ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เกษตรอินทรีย์

โดย : นายคาร พากเพียร วันที่ : 2017-03-29-10:15:05

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 38 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองไฮ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเกษตรปัจจุบันสามารถปรับเปลี่ยนการเป็นเกษตรอินทรีย์ได้โดยเริ่มต้นศึกษาความรู้จากมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ที่ถูกกำหนดขึ้น เพื่อการปฏิบัติ โดยศึกษาความรู้จากธรรมชาติ เมื่อเริ่มปฏิบัติตามนี้แล้วก็นับได้ว่าก้าวเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ ในระยะปรับเปลี่ยน เมื่อปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ไม่นานก็จะเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ ทั้งนี้ ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับ ประเภทเกษตรอินทรีย์ที่จะผลิต ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้ว ข้อสำคัญนั้น อยู่ที่การทำความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ให้ท่องแท้ มีความตั้งใจจริง มีความขยันหมั่นเพียรไม่ท้อถอยต่อปัญหา หรืออุปสรรคใดๆ มีความสุขในการปฏิบัติก็จะบรรลุวัตถุประสงค์ และประสบความสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้ เพราะเกษตรอินทรีย์เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้จริง เมื่อเป็นเกษตรอินทรีย์แล้วสามารถขอเอกสารรับรอง มาตรฐานจากภาครัฐ หรือเอกชน จึงจะนับว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ที่สมบูรณ์ เป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน

วัตถุประสงค์ ->

2.       

1.      เพื่อน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีพระราชดำริในเรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติใช้จริง

2.      เพื่อความยั่งยืน มั่นคง แบบพอเพียงของชีวิตและครอบครัว

3.      เพื่อลดการใช้สารเคมี

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 

1.      เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ เพื่อทำนาปลูกข้าว

2.      เมล็ดพันธุ์พืชผัก ผลไม้ เช่น ผักบุ้ง ผักกาด  ผักคะน้า  กระเพรา  โหระพา  สะระแหน่ พริก ขิง ข่า ตะไคร้ มะกรูด มะนาว มะพร้าว มะม่วง มะละกอ ฯลฯ

3.      ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

อุปกรณ์ ->

 

1.      เครื่องสูบน้ำ

2.      ไฟฟ้าเพื่อการเกษตร

3.      เครื่องพ่นปุ๋ย

4.      ถังน้ำ

ฯลฯ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เน้นการใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และ ปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงให้มี

ความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง  รวมถึงการนำเอา

ภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคและไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอีกด้วย (กรมวิชาการเกษตร) ผักไร้สารจากสารพิษ คือ ผักที่มีระบบการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นสารเคมีเพื่อป้องกันเพื่อปราบศัตรูพืชหรือปุ๋ยเคมีทุกชนิด แต่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมด และผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วต้องไม่มีสารพิษใดๆทั้งสิ้น ผักปลอดภัยจากสารพิษ คือผักที่มีระบบการผลิตที่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโตผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารพิษตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ตามประกาศกระทรวงสาธารณะสุข ฉบับที่163 พ.ศ. 2538 ผักอนามัย คือผักที่มีระบบการผลิตที่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโตผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และมีความสะอาดผ่านกรรมวิธีการปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ตลอดจนการขนส่ง และการบรรจุหีบห่อ ได้คุณสมบัติมาตรฐาน

ข้อพึงระวัง ->

หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เช่น ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา