ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกส้มโอ

โดย : นายทองสุข ลุนลา วันที่ : 2017-03-24-19:05:18

ที่อยู่ : 59 หมู่ที่ 6 ตำบลตาโกน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ข้าพเจ้าเดิมประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก และประกอบอาชีพเสริมโดยการปลูกมันสำปะหลังบ้าง ต่อมาข้าพเจ้าได้มีความสนใจในการปลูกส้มโอ เนื่องจากมีบุคคลในหมู่บ้านปลูกแล้วส้มโอมีรสชาติอร่อย จึงคิดปลูกเป็นอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว และได้ไปศึกษาเรียนรู้วิธีการปลูกจากผู้มีความรู้ในหมู่บ้าน และศึกษาจากหนังสือต่างๆ  จึงเริ่มปลูกส้มโอ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ จนถึงปัจจุบัน สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวเป็นอย่างดี มีตลาดรองรับมาก

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อสร้างอาชีพเสริม

2.เพื่อเพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธุ์ส้มโอ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ส้มโอ เป็นผลไม้กึ่งร้อนที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทย และเป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง เพราะเป็นที่นิยมบริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ เนื่องจากมีคุณภาพทางโภชนาสูง และมีระยะเวลาในการวางตลาดได้นาน จึงทำให้เป็นพืชที่มีศึกภาพสูงในการส่งออก

ปัจจัยจำเป็นที่ต้องใช้

1.  พันธุ์

                   ส้มโอที่วางจำหน่ายท้องตลาดมีมากมายกว่า 30 พันธุ์ แต่พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากได้แก่

-    พันธ์ขาวทองดี มีขนาดผลปานกลาง ทรงผลแป้น ส่วนหัวนูน น้ำหนักผลประมาณ940 – 1,050 กรัม เปลือกผลค่อนข้างบางมีความหวานสูง

-    พันธ์ขาวน้ำผึ้ง มีขนาผลใหญ่ ทรงผลกลมน้ำหนักผลประมาณ 1,300 กรัม เปลือกผลหนารสชาติปะแล่ม หรือหวานอมเปรี้ยว

2.  ดิน

ส้มโอสามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินทราย ดินร่วน ดินร่วนปนทรายหรือร่วนดินเหนียวที่ได้รับการปรับปรุงสภาพให้ระบายน้ำได้ดีไม่ท่วมขังหรือแฉะ ดินที่ปลูกส้มโอแล้วให้ผลผลิตคุณภาพควรลึกอย่างน้อย 1 เมตร มีความเป็นกรดและด่าง (pH) 5.5 – 6.5

3.  ปุ๋ย

ส้มโอ  เป็นพืชที่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยเพื่อปรับปรุงคุณภาพ ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์ อาทิ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก

ขั้นตอนการดำเนินงาน

 

 

1.  การปลูก

-    การปลูกในพื้นที่ดอนที่น้ำไม่ขัง ไม่ต้องยกร่อง ควรปรับพื้นที่ให้เรียบแล้วกำจักวัชพืช การปลูกเป็นแถวควรขุดหลุมปลูกขนาดประมาณ 50 x50 x 50 เซนติเมตร ระยะปลูก 8 x 8 เมตร เพราะรากจะเจริญลงลึกในแนวดิ่ง

-    การปลูกในที่ลุ่ม ทำการเตรียมดินในช่วงฝนแล้งแล้วทิ้งไว้ให้ดินสุก (ดินสุกคือดินที่แห้งร่วนและระบายน้ำได้ดี) โดยขุดเป็นร่องใช้สันร่องปลูก สันร่องกว้างประมาณ 6.5 เมตร สำหรับร่อน้ำกว้างประมาณ 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร ควรยกร่องขวางทางแสงอาทิตย์จะทำให้ได้รับแสงแดดสม่ำเสมอ ถ้าเป็นที่ลุ่มมาก ต้องทำคันกั้นน้ำรอบสวน โดยฝังท่อระบายน้ำเข้า-ออกจากสวน ขุหลุมปลูกโดยใช้ระยะประมาณ 6 x 8 เมตร

-    นำพันธุ์ส้มโอที่ต้องการปลูกมาใส่ตรงกลางหลุมที่เตรียมไว้ กดดินบริเวณโคนกิ่งพันธุ์ให้แน่นพอประมาณ จากนั้นใช้ไม้หลักปักยึดกิ่งพันธุ์ไม่ให้โยก  รดน้ำให้ชุ่มแล้วหาเศษฟางแห้งมาคลุมดิน เพื่อช่วยลดการสูญเสียน้ำในระยะที่ต้นยังเล็กอยู่ ซึ่งจะช่วยให้ต้นส้มโดตั้งตัวได้เร็วขึ้น

2.   การให้น้ำ

 ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอหลังการปลูกโดยควรให้น้ำในตอนเช้าและเมื่อต้นส้มโอใกล้ออกดอก ควรงดน้ำประมาณ 5 – 30 วัน

3.   การเก็บเกี่ยว

โดยทั่วไปส้มโอจะออกดอกปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกระหว่างเดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ ครั้งที่ 2 ช่วงเดือนสิงหาคม – ตุลาคม ส้มโอจะเจริญเติบโตนับจากช่วงออกดอกติดผลถึงผลแก่เก็บเกี่ยวได้ประมาณ 7-8 เดือน โดยคุณภาพของส้มโอ 2 ชุด นี้จะต่างกัน ส้มโอที่ติดผลชุดหลัง (สิงหาคม – ตุลาคม) จะมีรสชาติที่เข้มข้นกว่า เพราะมีประมาณกรอและน้ำตาลสูงกว่า (มีประมาณน้ำในผลน้อยกว่าเพราะเจริญเติบโตในช่วงฤดูหนาวและเก็บเกี่ยวในฤดูแล้ง)

ข้อพึงระวัง ->

การปลูกส้มโอ ก่อนจะดำเนินการปลูกต้องศึกษาข้อมูล รายละเอียดขึ้นตอน วิธีการปลูกอย่างจริงจัง และต้องอาศัยความขยัน การเอาใจใส่ ดูแลรักษา กำจัดวัชพืช อย่างสม่ำเสมอ จึงจะทำให้ผลผลิตมีคุณภาพ รสชาติดี

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา