงเรือนที่ถ่ายเทอากาศได้ดี เป็นต้น
– หลีกเลี่ยงการใช้สารฟอกขาว
– หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเร่งการสุกของผลไม้
– หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเคลือบผิวผักผลไม้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา