ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน

โดย : นายสมิง ทองบาง วันที่ : 2017-03-30-20:43:26

ที่อยู่ : 89 ม. 5 ตำบลละลม อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเลี้ยงปลา ถือเป็นอาชีพที่สำคัญไม่แพ้อาชีพการปลูกปลูกพืชต่างๆ โดยเฉพาะเกษตรกรที่อาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำลำคลองหรือพื้นที่ที่น้ำชลประทานเข้าถึง รวมถึงพื้นที่นาต่างๆ ที่มีบ่อกักเก็บน้ำตามฤดูกาล ซึ่งสามารถสร้างรายได้อย่างมากต่อปี นอกจากนั้น การเลี้ยงปลาถือเป็นการสร้างแหล่งอาหารสำหรับการบริโภคในแต่ละวันที่นอกเหนือจากการนำไปจำหน่าย

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อสร้างอาชีพ

2.เพื่อสร้างรายได้สู่ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ลูกปลา  2.อาหารปลา

อุปกรณ์ ->

1.บ่อปลา

2.ผ้าเขียวล้อม

3.สวิง

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมบ่อ

ควรให้พื้นที่บ่อมีโอกาสได้รับแสงแดดและออกซิเจน  ซึ่งเป็นการกำจัดปริมาณเชื้อโรคต่างๆในบ่อปลาให้น้อยลงและปล่อยให้อินทรียสารที่หมักหมม อยู่ในบ่อมีการย่อยสลายตัว

บ่อดินขุดใหม่

ต้องมีการวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน(ค่าpH)

บ่อดินเก่า

ควรมีการระบายน้ำออกก่อน  โดยเฉพาะบริเวณก้นบ่อ  ปรับปรุงบ่อส่วนที่ชำรุด

ขั้นตอนในการลำเลียงลูกปลา  ปฏิบัติดังนี้

1.ควรให้ลูกปลาอดอาหารอย่างน้อย 24 ชม.  เพื่อให้อาหารที่มีอยู่ในกระเพาะได้ถูกใช้หมดก่อนที่จะถูกลำเลียง  ในระยะที่ถูกขังให้อดอาหารนี้จะสังเกตได้ว่าปลาจะถ่ายออกมาเป็นจำนวนมาก

2.ควรคัดเลือกปลาขนาดเดียวกัน  เพราะปลาที่อดอาหารมานั้นอาจแสดงอาการดุร้าย  ทำร้ายตัวที่เล็กกว่า  อาจถึงขั้นรุมกัดกินปลาที่ตัวเล็กกว่าเป็นอาหารไปเลย

3.นำลูกปลาลงถุงลำเลียง  โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

     ในระยะห่างเท่าๆกันจะสามารถบรรจุปลาตัวเล็กมาก  อุณหภูมิของอากาศ  หรือน้ำที่ต่ำกว่า  บรรจุปริมาณลูกปลาขนาดเดียวกันได้มากกว่า

 

การปล่อยปลาลงเลี้ยง

เวลาที่เหมาะสำหรับการปล่อยปลาคือเวลาเช้าหรือเวลาเย็น  ถ้าเป็นเวลาที่อากาศร้อนจัด  ควรเอามือตีกวนน้ำในบ่อที่ปลาจะอยู่ใหม่เพื่อให้ความร้อนของผิวหน้าน้ำไม่ต่างจากระดับลึก

ข้อพึงระวัง ->

การดูแลน้ำในบ่อเลื้ยงปลา

บ่อที่เลี้ยงปลาที่กินอาหารไม่เลือก  กินพืชและกินแพลงตอน  ควรเติมน้ำให้ได้ระดับ 1-2.50 เมตรอยู่เสมอ หากมีปลาตัวใดที่กินอาหารได้น้อยลงหรือลอยหัวควรจะถ่ายน้ำ   เปลี่ยนน้ำอย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง  อาจสามารถสังเกตได้จากสีของน้ำและการลอยหัวของปลา

การระบายน้ำของบ่อควรระบายส่วนล่างของก้นบ่อซึ่งจะเป็นส่วนที่เน่าเสียมากกว่าบนผิวน้ำ  ในกรณีที่บ่อปลาไม่สามารถระบายน้ำได้เลยจะต้องระมัดระวังในการให้อาหารในปริมาณที่พอเหมาะ  น้ำจะได้ไม่เน่าเสียเร็ว  บางครั้งเราอาจสามารถใส่เกลือแกงลงไปเพื่อช่วยปรับสภาพของน้ำ  ในอัตราส่วนประมาณ200-300  กก./ไร่

 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา