ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงหมู

โดย : นายอัครเดช พงษ์บรรเทา วันที่ : 2017-03-28-20:40:10

ที่อยู่ : 184 บ้านลุมภู หมู่ 2 ตำบล น้ำเกลี้ยง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื้อสุกรนับเป็นเนื้อที่ผู้คนนิยมบริโภค ดังนั้นการเลี้ยงสุกร จึงเป็นแนวทางที่จะสามารถสร้างรายได้เสริมให้ครัวเรือนเกษตรกรได้

วัตถุประสงค์ ->

1.       เพื่อสร้างรายได้เสริมให้ครัวเรือน

2.       ลดต้นทุนในการเพราะปลูกพืช โดยนำมูลสุกรโดยนำมูลสุกรไปใช้เป็นปุ๋ยได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.       กากมันสำปะหลังหรือมันเส้น

2.       ลูกสุกร

อุปกรณ์ ->

1.       โรงเรือนสำหรับทำคอกหมู

2.       รางให้อาหาร

3.       รางให้น้ำ

4.       ถังพลาสติกสำหรับผลิตกากมันหมักยีสต์เป็นอาหารสุกร

5.       อาหารข้น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเลี้ยงและการดูแลหมูพ่อพันธุ์
หมูตัวผู้ที่จะนำมาใช้ผสมพันธุ์ได้ดี ควรมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ มีขนาดและอายุที่พอเหมาะ เพื่อให้สามารถผลิตน้ำเชื้อที่มีคุณภาพดีพอเพียง มีผลทำให้การผสมติดสูง และได้จำนวนลูกมากเป็นปกติ แม้ว่าหมูตัวผู้สามารถผลิตอสุจิได้บ้างแล้ว เมื่อมีอายุย่างเข้า ๔ เดือนก็ตาม แต่จำนวนน้ำเชื้อ และอสุจิที่ผลิตได้ จะเพิ่มมากขึ้น เมื่อหมูมีอายุมากขึ้น ดังนั้น หมูตัวผู้ที่จะนำมาใช้ผสมพันธุ์ ควรมีขนาดใหญ่พอเหมาะที่จะผสมกับแม่หมูที่มีขนาดปกติได้ โดยปกติมักใช้ผสมพันธุ์ ได้เมื่อมีอายุราว ๘ เดือน และมีน้ำหนักประมาณ ๘๐-๙๐ กิโลกรัม สำหรับหมูพ่อพันธุ์ต่างประเทศ ควรมีน้ำหนักราว ๑๑๕ กิโลกรัม
การเลี้ยงหมูพ่อพันธุ์ ปกติให้อาหารวันละมื้อ พ่อพันธุ์ที่มีน้ำหนักมากเกินไปหรืออ้วน ควรให้ออกกำลังบ้าง หรือลดอาหาร และให้อาหารหยาบมากขึ้น
หมูพ่อพันธุ์ถ้าได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีจากผู้เลี้ยง จะสามารถใช้งานได้หลายปี โดยไม่มีข้อบกพร่อง แม้จะใช้ผสมพันธุ์วันละสองครั้งก็ตาม แต่ก็ไม่ควรใช้งานมากเกินไป เพราะการผสมบ่อยๆ หรือติดๆ กัน จะทำให้จำนวนอสุจิลดน้อยลง และอาจมีอสุจิตัวอ่อนที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอ ดังนั้นหลังจากฤดูผสมพันธุ์ ควรจะให้ตัวผู้ได้พักผ่อน และออกกำลังกาย โดยปล่อยในทุ่งหญ้า

การเลี้ยงและการดูแลหมูแม่พันธุ์
หมูสาวเจริญเติบโตในลักษณะเช่นเดียวกันกับหมูหนุ่ม เมื่อมีอายุมากขึ้น ปริมาณของไข่ที่ตกจากรังไข่จะเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณลูกที่คลอดมีจำนวนมาก จนกระทั่งแม่หมูมีอายุประมาณ ๑๕ เดือน ปริมาณไข่ที่ตกก็จะคงที่ โดยปกติจะผสมพันธุ์หมูสาว เมื่อมีอายุได้ราว ๗-๘ เดือน หรือน้ำหนักราว ๑๑๐-๑๑๕ กิโลกรัม (สำหรับหมูพันธุ์พื้นเมืองประมาณ ๘๐-๙๐ กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับชนิดของหมูพันธุ์พื้นเมืองด้วย) การผสมพันธุ์แม่หมูที่มีขนาดเล็ก หรือมีอายุน้อยอยู่ จะทำให้อายุการใช้งานของแม่หมูตัวนั้นสั้นลง และจำนวนลูกที่ได้ก็น้อยด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากการตกไข่จากรังไข่มีน้อย
การผสมพันธุ์แม่หมู ควรกะเวลาให้พอดี กับระยะการตกไข่ เพราะจะทำให้ได้ผลดีกว่าการผสมในเวลาอื่น แม่หมูส่วนใหญ่จะกลับเป็นสัด อีกภายใน ๓-๗ วัน หลังการหย่านม แม่หมู แสดงการเป็นสัดนานประมาณ ๔๘-๗๒ ชั่วโมง (หมูสาวนานประมาณ ๓๖-๖๐ ชั่วโมง) การตกไข่เกิดขึ้นประมาณช่วงกลางๆ ของการเป็นสัด แต่ไข่จะไม่ตกพร้อมกันทีเดียวทั้งหมด การผสมหมูสาว หรือแม่หม ูควรผสมซ้ำ หรือผสมครั้งที่สอง โดยทิ้งระยะให้ห่างจากครั้งที่หนึ่งประมาณ ๑๒ ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย ปกติการผสมพันธุ์หมูมักทำในตอนเช้าและเย็น เพราะอากาศไม่ร้อน ไม่ควรผสมพันธุ์หมูขณะที่ป่วย หรือหลังการฉีดวัคซีนใหม่ๆ วิธีดังกล่าวนี้จะช่วยให้การผสมพันธุ์ได้ผลดีขึ้น และเพิ่มลูกต่อครอกให้มากขึ้น
๑. การจัดคอกเลี้ยง
๑.๑ การจัดคอกสำหรับหมูขุนขาย ควรจัดเอาหมูที่มีขนาดและเพศเดียวกัน ขังเลี้ยงไว้ในคอกเดียวกัน เพื่อช่วยให้หมูเติบโตมีขนาดไล่เลี่ยกัน และไม่เกิดปัญหาแย่งอาการกันกินขึ้นในภายหลัง เนื่องจากการเจริญเติบโตไม่เท่ากันของหมูเพศผู้ และเพศเมีย หมูเพศผู้ที่ตอน มักเจริญเติบโตเร็วกว่าหมูเพศเมีย แต่หมูเพศเมียมีแนวโน้มการใช้อาหาร ที่มีโปรตีนสูงได้ดีกว่า และยังให้เนื้อแดง และมีลำตัวยาวกว่าหมูเพศผู้ที่ตอนด้วย
๑.๒ การจัดคอกสำหรับหมูพันธุ์ หมูที่จะ เลี้ยงไว้เป็นพ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์ ในช่วงแรก ไม่ควรเลี้ยงแยกเพศกันอย่างเด็ดขาด กล่าวกันว่า การเป็นหนุ่มเป็นสาวช้า การไม่แสดงการเป็นสัดของหมูตัวเมีย และการไม่ยอมผสมพันธุ์ของหมูตัวผู้นั้น เป็นผลจากการมีประสบการณ์ก่อนเป็นหนุ่มเป็นสาวไม่เพียงพอ พ่อหมูสามารถเรียนรู้ในเรื่องเหล่านี้ได้ดีที่สุด ในช่วงอายุระหว่าง ๔-๘ เดือน
เมื่อหมูเริ่มผสมพันธุ์ได้ ควรแยกออกมาเลี้ยงขังเดี่ยว และจำกัดอาหารไป จนกระทั่งหมูมีน้ำหนัก ๑๑๕ กิโลกรัม ทั้งตัวผู้ และตัวเมีย
๒. การจัดเตรียมรางอาหาร
ควรจัดให้มีเพียงพอกับจำนวนหมู รางอาหารชนิดอัตโนมัติ ช่องอาหารช่องหนึ่งๆ ควรจัดไว้สำหรับหมูไม่เกิน ๓-๔ ตัว มิฉะนั้นจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของหมู
๓. การจัดเตรียมน้ำดื่ม
ควรมีน้ำดื่มสะอาดไว้ในที่ที่เหมาะสม ไม่ควรจัดไว้ในที่ที่หมูตัวอื่นกีดขวางได้ง่าย ปกติหมูตัวหนึ่งจะกินน้ำประมาณสองเท่าของน้ำหนักของอาหารที่กินเข้าไป
๔. อุณหภูมิ
อุณหภูมิที่เหมาะจะช่วยให้การเจริญเติบโต และประสิทธิภาพการใช้อาหารของหมูดีขึ้น คือ อุณหภูมิประมาณ ๒๑ องศาเซลเซียส หากอากาศร้อนเกินไป หมูจะกินอาหารน้อยลง และเติบโตช้า
๕. การถ่ายเทอากาศ
อากาศภายในคอก ควรมีการถ่ายเท หรือระบายได้ดี โรงเรือนที่อับ อากาศจะเกิดก๊าซพิษสะสม ซึ่งมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของหมู และก่อให้เกิดสิ่งผิดปกติกับหมูได้ เช่น เกิดมีการกัดหางกันขึ้น เป็นต้น

 

ข้อพึงระวัง ->

หมั่นล้างทำความสะอาดคอกอยู่เสมอเพื่อป้องกันการติดเชื้อของสุกร

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา