ความรู้สัมมาชีพชุมชน

สุรากลั่นพื้นเมือง

โดย : นายทองพูน เสวิสิทธิ์ วันที่ : 2017-04-19-15:35:52

ที่อยู่ : 38 ม.2 ต.นามาลา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สุราพื้นบ้านเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ชาวบ้านสามารถผลิตขึ้นเองในครัวเรือนมาช้านาน เพื่อใช้ในเทศกาลต่างๆ ในประเพณีของไทยมาตั้งแต่ โบราณกาล เช่นงานบวช  งานแต่งงานโกนผมไฟ เป็นต้น จนถึงปัจจุบัน สุราหรือเหล้า ตั้งแต่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อย จนถึง  ดีกรีแรงๆ ก็ยังได้รับความนิยมเป็นอันมาก  และความนิยมนี้ยังแพร่ไปถึงสุภาพสตรีบางส่วนที่นิยมดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยชรา

วัตถุประสงค์ ->

ลดรายจ่าย  สืบทอดภูมิปัญญา

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.  หัวเชื้อเหล้า (เหล้าที่มีดีกรีแรงๆ ประมาณ 68 ดีกรี) จำนวน 1 ขีด ดีปลี  ตากแห้งบดละเอียด  จำนวน 1 ขีด

2.  ชะเอม  ตากแห้งบดละเอียด  จำนวน 1  ขีด

3.  ขิง  ตากแห้งบดละเอียด  จำนวน  1  ขีด

4.  ข่า  ตากแห้งบดละเอียด  จำนวน 1  ขีด

5.  พริกไทย  ตากแห้งบดละเอียด  จำนวน 1  ขีด

6.  กระเทียม  ตำให้ละเอียด  คั้นเอาแต่น้ำให้ได้ปริมาณ  2  ขีด

7.  แป้งข้าวเหนียว

อุปกรณ์ ->

 

1. ถังพลาสติกพร้อมฝาปิด  เบอร์  11

2. ชุดหม้อนึ่งข้าวเหนียว

3.ชุดกลั่น

4.  สายยาง

5.แกลลอน

6. ขวดบรรจุพร้อมฝาปิด

7.เครื่องปิดฝาขวด

8. ฉลากปิดขวด

9. อากรแสตมป์

10.  น้ำ

11.  เชื้อเพลิง  (  ฟืน  ,  ถ่าน  ,  เตาแก๊ส  ,  ไฟฟ้า  )

12.  ข้าวสารเหนียว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.  นำดีปลี  ชะเอม  ขิง  ข่า  พริกไทย  แป้งข้าวเหนียว ( ตามอัตราส่วนข้างบน ) มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน

 2.  เติมหัวเชื้อเหล้าและน้ำกระเทียมลงไปในส่วนผสมดังกล่าว นวดให้เข้ากัน   (ถ้ายังไม่จับกันดีสามารถใช้น้ำเปล่าสะอาดช่วยได้ จนกว่าส่วนผสมทั้งหมดจะเหนียวดี)

3.  อัดส่วนผสมดังกล่าวเข้ากับถ้วยตวง  เพื่อทำให้เป็นก้อน

4.  วางแป้งหัวเชื้อเหล้าลงบนใบตองที่ปูไว้ แล้วนำแป้งข้าวเหนียวมาโรยหน้า อีกครั้ง

 5.  นำไม้ไผ่เช็ดให้สะอาดวางครอบแป้งหัวเชื้อเหล้าทั้งหมด จากนั้นพ่นเหล้า  40  ดีกรีลงบนไม้ไผ่  จากนั้นนำกระสอบคลุมไว้  ทิ้งไว้จนแป้งแห้งสนิทสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานเป็นปี

6.  ทำการผ่าน้ำเหล้า  เมื่อครบ  6  วันแล้ว  จากนั้นหมักต่ออีก  6  วัน

7.  นำข้าวเหนียวหมักทั้ง 6 ถัง ใส่ลงไปในถังกลั่น ตั้งไฟในการกลั่นให้พอดี  ถ้าไฟแรงเกินไปจะทำให้ข้าวเหนียวในถังเดือดแรง  จะมีกากข้าวปนออกมากับสุรากลั่น  ถ้าไฟอ่อนเกินไป  กากข้าวจะนอนก้นถังกลั่น  จะทำให้เกิดการไหม้

8.  เมื่อนำไปกลั่นแอลกอฮอล์ชุดแรกที่ไหลออกมาจะมีดีกรีสูงมาก  เรียกว่าหัวเชื้อเหล้า  มีดีกรีประมาณ  68  ดีกรี  ไม่เหมาะในการนำมารับประทาน  ทำการกลั่นหัวเชื้อออกให้หมด โดยการนำมาทำการวัดดีกรีให้เหมาะสมก่อนประมาณ  45  ดีกรี จึงเริ่มนำใส่แกลลอน  (ข้อแนะนำจากนายแจ้พบว่าหัวเชื้อเหล้าที่ไหลออกมาประมาณ 0.625  ลิตร คือ ขนาดเหล้า  40  ดีกรีขวดใหญ่  เมื่อเต็มขวดแล้วจะพบว่าดีกรีของเหล้าในถังกลั่นจะเกิดความพอดีที่คนเราสามารถนำมาดื่มได้)

 9.  เมื่อได้สุรากลั่นพื้นบ้าน  จำนวน  1  แกลลอน  นำมาบรรจุขวดขนาด  0.625  ลิตร  จะได้ปริมาณ  32  ขวด

10.  ปิดฝาด้วยเครื่องปิดฝา

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเลย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา