ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกกล้วยน้ำหว้า

โดย : นายธรรมรงค์ อันผาสุข วันที่ : 2017-07-13-13:52:56

ที่อยู่ : 36/1 ม.6 ต.ทับกฤชใต้

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากมีพื้ยที่เหลือเป็นบริเวณกว้าง อีกทั้งมีความสนใจและทำการศึกษษเกี่ยวกับการปลูกกล้วน้ำหว้า

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นการใช้พื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์

เพื่อหารายได้เสริม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์การทำสวน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การเตรียมดิน กล้วยสามารถปลูกได้ในทุกสภาพดิน ขอเพียงมีน้ำรดเมื่อพืชต้องการน้ำและสามารถระบายน้ำได้เมื่อถึงฤดูฝนที่มีน้ำเกินความต้องการของพืช

1) ที่นาควรยกร่องกว้าง 1 เมตร และปลูกบนหลังร่อง

2) ที่ไร่ สามารถปลูกได้เลยโดยไม่ต้องยกร่อง

ระยะปลูกที่แนะนำคือ 3x3 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ 180 ต้น การไถตากดินก่อนปลูกจะช่วยกำจัดวัชพืชและเชื้อโรคในดิน การไถดะโดยใช้ผาน 3 ไถตากดินไว้ประมาณ 5-7 วันเป็นอย่างน้อย จากนั้นไถแปรโดยใช้ผาน 7 ก่อนทำการปลูกโดยขุดหลุมลึกประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 30 เซนติเมตร ไม่ต้องใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมเพราะจะทำให้เกิดรากเน่า

เมื่อรับหน่อมาแล้วควรปลูกทันที หากไม่พร้อมปลูกควรเก็บไว้ในร่ม และรดน้ำ หากจะเก็บหน่อไว้นานเกิน 3 วันควรนำหน่อปักชำไว้ในดิน โดยขุดหลุมลึกประมาณ 10 เซนติเมตร เอาบริเวณเหง้าของหน่อกล้วยลงไปประมาณครึ่งหัวแล้วกลบและรดน้ำวันละครั้งไม่ควรชำไว้นานเกิน 1 เดือน

 

2.การปลูก จำแนกการปลูกออกเป็น 4 แบบคือ

1) การปลูกกล้วยน้ำว้าโดยการไถยกร่อง ขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร เหมาะสำหรับพื้นที่ลุ่มลักษณะเป็นที่นามาก่อน โดยจะปลูกกล้วยบนร่องดังกล่าว

2) การปลูกกล้วยน้ำว้าโดยการไถยกร่องแต่ปลูกกล้วยในร่อง และให้น้ำโดยการปล่อยน้ำไหลไปตามร่องที่ปลูกกล้วยเหมาสำหรับพื้นที่ราบและมีความลาดเอียงเล็กน้อย

3) การปลูกกล้วยน้ำว้าโดยไม่ยกร่อง เหมาะสำหรับพื้นที่ไร่ที่ไม่มีน้ำขังในฤดูฝน เช่นที่ราบ ที่เชิงเขา

4) การปลูกกล้วยน้ำว้าโดยการขุดร่องน้ำ เหมาะสำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำมีน้ำขังตลอดปี มีระบบชลประทานเพียงพอ และลักษณะดินเป็นดินเหนียว เพราะดินทรายอาจทำให้เกิดการพังทลายของร่องน้ำได้ง่าย

 

3. การรดน้ำ  กล้วยเป็นพืชที่ต้องการน้ำสม่ำเสมอ และขาดน้ำไม่ได้ การให้น้ำควรสังเกตหน้าดิน เมื่อดินแห้งก็ควรรดน้ำ หากให้น้ำไม่เพียงพอจะทำให้ต้นกล้วยและผลผลิตที่ได้ไม่สมบูรณ์ หักล้มง่าย

ซึ่งระบบการให้น้ำพืช แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบดังนี้

1) ระบบสปริงเกอร์.....ดีที่สุด

2) ระบบน้ำท่วมร่อง(น้ำไหลไปตามร่อง)

3) ระบบน้ำหยด

4) ใช้เรือรดน้ำ

ข้อพึงระวัง ->

3 เดือน ให้สังเกตุต้นกล้วยหากพบใบเหลือง หรือใบเสียให้ตัดแต่งทิ้้ง โดยปกติจะเป็น 1-2 ใบล่าง ใส่ปุ๋ยคอกในอัตรา 2 ถ้วยแกงต่อ 1 ต้น โรยบริเวณโคนต้นให้ห่างจากต้นประมาณ 1 คืบ และปุ๋ยสูตร 25-7-7 ต้นละ 1 กำมือ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา