ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงหมูขุน

โดย : นายทวี สิงห์เสน วันที่ : 2017-03-25-18:13:44

ที่อยู่ : บ้านเท่อเล่อ หมู่ที่ 5 ตำบลโนนค้อ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากผลผลิตจากการทำนาตกต่ำข้าวไม่มีราคาทำให้รายได้ของครัวเรือนไม่พอกับค่าใช้จ่าย จึงทำให้เกิดความขึ้นมาว่าเราควรจะหาอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน ดังนั้นจึงหันมาเลี้ยงหมูขุน เป็นรายได้เสริม เนื่องจากหมูขุนสามารถเลี้ยงและจำหน่ายได้ง่าย และเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.      ลูกหมูขุน  2.      อาหารหมูขุน

อุปกรณ์ ->

1. โรงเรือน

2.  ถังน้ำ

3. ถังอาหาร

4. บ่อน้ำบาดาล

5.  บ่อบำบัดน้ำเสีย

6.  อาหารหมูขุน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 1. สถานที่และพื้นที่ต่อตัว

            ควรต้องมีคอกหรือโรงเรือนสำหรับเลี้ยงดูจัดการสุกร รุ่น – ขุน แยกเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะและควรจัดตามรายละเอียดต่อไปนี้

                1.1 การเตรียมคอกหรือโรงเรือนก่อนรับเข้าเลี้ยง

            - ย้ายสุกรรุ่นเก่าที่ครบอายุขาย แต่น้ำหนักไม่ได้มาตรฐานออกขายหรือย้ายไปรวมคอกเลี้ยงในโรงเรือนใหม่เพื่อความสะดวกในการทำความสะอาด เตรียมโรงเรือนไว้รับเลี้ยงสุกรรุ่นใหม่

            - พ่นล้างทำความสะอาดทุกซอกทุกมุม รวมทั้งอุปกรณ์ให้น้ำและอาหารแล้วทิ้งไว้ให้แห้ง จากนั้นตรวจเช็คซ่อมแซมคอกและอุปกรณ์ใช้งานให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

            - พ่นฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อออกฤทธิ์กว้าง ทำลายเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อราได้ดีที่มีคุณสมบัติจับเกาะบนพื้นผิวได้นาน

               1.2 พื้นที่ต่อตัวที่ใช้เลี้ยง หากพิจารณาตามรูปแบบการเลี้ยงสุกรในช่วงรุ่น – ขุน ซึ่งโดยทั่วไปจะแนะนำให้เลี้ยงที่อายุเริ่มต้น 10 สัปดาห์ ไปจนถึงอายุและน้ำหนักขุนขายได้ (100-110 กิโลกรัม) พื้นที่ต่อตัวที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่อย่างน้อย 1.2 ตารางเมตรต่อตัว จำนวนตัวที่ใส่ต่อคอก 20-25 ตัว

               1.3 ช่วงอายุสุกรที่เลี้ยงอยู่ในโรงเรือนสุกรรุ่น – ขุน สุกรที่ย้ายจากโรงเรือนอนุบาลเข้าเลี้ยงในโรงเรือนรุ่นขุน จะอยู่ในโรงเรือนตั้งแต่อายุ 10 สัปดาห์ ไปจนถึงประมาณ 23-24 สัปดาห์

                    2. น้ำ

           ควรมีการจัดการและดูแล ดังต่อไปนี้

            2.1 ตรวจเช็คสภาพอุปกรณ์การให้น้ำ อุปกรณ์ดังกล่าวควรอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานสุกรสามารถกินและเล่นได้อย่างสะดวกตลอดช่วงของการเลี้ยงดู

            2.2 คุณภาพน้ำ ต้องตรวจเช็คดูน้ำที่จะให้แก่สุกรต้องมีคุณภาพและความสะอาดอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม

            2.3 อัตราไหลของนํ้าและปริมาณจุ๊บน้ำ แนะนำว่าอัตราไหลของน้ำจากจุ๊บควรจะอยู่ที่ 1-2 ลิตรต่อนาที จำนวนจุ๊บน้ำใช้ 3-4 หัวจุ๊บต่อคอก โดยมีระดับความสูงหลายระดับตามความเหมาะสมของอายุ

            2.4 เทคนิคบางประการในการใช้จุ๊บน้ำ ในช่วง 2-3 ชั่วโมงแรก ของการรับเข้า ควรกดจุ๊บน้ำให้ไหลหรือพุ่งออกมาเพื่อให้สุกรกินและเล่นผ่อนคลายความเครียดจากการย้ายและการรวมคอก

                   3.อาหาร

    มีรายละเอียดและขั้นตอนการจัดการดังต่อไปนี้

            3.1 คุณค่าอาหาร ควรเลือกให้อาหารที่มีคุณค่าทางพลังงาน โปรตีน กรดอะมิโน ที่สำคัญ รวมถึงไวตามิน แร่ธาตุครบตามความต้องการของสุกรในช่วงรุ่นและขุน

            3.2 คุณภาพของอาหาร ต้องสดใหม่ปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อโรค เชื้อรารวมทั้งมีความน่ากินสูง

            3.3รูปแบบของอาหารที่ให้ การใช้อาหารอัดเม็ดจะช่วยเรื่องปริมาณการกินได้ของสุกร และประสิทธิภาพการใช้ อาหารจะดีกว่ารูปแบบอื่น

            3.4 อุปกรณ์การให้อาหาร ต้องตรวจซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และผ่านการทำความสะอาดอย่างดีก่อนการนำสุกรเข้าเลี้ยง

                4. อากาศและสภาพแวดล้อม

        แนะนำให้จัดการ ตามหลักการเช่นเดียวกับในสุกรอนุบาล คือ อุณหภูมิเหมาะสม มีอากาศบริสุทธิ์ถ่ายเทได้สะดวก จัดสภาพแวดล้อมไม่ให้อับทึบขัดขวางทางลม

                5. การจัดการรับสุกรเข้าเลี้ยงในโรงเรือนสุกรรุ่น – ขุน

        เพื่อให้การเจริญเติบโตเป็นไปตามพันธุกรรมตามปกติและมีการสูญเสียของสุกรน้อยที่สุดแนะนำว่าการจัดการรับเข้าเลี้ยงจะเน้นหลักการปฏิบัติที่ก่อความเครียดให้กับสุกรรุ่นน้อยที่สุดและจัดการให้ตรงกับความต้องการของสุกรมากที่สุด ดังรายละเอียด ต่อไปนี้

            5.1 ช่วงเวลาในการย้ายเข้าเลี้ยง ให้เลือกช่วงเวลาที่อากาศเย็นสบาย เช่น เวลาในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น

            5.2 สถานที่และพื้นที่ต่อตัว แนะนำให้จัดการตามที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อการจัดการเรื่องสถานที่

            5.3 การจัดขนาด ควรมีการจัดขนาดให้ไล่เลี่ยกันในแต่ละคอกในช่วงการรับเข้าใหม่

            5.4 น้ำ ต้องมีกินและเล่นอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 ชั่วโมงแรกของการรับเข้าเลี้ยง

            5.5 อาหาร ต้องมีกินตลอดเวลาและสุกรสามารถเข้ามากินได้ทั่วถึงทุกตัว

            5.6 การให้ยาปฏิชีวนะเสริมเพื่อช่วยลดการเจ็บป่วยที่จะเกิดขึ้นภายหลังการย้ายเข้าเลี้ยงของสุกรรุ่น แนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านจุลชีพที่ออกฤทธิ์กว้างในระดับป้องกันในโรคระบบทางเดินหายใจ และโรคระบบทางเดินอาหารในช่วงการรับเข้าเป็นเวลา 7-10 วันรูปแบบการให้ที่เหมาะสมมี 2รูปแบบ คือ การให้ยาละลายน้ำกับการให้ยาผสมอาหาร สำหรับการละลายน้ำ มีข้อพึงระวังก็คือ ให้ถัดจากวันรับเข้า 1วัน และบังคับให้สุกรกินเฉพาะช่วงครึ่งเช้าของวันเท่านั้น ทั้งนี้การละลายยาในน้ำ อาจใช้ร่วมกับผงเกลือแร่อิเลก-โตรไลต์ ก็จะช่วยให้สุกรมีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น

            5.7 อุณหภูมิที่เหมาะสม สัปดาห์แรกหลังการรับเข้าควรอยู่ที่ 26 – 28 องศาเซลเซียสการจัดการสุกรระยะรุ่น-ขุน2-3กาการจัดการสุกรระยะรุ่น--ขุน22--33

            5.8 อากาศและสภาพแวดล้อม-จัดการให้มีอากาศบริสุทธิ์หรือลมพัดถ่ายเทเข้าในโรงเรือนได้สะดวก-ป้องกันไม่ให้ลมเข้ากระทบตัวสุกรโดยตรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสัปดาห์แรกหลังรับเข้า-ใช้อุปกรณ์พัดลมเสริม หากสภาพอากาศร้อนชื้นให้ใช้อุปกรณ์ เช่น พัดลมเป่าช่วยให้เกิดการเคลื่อนตัวของอากาศและความร้อนชื้นออกจากโรงเรือน ก็จะช่วยบรรเทาไปได้มาก

                6. การจัดการสุขภาพและภูมิคุ้มกัน

            6.1 สุขภาพ ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงอากาศหรือฤดูกาลอย่างรุนแรง แนะนำให้ผสมยาปฏิชีวนะออกฤทธิ์กว้างลงในอาหารเพื่อป้องกัน และควบคุมการเจ็บป่วย โดยเลือกใช้ยาตามคำแนะนำในตัวอย่างการใช้ยาหรือโดยปรึกษากับสัตวแพทย์ในท้องที่

            6.2 ภูมิคุ้มกัน ในระยะแรกของการลงเลี้ยงเป็นสุกรรุ่น – ขุนอาจมีความจำเป็นต้องทำวัคซีนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มโรคที่จะก่อผลเสียต่อการผลิต สำหรับช่วงอายุและชนิดของวัคซีนที่ทำควรปรึกษากับสัตวแพทย์ในท้องที่

                7. ระบบการเลี้ยงและเข้า-ออกสุกร

            ด้วยหลักการที่ต้องการให้สุกรมีการเจริญเติบโตตามพันธุกรรม มีการกินอาหารดีโดยตลอด ระบบการเลี้ยงที่จะแนะนำตามหลักการดังกล่าวและเป็นที่นิยมกันก็คือ การเลี้ยงสุกรแบบเข้าหมด-ออกหมด โดยสุกรมีอายุต่างกันไม่เกิน 2 สัปดาห์ในโรงเรือนเดียวกันแบบนี้จะเป็นระบบที่มีการรบกวนสุกรน้อยที่สุด ระบบการเลี้ยงแบบเข้าหมด – ออกหมดนั้น เมื่อถึงอายุและน้ำหนักที่จะต้องย้ายออกจำหน่ายโดยจำกัดอายุสูงสุดไว้ที่ 28สัปดาห์ เป็นเกณฑ์แล้วยังมีสุกรที่โทรม แคระแกรนอยู่อีกให้จัดการย้ายออกขายหรือยายไปจากโรงเรือนนั้นให้หมด ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกในเรื่องการจัดการเตรียมคอกไว้รับเลี้ยงสุกรในรุ่นใหม่ต่อไป โดยไม่ให้มีตัวป่วย ตัวแคระแกรนเข้าไปกินพื้นที่และแพร่เชื้อโรคก่อการเจ็บป่วยในรุ่นใหม่ที่ย้ายเข้ามาเลี้ยงสุกรรุ่น – ขุนที่ผ่านการจัดการมาตรฐานดังกล่าวข้างต้น หากทำได้เหมาะสมและดีพอก็จะได้สุกรขุนที่มีอัตราการเจริญเติบโตดีมีน้ำหนักมาตรฐาน คือ ที่อายุ 24 สัปดาห์ น้ำหนักควรจะได้ประมาณ 95 กิโลกรัม สุขภาพและคุณภาพซากอยู่ในเกณฑ์ดีตามพันธุกรรม

ข้อพึงระวัง ->

การระวังโรคที่เกิดกับหมู ต้องหมั่นดูแลรักษาโรงเรือนให้สะอาด   

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา