ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้าไหมมัดหมี่

โดย : นางจันทร์แดง แสงแก้ว วันที่ : 2017-03-26-16:20:09

ที่อยู่ : 13 ม.4 ต.ธาตุ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

อยากมีอาชีพเสริมจากการทำนาเพื่อสร้างรายได้ในครัวเรือน ก็เลยไปฝึกทำกับคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเิ่มรายได้ในครัวเรือนและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เส้นไหม  สีย้อม

อุปกรณ์ ->

กี่ทอผ้า  ฟืม  กระสวย  หลอด ไน อัก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 มีกรรมวิธีการทอผ้าให้เกิดลวดลายโดยการมัดที่เส้นพุ่งหรือเส้นยืนด้วยเชือกก่อนนำไปย้อมสีเพื่อให้เกิดสีและลายตามที่กำหนด แล้วจึงนำมาทอเป็นผ้าผืน   มีการทำกันมากในภาคอีสาน    การทอผ้ามัดหมี่แต่ละผืน จะต้องใช้เวลาและความปราณีต จัดเรียงเส้นไหมและฝ้าย
ให้สม่ำเสมอคงที่ และกรรมวิธีต้องเรียงลำดับก่อน - หลังเพื่อให้เกิดลวดลายสวยงาม ถูกต้อง ลวดลายจะเป็นลวดลาย
ที่สืบต่อกันมา บางครั้งก็ได้จากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มีขั้นตอนดังนี้

1.   การค้นหมี่ เส้นฝ้ายมีไขฉาบโดยธรรมชาติ ก่อนนำมาใข้ต้องชุบน้ำให้เปียกทั่วอณูของเส้นฝ้าย โดยชุบน้ำแล้วทุบด้วยท่อนไม้ผิวเรียบเรียกว่า การฆ่าฝ้าย ก่อนจะชุบฝ้ายหมาดน้ำในน้ำแป้งและตากให้แห้ง คล้องฝ้ายใส่กงแล้วถ่ายเส้นฝ้ายไปพันรอบอัก ตั้งอักถ่ายเส้นฝ้ายพันรอบหลักหมี่ ซึ่งมีความกว้างสัมพันธ์กับความกว้างของฟืมที่ใช้ทอผ้า นับจำนวนเส้นฝ้ายให้เป็นหมวดหมู่แต่ละหมู่มีจำนวนเส้นฝ้ายสัมพันธ์กับลายหมี่ มัดหมวดหมู่ฝ้ายด้วยเชือกฟาง วิธีการค้นหมี่ เอาฝ้ายที่เตรียมมาแล้วมัดหลักหมี่ด้านล่างก่อน แล้วพันรอบหลักหมี่ไปเรื่อยๆ เรียกว่า การก่อหมี่ การค้นหมี่จะต้องค้นจากล่างขึ้นบน หรือบนลงล่างจนกว่าจะครบจำนวนรอบที่ต้องการ ภาษาท้องถิ่นเรียกแต่ละจำนวนว่าลูกหรือลำ ถ้าก่อหมี่ผูกฝ้ายด้านขวา ก็ต้องวนซ้ายมาขวาทุกครั้ง ควรผูกฝ้ายไว้ทุกลูกด้วยสายแนม เพื่อไม่ให้หมี่พันกัน หรือหลุดออกจากกัน
2.   การมัดหมี่ มัดกลุ่มฝ้ายแต่ละลูกหมี่ด้วยเชือกฟาง จนครบหลักหมี่ ทำเป็นเชิงผ้า การเริ่มต้นมัดลายหมี่ อาจมัดจากด้านบนไล่เรียงลงข้างล่าง หรือมัดข้างล่างก่อน ก่อนจึงไล่เรียงขึ้นข้างบน บางคนอาจเริ่มมัดจากตรงกลางก่อนจึงขยายออกไปเต็มหลักหมี่เริ่มมัดปลายเชือกด้านหนึ่งกับลูกหมี่ก่อน จึงพันอีกปลายหนึ่งซ้อนทับให้แน่นเพื่อไม่ให้สีย้อมซึมเข้าข้อหมี่ เมื่อพันทับกันไปจนได้ความยาวตามลายหมี่แล้ว มัดปลายเชือกกับลูกหมี่ให้แน่นเช่นกัน โดยเหลือปลายเชือกไว้เมื่อเวลาแก้ปอมัดจะทำได้ง่าย เอาเชือกเส้นหนึ่งสอดเข้าไปในช่องหลักหมี่ข้างใดข้างหนึ่ง ผูกกลุ่มฝ้ายไว้เป็นวงไม่ให้หมี่ที่มัดลวดลายแล้วหลุดออกจากกัน และใช้เป็นหูหิ้วสำหรับจับ เวลาย้อม ถอดฝ้ายมัดหมี่ออกจากหลักหมี่
3.   การแก้ปอมัดหมี่ หมี่ที่มัดเสร็จเรียบร้อยและถอดออกจากหลักหมี่แล้วนำไปแช่น้ำให้เปียกบิดให้หมาด นำไปย้อมสีครามล้างสีให้สะอาด จึงนำมาแก้ปอมัดหมี่ พาดราวกระตุกให้เรียงเส้น ผึ่งให้แห้งได้ฝ้ายมัดหมี่
4.    การปั่นหลอด นำฝ้ายมัดหมี่คล้องใส่กงซึ่งวางอยู่ระหว่างตีนกง 1 คู่ หมุนกงคลายฝ้ายออกจากกงพัน
เข้าหลอดไม้ไผ่เล็กๆที่เสียบแน่นอยู่กับเหล็กไนของหลา ความยาวของหลอดไผ่สัมพันธ์กันกับกระสวยทอผ้า เมื่อหมุนกงล้อไม้ไผ่ของหลา เหล็กไนและหลอดจะหมุนเอาเส้นฝ้ายจากกงพันรอบแกนหลอดไม้ไผ่ ให้ได้จำนวนเส้นฝ้ายพอเหมาะกับขนาดของร่องกระสวยทอผ้า
5. การร้อยหลอดฝ้าย ร้อยหลอดฝ้ายที่ปั่นแล้วตามลำดับก่อนหลังหากร้อยหลอดผิดลำดับหรือทำเชือกร้อยหลอดขาดทำให้ลำดับฝ้ายผิดไป ไม่สามารถทอเป็นลวดลายตามต้องการได


6.   ลายหมี่ นับเป็นวัฒนธรรมด้านสิ่งทอของภูมิภาคอีสาน ทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม ความสวยงามของลาย หมี่เป็นสัญลักษณ์แสดงความเจริญทางปัญญาของชุมชน
และที่สำคัญอีกอย่างของผ้าทอที่มีคุณภาพและมีเสน่ห์สวยสะดุดตาคือการเพิ่มสีสรรด้วยการย้อม ที่ทำให้ผู้ใช้มีความพอใจ ภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าของ การใช้ผ้าย้อมครามมานานเท่ากับการทอผ้า ในสมัยโบราณสีครามได้ฉายาว่าเป็นราชาแห่งสีย้อม " the king of dyes " มีการใช้ผ้าย้อมครามในราชสำนักต่างๆ ในศตวรรษที่ 16 อินเดียได้ส่งสีครามธรรมชาติเป็นสินค้าออกไปยังยุโรป นอกจากนี้มีร่องรอยการทำสีครามธรรมชาติ และพบต้นครามกระจายอยู่ทั่วไปในเขตร้อนของเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา ดังนั้นสีครามและผ้าย้อมครามจึงเคยเป็นที่รู้จักของคนเกือบครึ่งโลก แต่ถูกเทคโนโลยีและสีสังเคราะห์เข้าแทนที่ ทำให้การทำสีครามและผ้าย้อมครามลดลงอย่างรวดเร็วจนความรู้ด้านนี้เกือบสูญหายไป เมื่อมีคนฟื้นฟูและสืบทอดความรู้การทำสีครามและผ้าย้อมครามในจังหวัดสกลนคร นำลวดลายผ้ามัดหมี่จากภูมิปัญญาพื้นบ้าน เลือกฝ้ายเนื้อดีจากท้องตลาด ทำสีครามและย้อมสีครามด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติ โดยกระบวนการดั้งเดิมที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้ผ้าย้อมครามได้รับความนิยมจากกลุ่มคนที่ตระหนักในคุณค่าของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและศิลปะพื้นบ้านทำด้วยมือ ซึ่งเป็นกลุ่มคนวัยทำงานทั้งในสำนักงาน สถานศึกษาและอื่นๆจนขยายออกไปยังชาวต่างชาติ เช่น ญี่ปุ่น ที่เคยทำผ้าย้อมครามในอดีตเช่นกัน แต่หาได้ยากและราคาแพงมากในปัจจุบัน สิ่งทอที่ผลิตด้วยผีมือจากชุมชน มีเสน่ห์ที่เอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละชิ้นและเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละชุมชน บนพื้นฐานของความรู้และความประณีต

ข้อพึงระวัง ->

อย่าให้เส้นไหมขาดลวดลายจะไม่สวยงาม

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา