ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้าไหมมัดหมี่

โดย : นางทองอินทร์ สุขศรี วันที่ : 2017-03-27-08:54:57

ที่อยู่ : 10 ม.1 ตำบลรุ่งระวี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในชุมชนมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม  จึงคิดที่จะทอผ้าไหมไว้ใช้เองและเพื่อจำหน่าย

วัตถุประสงค์ ->

           เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์หลังฤดูเก็บเกี่ยว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. เส้นไหม   ๒. สีย้อมไหม(มีทั้งสีธรรมชาติและสีเคมี)

อุปกรณ์ ->

๑. กี่      ๒. ฟืม     ๓. กระสวย    ๔. เครือหูก
๕. หลอด   ๖. ไม้พันฮูก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.      การฟอกไหม 2. การกวักไหม คือ การกรอเส้นไหมเข้าหลอดเพื่อเตรียมไว้สำหรับทุกขั้นตอน

ต่อไปได้ง่าย3. การกรอใส่หลอด 4. การรังไหม หรือตีเหลียวไหม คือ การทำรังไหม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การเสียขี้ไหม ในภาษาคนทอผ้า เพื่อให้เส้นไหมเรียบ สวยงาม
5. การพัดไหม คือ เป็นการเรียงเส้นไหม รวมกัน ให้เป็น ใจหรือเครือ เพื่อนำไปย้อมสีเส้นจึงแช่ในน้ำย้อมสีที่เตรียมไว้ จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งจะได้เส้นไหมที่มีสีตามต้องการ
6. การค้นไหม โดยการเตรียมค้นไหม จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
6.1 การเตรียมเส้นไหมพุ่ง 6.1.1 การมัดหมี่ คือ การทำผ้าไหมให้เป็นลายและสีสันต่างๆตามแบบหรือลายที่ได้ออกแบบไว  6.2 การเตรียมไหมเครือ (ไหมเส้นยืน) โดยการค้นหูกหรือค้นเครือ คือ กรรมวิธีนำเอาเส้นไหมที่เตรียมไว้สำหรับเป็นไหมเครือไปค้น (กรอ) ให้ได้ความยาวตามจำนวนผืนของผู้ทอผ้าไหมตามที่ต้องการ
7. การสืบไหมหรือการสืบหูก คือ การนำไหมที่ได้จากการค้นไหมเครือ หรือเส้นไหมยืนแล้ว นำเข้ามาต่อกับฟืม ใช้เวลาในการสืบประมาณ ๓ วัน
8. การพันไหม คือ เนื่องจากเส้นไหมที่ค้นและสืบเสร็จเรียบร้อยแล้ว

9. การกางหูกไหม คือ ขั้นตอนในการนำหูกไหมที่พร้อมจะทอแล้ว ไปกางบนกี่ เพื่อที่เตรียมการทอผ้าต่อไป
10. การทอผ้าไหม เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะออกมาเป็นผ้าผืน

 

ข้อพึงระวัง ->

๑.     การฟอกไหม ต้องมีการวัดอุณหภูมิให้มีความคงที่อยู่เสมอ ประมาณ ๘๐ องศา

เพื่อไม่ให้เส้นไหมแตก 
๒. การพันไหม จะต้องพันให้เรียบและตึงที่สุด เพื่อให้ลายเส้นไหม เรียบ และสวยงาม
๓. การทอผ้าไหม ต้องใช้น้ำหนักในการทำให้พอดี สม่ำเสมอ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา