ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปลาดุกบิ๊กอุย

โดย : นางอัมพรรัตน์ ทรารมย์ วันที่ : 2017-03-27-10:19:59

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 239 หมู่ที่ 5 ซอย - ถนน - ตำบลชำ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปลาดุกอุย หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “ปลาดุกบิ๊กอุย” เป็นปลาที่มีการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลาดุกรัสเซียกับปลาดุกอุย โดยใช้ปลาดุกรัสเซียเพศเมีย และปลาดุกอุยเพศผู้ลูกปลาจะมีลักษณะใกล้เคียงกับปลาดุกอุยมาก คืออัตราการเจริญเติบโตสูง และมีความทนทานต่อโรคสูง เกษตรกรนิยมเลี้ยงกันมาก และมีการบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีรสชาติดี ราคาถูก และเป็นการสร้างรายได้ ลดรายจ่ายตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย เพื่อลดรายจ่ายเลี้ยงภายในครัวเรือนได้ ใช้เวลาไม่มากในการเลี้ยง

วัตถุประสงค์ ->

-          ลดรายจ่ายให้กับครัวเรือน

-          สร้างความอบอุ่นให้กับครอบครัว/ถ่ายอดภูมิปัญญาให้กับลูกหลาน

-          ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-          ขนาดปลาที่จะนำมาเลี้ยง ปลาที่เริ่มเลี้ยงยาวตั้งแต่ 1.5 นิ้วขึ้นไปไม่ควรนำปลามาเลี้ยงในฤดูหนาวเพราะปลามีความต้านทานต่อโรคต่ำ

-          อัตราการเลี้ยงปล่อยลูกปลาในอัตรา 50 – 70 ตัว/ตารางเมตร การปล่อยปลาแช่ถุงลูกปลาไว้ในบ่อเลี้ยง 30 นาที จึงค่อยๆ ปล่อยลงบ่อ ช่วงแรกที่ปล่อยให้เติมน้ำลงบ่อมีความสูงประมาณ 10 ซม.แล้วค่อยเพิ่มระดับน้ำขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกๆ อาทิตย์จนมีระดับสูงสุด 30-50 ซม.

-          การถ่ายเทน้ำ ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำเมื่อน้ำเริ่มเสีย ไม่ควรถ่ายน้ำออกหมด เหลือน้ำเก่าไว้ 2/3 เปลี่ยนถ่ายน้ำหลังให้อาหารแล้วไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง น้ำที่ถ่ายออกสามารถนำไปรดพืชผักได้

ข้อพึงระวัง ->

การเกิดโรคของปลาดุกที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหาคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุของการให้อาหารมากเกินไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้โดยต้องหมั่นสังเกตว่าเมือปลาหยุดกินอาหารจะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะปลาดุกลูกผสมมีนิสัยชอบกินอาหารที่ให้ใหม่ โดยถึงแม้จะกินอิ่มแล้วถ้าให้อาหารใหม่อีกก็จะคายหรือสำรอกอาหารเก่าทิ้งแล้วกินอาหารให้ใหม่อีกซึ่งปริมาณอาหาร ที่ให้ไม่ควรเกิน 4 – 5 % ของน้ำหนักตัวปลา หากมีอาหารเหลือให้ช้อนทิ้ง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา