ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำนาข้าวอินทรีย์

โดย : นายมนัส เทียมศร วันที่ : 2017-03-22-08:33:07

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 50/1 หมู่ที่ 10 ตำบลไผ่ท่าโพ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

           เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี การปลูกข้าวพันธุ์ทั่วๆไป ราคาข้าวที่ขายได้ในแต่ละฤดูกาลก็ไม่ค่อยจะแน่นอน บางครั้งราคาสูงก็ถือว่าได้กำไรมาก แต่ถ้าราคาต่ำก็แย่ รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายของครอบครัว ดังคำที่ว่า ทำนาปรังมีแต่ซังกับหนี้ ทำนาปีมีแต่หนี้กับซัง  จึงเกิดความคิดว่าทำนาอย่างไร ที่สามารถจะลดต้นทุนการผลิตได้  ก็เริ่มมีแนวคิดว่าการทำนาข้าวอินทรีย์ โดยหันมาใช้น้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยชีวภาพที่ตนเองสามารถผลิตไว้ใช้เองได้ ทำให้ลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ยเคมีและยาเคมี อีกทั้งสุขภาพคนและข้าวที่ได้ยังมีความปลอดภัยอีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อลดต้นทุนการผลิต

2. เพื่อสุขภาพของคนทำนาและผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากสารเคมี

3.  คุณภาพของดินดีขึ้น
 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. พื้นที่ทำนาข้าว

2. เมล็ดพันธุ์ข้าว

3. ปุ๋ยอินทรีย์/น้ำหมักชีวภาพ

4. น้ำมัน
 

อุปกรณ์ ->

1. รถไถนา

2. เครื่องสูบน้ำและท่อสูบน้ำ

3. เครื่องหว่านเมล็ดพันธุ์

4. รถเกี่ยวข้าว

5. เครื่องพ่นน้ำหมักชีวภาพ
 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. เตรียมดิน ปรับสภาพดินให้เหมาะสมที่สุดต่อการปลูกและการเจริญเติบโตของข้าวในระบบหว่านน้ำตม 

2. เตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว การคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีความสมบูรณ์ เป็นข้าวเต็มเมล็ด น้ำหนักเมล็ดดี โดยคัดเลือกเมล็ดที่ลีบออกได้ ด้วยการแช่เมล็ดในน้ำ เมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ หรือเมล็ดลีบจะลอยตัว ให้ซ้อนเมล็ดที่ลอยออกทิ้ง แช่เมล็ดที่จมด้วยน้ำสะอาด แล้วนำไปใส่ถุงให้ข้าวงอกก่อนหว่าน

3. นำข้าวที่เตรียมไว้ไปหว่านด้วยเครื่องหวานเมล็ดพันธุ์ข้าวในนาที่มีน้ำพอแฉะ ปรับเทือกให้สม่ำเสมอ แล้วชักล่องเพื่อระบายน้ำป้องกันเมล็ดข้าวเน่า หลังหว่านข้าว 12-15  วันปล่อยน้ำเข้านาไม่ให้ท่วมข้าวเพื่อหล่อน้ำให้ความชื้น

4.  หลังต้นข้าวอายุประมาณ 30 วัน ไม่ควรให้มีน้ำขังอยู่ในแปลงนาตลอดเวลา เพื่อให้ต้นและใบข้าวมีความแข้งแรง ต้านทานโรคได้ดี

5.  ฉีดพ่นขับไล่แมลง โดยใช้สมุนไพร (น้ำสะเดาหมัก, น้ำส้มควันไม้) โดยฉีดพ่นในช่วงข้าวอายุ 50และ 60 วันเท่านั้น เพราะต้นข้าวมีความแข็งแรง โดยสังเกตจากต้นข้าวกอใหญ่ มีความตั้งตรงมีสีเขียวตามธรรมชาติ           

6.  เมื่อข้าวตั้งท้องให้ระบายน้ำออกจากแปลงนา

7. เก็บเกี่ยวข้าว

ข้อพึงระวัง ->

1. ให้น้ำข้าวอย่าให้ขาด ระวังอย่าให้น้ำขังในโคนต้นเด็ดขาด

2. หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิดในการควบคุมวัชพืช  ตั้งแต่การเตรียมดินที่เหมาะสม การใช้ระดับน้ำควบคุมวัชพืช  การใช้วัสดุคลุมดิน  การถอนด้วยมือ

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา