ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้าพื้นเมืองแบบกะเหรี่ยง

โดย : น.ส.พัน ยาง วันที่ : 2017-06-29-13:39:40

ที่อยู่ : ม.3 ต.หัวเมือง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ชาวปกากะญอ หรือกะเหรี่ยง นิยมใส่เสื้อผ้าฝ้ายทอมือมาแต่สมัยโบราณ ซึ่งแต่เดิมชาวกะเหรี่ยงจะปลูกฝ้ายเอง นำฝ้ายมาปั่นเป็นเส้นด้าย ย้อมด้วยสีธรรมชาติ สร้างลวดลายด้วยการทอ การปักด้วยเส้นไหม และลูกเดือย สตรีชาวกะเหรี่ยง จะถ่ายทอดภูมิปัญญากระบวนการผลิตผ้าทอ แก่บุตรสาอายุ 12-15 ปี เริ่มจากแบบง่ายๆ ฝึกฝนจนมีความชำนาญ และสามารถออกแบบลวดลายด้วยตนเองได้สำหรับลวดลายผ้าทอของชาวกะเหรี่ยงนั้น มีเรื่องราวเล่าสืบมาว่า ได้มาจากลายหนังงูใหญ่ ซึ่งเป็นคู่รักในอดีตของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยง โดยงูจะเปลี่ยนลายทุกวัน และหญิงสาวก็ทอผ้าตามลายที่ปรากฏจนครบ 7 วัน ทอได้ 7 ลาย แต่ลายที่นิยมนำมาทอ และปัก มี 4 ราย คือ โยห่อกือ เกอเป่เผลอ ฉุ่ยข่อลอ อีกลายหนึ่ง คือ ลายทีข่า ปัจจุบัน ยังมีลายที่นิยมทอ คือ เกอแนเดอ หรือลายรังผึ้ง และเซอกอพอ หรือ ลายดอกมะเขือ 

วัตถุประสงค์ ->

อนุรักษ์วิถีชนเผ่า  โดยใช้กี่เอว และสร้างมูลค่าเพิ่ม 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การย้อมผ้าฝ้ายสีธรรมชาติ ใช้เปลือกไม้ เรียกว่า ซาโก่แระ จะได้เป็นสีแดงแกมน้ำตาล ใบฮ่อม เซอ หย่า เหล่า ให้สีน้ำเงินแกมกรมท่า ผลสมอ ให้สีน้ำตาล และผลมะขามป้อมให้สีเทา เป็นต้น ชาวกะเหรี่ยงสร้างสรรค์ลวดลาย สีสันของผ้าทอจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว จึงมีความสวยงาม และคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์โดดเด่นของชาวกะเหรี่ยง มีการนำเมล็ดเดือย ซึ่งเป็นวัชพืชป่า ปักบนผืนผ้า สร้างเป็นลวดลายลักษณะเฉพาะ เป็นที่สะดุดตาแก่บุคคลภายนอก ซึ่งสนใจซื้อหาไปสวมใส่ และเป็นของฝาก ทำให้สตรีชาวกะเหรี่ยงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อการจำหน่าย 

อุปกรณ์ ->

1. แผ่นคาดหลัง (อย่ากุงไผย่) แต่เดิมนั้นทำมาจากหนังสัตว์
2. ไม้พันผ้า (เค่อไถ่ย) คือ ไม้รั้งผ้าสำหรับรั้งและพันผ้าที่ทอแล้ว
3. ไม้กระทบ (เน่ยบะ) คือ ไม้กระทบผ้า ทำจากไม้มะเกลือ ยาวประมาณ 70 เซนติเมตร
4. ไม้แยกด้าย (กงคู๊) ไม้แยกด้าย ทำจากไม้ไผ่ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร
5. ไม้ไบ่หรือว้าบัง เพื่อแบ่งเส้นด้ายยืน
6. ทะคู่เถิง คือ ไม้ไผ่เจาะรูทั้ง 2 ข้างสำหรับยึดเครื่องทอ
7. เส่ยถึง คือ ไม้ใส่ด้าย ทำจากไม้กลมหนาประมาณ 1 นิ้ว
8. ลุงทุ้ย คือ ไม้ม้วนด้ายพุ่งใช้สำหรับสอดด้ายพุ่ง
9. คองญ่ายฆ่อง คือ ไม้สำหรับยันเท้าสำหรับควบคุมให้ด้ายยืนตึง หรือย่อนในระหว่างทอ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การเตรียมเครื่องทอผ้า ก่อนที่จะทอผ้าจะต้องมีการเตรียมเครื่องทอผ้าตั้งแต่การปั่นด้าย การกรอด้าย การตั้งเครื่องทอผ้า การขึ้นด้าย มีขั้นตอนการทำดังนี้
1.1.1           การปั่นด้าย อุปกรณ์ในการปั่นด้ายผ้าทอกะเหรี่ยงราชบุรี ประกอบด้วย หลอดกรอด้าย และ
เครื่องมือกรอด้าย หลอดกรอด้าย เดิมชาวกะเหรี่ยงใช้วิธีม้วนด้ายด้วยมือให้เป็นก้อน ปัจจุบันใช้ท่อพลาสติกแทน มีความยาวขนาด 10 เซนติเมตร
1.1.2           การกรอด้ายขวาง ด้ายขวางเป็นด้ายที่สอดเข้าไประหว่างด้ายยืน ทำให้เกิดลวดลายต่างๆเรียกว่า
ลุงทุ้ย ใช้ด้ายพันกับไม้ ขนาดยาวประมาณ 1 ฟุตเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร
1.1.3           ตั้งไม้เครื่องทอกี่เอว หลังจากปั่นด้ายเสร็จเรียบร้อยแล้วก็นำด้ายมาขึ้นด้าย
1.4 การขึ้นด้าย หรือการขึ้นเครื่องทอกี่เอว เป็นการนำเอาเส้นด้ายมาเรียงต่อกันอย่างมีระเบียบตาม
แนวนอน โดยพันรอบกับส่วนประกอบของเครื่องทอ และก่อนที่จะมีการขึ้นด้ายจะต้องมีการเตรียมเส้นด้ายด้วยการปั่นด้าย การตั้งเครื่องทอ การเรียงเส้นด้าย การเปลี่ยนไม้เป็นเครื่องทอ
2. การทอผ้า มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เริ่มต้นคล้องด้ายลงที่หลักที่ 1 สาวเส้นด้ายผ่านหลักที่ 2,3,4,5,6,7 นำไปคล้องที่หลักที่ 8 และสาวมาคล้องที่หลักที่ 1
2. ดึงด้ายทั้งหมดให้ตึงเสมอกัน นำมาพันรอบหลักที่ 2
3. ดึงด้ายให้ตึงเสมอกันพาดผ่านด้านหน้าของไม้หลักที่ 3 ถึงไม้หลักที่ 4 เป็นจุดแยกด้าย โดยใช้ด้ายสีขาว
อีกกลุ่มหนึ่งเป็นเส้นด้ายตะกอสอดเข้าไประหว่างเส้นด้ายเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน ส่วนที่ไม่ได้คล้องกับตะกอแยกเส้นด้ายผ่านหลังหลักที่ 4 และส่วนที่คล้องตะกอ ดึงเส้นด้ายผ่านด้านหน้าหลักที่ 4
4. รวบด้ายทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันให้ตึง พาดผ่านหลักที่ 5,6 พันอ้อมหลักที่ 7
5. ดึงด้ายทั้งหมดให้ตึงพร้อมอ้อมหลักที่ 8 และสาวให้ตึง ดึงกลับมาเริ่มต้นที่หลักที่ 1 ใหม่
6. สอดไม้ทั้งหมดออกจากเครื่องทอ และนำไม้ไบ่ 1 อัน สอดเข้าไปแทนไม้ใส่ตะกอที่ 1 นำไม้ไบ่ 2 อันเข้า
สอดเปลี่ยนไม้ใส่ตะกอที่ 2 และไม้ใส่ตะกอที่ 3 ซึ่งต้องใช้ช่วยแยกด้ายเวลาทอแกะดอก ส่วนไม้ไบ่ที่ 2 ใส่กระบอกไม้ไผ่แทน 1 อัน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา