ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงสุกร

โดย : นางบุญยวน คุ้มเขต วันที่ : 2017-07-20-16:37:41

ที่อยู่ : บ้านหนองกา หมู่7 ตำบลปราณบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากทางบ้านเลี้ยงสุกรเป็นอาชีพทุนเดิมอยู่แล้ว พร้อมกับตัวที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องการเลี้ยงสุกรเป็นทุนเดิม ไม่จำเป็นต้องเฝ้าดูตลอดเวลา ทำให้สามารถประกอบอาชีพอื่นอีกได้ อีกทั้งการขายสุกรนั้นมีราคาดี 

วัตถุประสงค์ ->

1.สร้างอาชีพ

2.สร้างรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอน/วิธี/เทคนิค การดำเนินการ

1. การเริ่มต้นและการเตรียมการ การเลี้ยงสุกรเพื่อขุนขายเป็นสุกรเนื้อ อาจ จะเริ่มโดยการซื้อลูกหมูหย่านมมาเลี้ยง (น.น. 10-15 ก.ก.) โดยการเลือกลูกหมูที่มีโครงกระดูกใหญ่ เส้นท้องตรง เส้นหลังโค้งงาม ตัวยาว ขาตรง แข็งแรง คางกว้างใหญ่ ขนและหนังละเอียดเป็นมัน ตาใสไม่ขุ่นมัว ไม่เป็นไส้เลื่อน (สะดือไม่จุ่น) ลูกสุกรตัวผู้หย่านมขนาดนี้ อาจจะตอนมาแล้ว หรือยังไม่ตอน ถ้ายังไม่ตอนก็ควรทำการตอนโดยด่วน สำหรับลูกสุกรตัวเมียไม่จำเป็นต้องตอน เมื่อซื้อลูกสุกรหย่านมมาแล้ว ก็ทำการถ่ายพยาธิ (เช่นใช้ยาปิเปอร์ราซีน แบน­มินท์ เวอร์บาน เฟซีน ฯลฯ) หลังจากนั้นอีก 1 อาทิตย์ ก็ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์สุกร (ถ้าเจ้าของเดิมยังไม่ฉีด)

2. พันธุ์สุกรที่ควรใช้ ควรเป็นลูกสุกรผสม 2 หรือ 3 สายเลือดจะดีกว่าลูกสุกรพันธุ์แท้ 100% เพราะสุกรลูกผสมเช่นระหว่างลาร์จไวท์กับแลนด์เรซ หรือลาร์จไวท์ แลนด์และดูร็อค จะเลี้ยงง่าย โตเร็ว และทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศมากกว่าสุกรพันธุ์แท้สายเลือดเดียวโดย เฉพาะสภาพบ้านเรา และเมื่อผู้เลี้ยงยังไม่มีความชำนาญพอ ขอแนะนำให้เริ่มต้นด้วยสุกรลูกผสม

3. โรงเรือนและอุปกรณ์ โรงเรือนสำหรับเลี้ยงหมูขุน อาจทำง่าย ๆ โดยใช้ไม้ กลมขนาดแขนตียืนห่างกัน 3 นิ้ว เพื่อกั้นเป็นฝาคอก ขนาดกว้างยาวตามชอบ เช่น 3×4 เมตรหรือ 4X4 เมตร มีประตูเข้าออก หลังคาอาจมุงด้วยจากหรือใบซิเหรง และมุงเพียงด้านหน้าคอกไปทางหลังเพียง 2 ใน 3 เว้นด้านหลังให้หมูถูกแสงบ้าง พื้นคอกควรเทคอนกรีต เพื่อกันหมู่ขุดดินเป็นหลุมบ่อ คอกขนาค 3×4 เมตร สามารถเลี้ยงลูกหมูหย่านมได้ 12-15 ตัว เมื่อหมูโตขึ้นก็ควรแยกไปเลี้ยงคอกอื่น โดยเลี้ยงไวคอกละ 6-7 ตัว และจัดให้หมูที่มีขนาดและนํ้าหนักพอ ๆ กันอยู่ด้วยกัน อุปกรณ์อื่น ๆ ได้เเก่รางน้ำ รางอาหาร รางอาหารอาจทำเองด้วย ไม้กระดาน (1×8 นิ้ว) โดยทำเป็นรางรูป 3 เหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมก็ได้ รางนํ้าควรทำด้วยคอนกรีฅ เป็นรูปกลมหรือเป็นรางสี่เหลี่ยมก็ได้และต้องมีเนื้อที่รางอาหาร รางน้ำเพียงพอสำหรับหมูทุกตัว

4. อาหาร อาหารสำหรับสุกรขุน อาจใช้อาหารถุงสำเร็จรูปจากบริษัท หรือซื้อหัวอาหารเข้มข้น (มีโปรตีน 36% มาผสมเอง หรือจะซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ มาแล้วผสมเองทั้งหมด ถ้าซื้ออาหารสำเร็จรูปมาเลี้ยง อาจจะไม่ค่อยมีกำไร แต่ถ้าราคาหมูดีก็อาจจะมีกำไรบ้าง ในสภาพปัจจุบันเกษตรกรหาซื้อวัตถุดิบได้ยาก และอาจมีไม่สม่ำเสมอ เช่น ข้าวโพด กากถั่ว ปลาป่น ใบกระถิน แร่ธาตุ ไวตามิน แต่ทว่าในท้องทีทุกแห่งมักจะมีรำ ปลายข้าวอยู่เสมอ ดังนั้น จึงขอแนะนำให้เกษตรกรซื้อหัวอาหารเข้มข้น เช่น หัวอาหารหมูรวม (โปรตีน 34-36%) มาผสมกับรำ ปลายข้าว หรือข้าวโพด ถ้ามีกากเมล็ดยางพารา หรือมันสำปะหลังก็อาจใส่ลงในสูตรอาหารด้วย แต่จะต้องเตรียมสูตรอาหารให้มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนเพียงพอ เช่น ลูกหมูหย่านมก็ควรจะได้รับโปรตีน 18% หมูรุ่นใช้อาหารที่มีโปรตีน 15-16% หมูขนาด 50-60 ก.ก. มีโปรตีน 13-14%และหมูขนาด 60-100 ก.ก. ให้มีโปรตีน 12-13%

ตัวอย่างสูตรอาหาร (เมื่อใช้หัวอาหารหมูรวมโปรตีน 36%)

สูตร 1    สูตร 2      สูตร 3     สูตร 4

รำละเอียด                                 35           40             45           36

ปลายข้าว(หรือข้าวโพด)            35           40             45          37

กากเมล็ดยาง                                                                          20

หัวอาหาร(โปรตีน 36%)           30          20            10             7

รวม น.น. 100        100         100         100

% โปรตีน                                18            15         13            13

การให้อาหารแก่สุกรขุน นิยมให้วันละ 2 เวลา คือเช้าและเย็น โดยให้หมูกินจนอิ่ม โดยเฉลี่ยลูกหมูหย่านมจะกินอาหารตัวละ 0.5 ก.ก./วัน หมูรุ่น 1-1.5 ก.ก./วัน หมูใหญ่ 2.5 3 ก.ก./วัน และควรจะให้สุกรได้รับน้ำสะอาดเพียงพอตลอดเวลา การอาบน้ำไม่จำเป็น แต่ถ้าวันไหนอากาศร้อนจัดอาจอาบนํ้าก็ได้ นอกจากนี้ควรตัดผักหรือหญ้าให้สุกรกินบ้าง เช่นหัวมันเทศ ใบแค หญ้าขน หญ้าเนเปียร์ สาหร่าย ฯลฯ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา