ความรู้สัมมาชีพชุมชน

สมุนไพรพื้นบ้าน

โดย : นายสาลี พวงพินิจ วันที่ : 2017-03-29-09:59:05

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองไฮ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สมุนไพร พืชที่ใช้ทำเป็นยารักษาโรค โดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของพืชชนิดเดียวหรือหลายชนิดพร้อมกัน พืชสมุนไพรเป็นกลุ่มพืชที่อยู่ในความสนใจด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านมากที่สุด ปัจจุบันได้มีการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในชนบทที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษที่ได้สังเกตว่าพืชใดนำมาใช้บำบัดโรคได้ สรรพคุณอย่างไรจากการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ เช่นสมุนไพรที่ใช้แก้ไข้และขัยปัสสาวะ  แก้ท้องเสีย เป็นยาระบายและขับพยาธิ เป็นยาขับลม แก้โรคผิวหนัง ยาฆ่าแมลงและไล่แมลง แก้พืชมีพิษ และสัตว์มีพิษ ฯลฯ  สมุนไพร คือ ของขวัญที่ธรรมชาติมอบให้กับมวลมนุษยชาติ คนไทยไม่เพียงแต่ใช้ สมุนไพรเป็นยารักษาโรคเท่านั้น แต่นํามาดัดแปลงเพื่อบริโภคในรูปของอาหารและเครื่องดื่ม สมุนไพรบํารุงสุขภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยนั้นมีรากฐานมานานนับร้อยนับพันปี อารย ธรรมต่างๆ ที่ถือเป็นเอกลักษณ์ในการแสดงถึงเผ่าพันธุ์และความเป็นผู้เจริญแล้ว สิ่งหนึ่งที่แสดง ออกมาได้เป็นอย่างดีก็คือ ศิลปะที่ผสมผสานและผูกพันอยู่ในการใช้ชีวิตประจําวันของคนไทย นั่นเอง ศิลปะเหล่านี้รวมไปถึงการกินด้วยอาทิ เช่น การตั้งสําหรับและการประกอบจัดอาหาร ก็ไม่ เพียงเพื่อความอร่อยลิ้นอย่างวิเศษเพียงประการเดียว ยังมีความสวยงามในการจัดแต่งเป็น องค์ประกอบของอาหารให้งามตายิ่งขึ้นไปอีก จึงไม่น่าแปลกเลยที่อาหารและเครื่องดื่มของไทย นั้นจะแฝงไว้ด้วยเจตนารมณ์ให้ ผู้บริโภคได้ซึมซับทั้งรสชาติและคุณประโยชน์ไปพร้อมๆ กัน

 

วัตถุประสงค์ ->

2.       

1.      เพื่อดูแลสุขภาพ และบำบัดโรคโดยใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชน

2.      เพื่อลดการใช้สารเคมี

3.      เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

4.เพื่อรักษาคุณภาพและประโยชน์ของสมุนไพร โดยปกติแล้วคุณภาพของผลิตภัณฑ์ สมุนไพร มีความผกผันกับเวลา กล่าวคือ คุณภาพของผลิตภัณฑ์จะลดลงเรื่อยๆ เมื่อเวลาเพิ่มมาก ขึ้น การแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร ให้อยู่ในรูปที่เหมาะสม จะทําให้ผลิตภัณฑ์นั้นคงสภาพอยู่ได้ นาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ผลิตที่อยู่ห่าง ไกลจากผู้บริโภค การแปรรูปเพื่อการเก็บรักษายิ่งมี ความสําคัญมากขึ้น

5. เพื่อเปลี่ยนลักษณะของผลิตภัณฑ์ ให้เหมาะสมในเชิงการค้า หรือการนําไปใช้ ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น พลูคาว หญ้าหมอน้อย มีกลิ่นและรสชาติ ที่รับประทานได้ยาก ดังนั้น ก่อนนํามาบริโภคจําเป็นต้องมีการแปรรูปให้เป็นผงแห้งเสียก่อน พร้อมใส่ในแคปซูลหรือทําเป็น เม็ด เพื่อให้ง่ายต่อการรับประทาน

6. เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

สมุนไพรที่อยู่ในชุมชน เช่น ขมิ้น ข่า ตะไคร้ ฯลน และพืชสมุนไพรที่อยู่ในป่า เช่นใบหนาด หญ้าคา  แก่นไม้ฝาง เปลือสะเดา ฯลฯ

อุปกรณ์ ->

การปลูก

          1. เสียมหรือจอบ

           2. บัวรดน้ำหรือสายยาง         

          การแปรรูปสมุนไพร (แห้ง)

1. เขียง 1 อัน มีด 1 เล่ม

2. ตัวยาสมุนไพรรวมที่ใช้ทำ

3. กะละมัง

4. กระด้งตากสมุนไพร

5. อุปกรณ์บรรจุ

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปลูกพืชสมุนไพรมีความจำเป็นมาก เพราะการใช้ สมุนไพรในอดีตเป็นการเก็บจากธรรมชาติ แต่ไม่มีการปลูก ทดแทนจึงทำให้จำนวนสมุนไพรลดลงขณะนี้พืชสมุนไพรได้รับ ความสนใจในฐานะ ที่เป็นยารักษาโรคเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องมี แหล่งสมุนไพรมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสมุนไพร คือเป็นแหล่งตัวอย่าง แหล่งขยายพันธุ์ และแหล่งวัตถุดิบเพื่อใช้ เป็นยา การเพาะปลูกสมุนไพรให้มีคุณภาพมาตรฐาน  ควรมี หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการเพาะปลูก

มีปัจจัยที่ต้องคำนึงคือ

 ๑. รายละเอียดทั่วไปของพืชสมุนไพร  เช่น ชนิดพืช ส่วนที่ใช้ และ ประโยชน์หรืออื่นๆ

 ๒. ลักษณะเฉพาะของพืช

๓. สภาพของดินและภูมิอากาศที่เหมาะสม

๔. การเตรียมพื้นที่และการแพร่พันธุ์

๕. การให้ปุ๋ย การให้น้ำ และการบำรุงรักษา

๖. โรคพืชและศัตรูของพืช

๗. การเก็บเกี่ยวและผลผลิต

การแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร การแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร คือ การเปลี่ยนแปลงสถานะของสมุนไพร ให้แตกต่างไป จากเดิม เพื่อประโยชน์ในการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น สมุนไพรมีหลายชนิด และมีสรรพคุณ ทางยาที่แตกต่างกัน ดังนั้นการศึกษา รูป รส กลิ่น สี และชื่อสมุนไพร จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มี ความสําคัญ เพื่อให้การแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีคุณภาพดี ตลอดจนการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ ให้มีคุณภาพใกล้เคียงผลิตภัณฑ์เดิมมากที่สุด เนื่องจากผลิตภัณฑ์บางประเภทไม่สามารถคงสภาพ อยู่ได้นาน การแปรรูป จึงเข้ามามีบทบาทสําคัญมากขึ้น เพื่อให้เกิดผลดีต่อการแปรรูป คงไว้ซึ่ง คุณค่าและสรรพคุณที่ดีของพืชสมุนไพร

ประโยชน์ของสมุนไพร

1. สมุนไพรล้างพิษ ได้แก่ รางจืด ย่านาง หมอน้อย พลูคาว เป็นต้น

 2. สมุนไพรที่ให้ความชุ่มชื้นแก่เส้นผม ผิวหนัง ลดและป้องกันรอยเหี่ยวย่น ขมิ้นชัน ว่านนางคํา กล้วย แครอท แตงกวา บอระเพ็ด

3. สมุนไพรที่ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ช่วยสมานแผลให้หายเร็ว ลดรอยแผลเป็น ลด รอยด่างด า ได้แก่ มังคุด ทับทิมว่านหางจระเข้ บัวบก ขมิ้น จันทน์แดง หม่อน พญายา สารส้ม ทองพันชั่ง พลูคาว

4. สมุนไพรที่ใช้ทำความสะอาดผิว ชะล้างความมัน เร่งการผลัดเซลล์ ได้แก่ มะขาม มะเขือเทศ ส้มปุอย มะขามปูอม กระเจี๊ยบ เกลือ ลิ้นทะเล ว่านสากเหล็ก ไพล มะคําดีควาย ขี้นอน สับปะรด

5. สมุนไพรที่ลดการอักเสบ และ ลดอาการแพ้และระคายเคือง และโรคผิวหนังได้แก่ ขมิ้น ฟูาทะลายโจร บัวบก กานพลู พญายา จันทน์แดง เท้ายายม่อม เมล็ดดอกบานเย็น ทองพันชั่ง ย่านางแดง รางจืด ตําลึง ดินสอพอง เหงือกปลาหมอ เสลดพังพอน สํามะงา ผักบุ้ง พลู ผักบุ้งทะเล ชุมเห็ดเทศ ชุมเห็ดไทย บอระเพ็ด

 6. สมุนไพรที่มีกลิ่นหอมช่วยแต่งกลิ่น และมีสรรพคุณทางยา ได้แก่ เกสรทั้ง 5 การบูร พิมเสน ขมิ้นชัน ว่านนางคํา ไพล กรรณิการ์ แก้ว ลีลาวดี ปีบ โมก กระดังงา กุหลาบ ว่านสาวหลง กานพลู จําปี แฝกหอม มะกรูด ขิง ข่า ตะไคร้มะนาว ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง เป็นต้น 7. สมุนไพรที่ให้สีสันสวยงามใช้แต่งแต้มอาหาร

และเครื่องสำอาง ได้แก่ ขมิ้น ใบเตย อัญชัน แครอท ผักปลัง ครั่ง

ข้อพึงระวัง ->

1. ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรนานเกินความจำเป็น ถ้าใช้ยาสมุนไพรแล้ว 3 – 5 วันยังไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ ทั้งนี้เนื่องจากใช้ยาไม่ถูกกับโรค

2. เมื่อใช้ยาสมุนไพรควรสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น

3.ควรใช้ยาตามหลักการรักษาของแพทย์แผนโบราณอย่างเคร่งครัด

4.อย่าใช้ยาเข้มข้นเกินไป

5.ควรระวังความสะอาดของสมุนไพร อาจมีราหรือแมลงชอนไชไม่ควรใช้

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา