ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เชื้อไตรโคเดอร์มา

โดย : นายเมตตา ทุมมาลา วันที่ : 2017-04-24-18:51:52

ที่อยู่ : 109/1 หมู่ที่ 5 บ้านโนนสว่าง ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ด้วยได้ไปอบรมกับหน่วยงานต่างๆ ทำให้มีความรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างดีและสามารถถ่ายทอดให้คนในชุมชนผ็มีความสนในจำไปใช้ประโยชน์ เหตุผลคืออยากเป็นผู้ให้สมกับชื่อของตัวเอง คือนายเมตตา นั่นเอง

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อให้เกษตรกรปลอดจากสารพิษ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ปลายข้าวหัก

2.น้ำ

หัวเชื้อราไดรโคเดอร์มา

อุปกรณ์ ->

1. หม้อหุงข้าวไฟฟ้าอัตโนมัติ     2. แก้วน้ำ หรือถ้วยตวง     3. ทัพพีตักข้าว     4. ถุงพลาสติกใสทนร้อน (ใหม่) ขนาด 8 X 12 นิ้ว     5. ยางวง     6. เข็มเย็บผ้า หรือเข็มหมุด หรือเข็มกลัด     7. ปลายข้าว ข้าวหัก หรือข้าวสาร (ทุกพันธุ์ ทั้งข้าวใหม่หรือข้าวเก่า)     8. หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาบริสุทธิ์ชนิดผงแห้ง  

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด

การเตรียมวัสดุและอุปกรณ์     1. หม้อหุงข้าวไฟฟ้าอัตโนมัติ     2. แก้วน้ำ หรือถ้วยตวง     3. ทัพพีตักข้าว     4. ถุงพลาสติกใสทนร้อน (ใหม่) ขนาด 8 X 12 นิ้ว     5. ยางวง     6. เข็มเย็บผ้า หรือเข็มหมุด หรือเข็มกลัด     7. ปลายข้าว ข้าวหัก หรือข้าวสาร (ทุกพันธุ์ ทั้งข้าวใหม่หรือข้าวเก่า)     8. หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาบริสุทธิ์ชนิดผงแห้ง  

ใส่ปลายข้าว 3 ส่วน (แก้ว) ในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า เติมน้ำสะอาด 2 ส่วน (แก้ว) แล้วกดสวิทช์ (ถ้าข้าวนิ่มเกินไป ให้ใช้ข้าว 2 ส่วนและน้ำ 1 ส่วน)

ข้าวสุก
(ข้าว 600 กรัมใส่น้ำ 0.5 ลิตร จะได้ข้าวสุก ประมาณ 1 กิโลกรัม) ใช้ทัพพีซุยข้าวในหม้อที่สุกแล้วให้ทั่ว

ตักข้าวสุกในขณะที่ข้าวยังร้อนอยู่ในถุงพลาสติก (ขนาด 8 x 12 นิ้ว) 250 กรัมต่อถุง (ข้าว 1 กิโลกรัม ใส่ได้ 4 ถุง)

รีดอากาศออกจากถุง แล้วพับปากถุงลงด้านล่าง ปล่อยทิ้งไว้ให้ข้าวอุ่น (เกือบเย็น) การใส่หัวเชื้อ

เทหรือเหยาะหัวเชื้อใส่ลงบนข้าวในถุงหัวเชื้อ 1 ขวด (20 กรัม ) ใส่ได้ 16 ถุง (4 กิโลกรัม) (ใส่เชื้อในบริเวณที่ลมสงบ)

รัดยางตรงปลายปากถุงให้แน่น

ขยำหรือบีบข้าวในถุงเบา ๆ เพื่อให้ถุงเชื้อกระจายอย่างทั่วถึง (เห็นผลเชื้อสีดำกระจายในเนื้อข้าว)

รวบถุงให้มีลมพองตรงบริเวณปากถุงที่รัดไว้ แล้วใช้เข็มสะอาดแทงตรงรอบ ๆ บริเวณปากถุงที่รัดยางไว้ โดยแทง 15 - 20 ครั้ง/ถุง การบ่มเชื้อ

กดข้าวในถุงให้แผ่กระจายทั่วถุงในลักษณะแบนราบมากที่สุด

วางถุงข้าวในบริเวณที่ได้รับแสงสว่างจากธรรมชาติหรือหลอดไฟที่ใช้ในบ้าน (ระวังมด แมลง หรือสัตว์มารบกวน) และอย่าให้ถูกแสงแดด

เมื่อบ่มครบ 2 วัน ขยำข้าวในถุงเบา ๆ ให้ข้าวเกิดการคลุกเคล้าอีกครั้ง เพื่อช่วยให้เส้นใยกระจายตัว กดข้าวให้แผ่แบนราบเช่นเดิม แล้วดึงกลางถุงให้โป่งขึ้น

บ่มเชื้อต่ออีก 4 - 5 วัน จะเห็นเชื้อสีเขียวปกคลุมเมล็ดข้าวนำไปใช้ทันทีหรือเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา (8 - 10 องศาเซลเซียส)

 

การเก็บรักษาเชื้อสดเมื่อครบกำหนด 6-7 วันของการบ่มเชื้อ โดยปกติจะเห็นสปอร์สีเขียวเข้มของเชื้อราไตรโคเดอร์มา ขึ้นปกคลุมปลายข้าวในถุงอย่างหนาแน่น ขนอาจมองไม่เห็นสีขาวของเมล็ดข้าว แต่ถ้าเกิดความผิดพลาด เช่นขยำเชื้อไม่กระจายทั่วทั้งถุง หรือเจาะรูให้อากาศเข้าถุงน้อยไป อาจพบว่าข้าวบริเวณกุ้นถุงยังคงเป็นสีขาว ให้แก้ไขโดยการใช้เข็มเจาะรูตรงปลายปากถุงเพิ่ม แล้วบ่มเชื้อต่ออีก 2 - 3 วัน
เชื้อที่เจริญทั่วถุงดีแล้ว ให้นำไปใช้ทันที สำหรับกรณีที่ไม่สามารถใช้เชื้อได้ทันที ให้นำถุงเชื้อรวมใส่ถุงพลาสติก แล้วนำไปเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา (8-10 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บเชื้อไว้ได้เป็นเวลาไม่เกิน 15 วัน 

ข้อพึงระวัง ->

ข้อควรระวังในการผลิตเชื้อชนิดสด

     1. ควรหุงปลายข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าอัตโนมัติเท่านั้น เพราะการใช้หม้อหุงข้าวชนิดที่ใช้แก๊ซ อาจทำให้ข้าวไหม้ หรือการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ มักได้ข้าวที่แฉะเกินไป ปลายข้าวที่หุงจนสุกด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าจะมีลักษณะเป็นไตขาวอยู่บ้าง จัดเป็นลักษณะที่ดี
     2. ต้องตักปลายข้าวที่หุงแล้วใส่ถุงพลาสติก ขณะที่ข้างกำลังร้อน เพื่อให้ความร้อนในถุงข้าวทำลายจุลินทรีย์จากอากาศที่อาจปนเปื้อนอยู่ในถุงข้าว
     3. การใช้เข็มแทงรอบบริเวณปากถุงที่รัดยางไว้มีความสำคัญอย่างยิ่ง ควรแทงไม่น้อยกว่า 15 
จุด / ถุง เพราะถ้าอากาศไม่สามารถระบายถ่ายเทได้ดี เชื้อจะเจริญไม่ทั่วทั้งถุง (ก้นถุงยังเห็นข้าวเป็นสีขาว)
     4. ควรบ่มเชื้อไว้ในบริเวณที่ร่มและเย็น (25-30 องศาเซลเซียส) ไม่ถูกแสงแดด และให้เชื้อได้รับแสงสว่างอย่างพอเพียงอย่างน้อย 10 -12 ชั่วโมง / วัน หรือตลอด 24 ชั่วโมง แสงจะช่วยกระตุ้นการสร้าง
สปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา บริเวณที่วางเชื้อมีแสงไม่พอเพียง อาจใช้แสงไฟจากหลอดฟลูโอเรสเซนต์ 
(นีออน) ช่วยได้
     5. อย่าลืมขยำข้าวเมื่อบ่มเชื้อครบ 2 วัน (หลังใส่เชื้อ) และกดข้าวให้แผ่แบนราบมากที่สุดอีกครั้งหลังขยำข้าวแล้ว ดึงถุงให้โป่งขึ้นเพื่อมีอากาศในถุงห้ามวางถุงทับซ้อนกัน
     6. ป้องกันอย่าให้ มด แมลง หรือสัตว์มากัดแทะถุงข้าว
     7. ถ้าพบเชื้อสีชมพู สีส้ม สีเหลือง หรือสีดำ ในถุงเชื้อใด ให้นำถุงเชื้อดังกล่าวไปทิ้งขยะ หรือทิ้งใส่หลุมชนิดฝังกลบ โดยไม่ต้องเปิดปากถุง
     8. ไม่ควรใช้เชื้อสดที่ได้จากการเลี้ยงเชื้อบนข้าวสุก เป็นหัวเชื้อเพื่อการผลิตขยายเชื้อต่อไป เพราะจะเกิดการปนเปื้อน และเชื้อจะเสื่อมคุณภาพและประสิทธิภาพ ปัญหาที่พบในการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดและการแก้ไข

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเลย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา