ความรู้สัมมาชีพชุมชน

จักสานสุ่มไก่

โดย : นายสุข ไชยโย วันที่ : 2017-03-24-16:43:45

ที่อยู่ : 17/3 หมู่ 3 ตำบลตาโกน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การสานสุ่มไก่นี้ได้รับการสืบทอดมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ และได้มีการสานสุ่มสืบต่อกันมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อสร้างอาชีพเสริม

2.เพื่อเพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ไม้ไผ่

อุปกรณ์ ->

1.เลื่อยคันธนู

2.มีด

3.ไม้ไผ่

4.ค้อนตอกตะปู

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การจักตอกไผ่

        1.1 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดข้อปล้องแรกของไผ่ทิ้งเพื่อให้ผ่าลําไผ่ได้สะดวก

        1.2 ผ่าลำไผ่ออกมาเป็นเส้น ๆ

        1.3 จักตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผตีน (ส่วนข้อไผที่มีตาไผ่) ความกว้างของตอกแต่ละแบบโดยประมาณ คือ ตอกยืน 1.3–1.7 ซม. ตอกยาว 0.8 ซม และตอกไผ่ตีน 1.6–2.0 ซม.ซึ่งไผหนึ่งลำเหลาจักตอกได้ตอกยืนใช้สานสุ่มไก่ได้ 1 ใบ และตอกยาวสานสุ่มไก่ได้ 2 ใบ

        1.4 ส่วนที่เป็นข้อไผ่ นำมาเหลาเป็นตะขอข้อไผ่หลักหมุดยุดหัวสุ่ม เพื่อไม่ให้สุ่ม ขยับเขยื่อนในขณะสานขึ้นรูป

2. การสานสุ่มไก่

        2.1 เริ่มจากสานตอกยาวและตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัด

        2.2 ใช้ค้อนตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่มบนพื้นดินลานกว้าง เพื่อยึดสุ่มไก่ ไว้ใน การสานขึ้นรูป

        2.3 ใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ สุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งขามหนึ่ง) โดยจุดเริ่มต้นของตอกยาว

แต่ละเส้นเปลี่ยน ตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สุ่มไกได้รูปทรงกลม

        2.4 สานตีนสุ่มไก่ โดยใช้ตอกไผ ้ ่ตีนประมาณ 5 เส้น

        2.5 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยหรือคีมตัดส่วนตอกยืนที่ยื่นยาวตีนสุ่มไก่ทิ้งไป

ข้อพึงระวัง ->

การเลือกไม้ไผ่สำหรับจักสาน ต้องใช้ไม้ไผ่สีสุกที่แก่จัด และการเหลาเป็นเส้นตอกต้องมีขนาดความหนา บาง พอดีเท่ากันทุกเส้น ตากแดดให้แห้งก่อนนำมาจักสาน จึงจะทำให้ผลิตภัณฑ์ มีความประณีต สวยงาม และคงทน

 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา