ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำน้ำหมักชีวภาพ

โดย : นายสุรพล ไชยณรงค์ วันที่ : 2017-06-28-14:50:03

ที่อยู่ : 50 ม.1 ต.ห้วยถั่วใต้ อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นํ้าหมักชีวภาพ คือ น้ำหมักชีวภาพที่ได้จากการหมักเศษซากพืช ซากสัตว์ หรือสารอินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่หาได้ในท้องถิ่นด้วยจุลินทรีย์จำเพาะ ซึ่งอาจหมักร่วมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง

 

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อลดต้นทุนการผลิต

2.เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมี

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ชนิดของน้ำหมักชีวภาพ
น้ำหมักชีวภาพแบ่งตามประเภทวัตถุดิบที่ใช้หมัก 3 ชนิด คือ
1. น้ำหมักชีวภาพจากพืช แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
– ชนิดที่ใช้ผัก และเศษพืช เป็นน้ำหมักที่ได้จากเศษพืช เศษผักจากแปลงเกษตรหลังการเก็บ และคัดแยกผลผลิต น้ำหมักที่ได้มีลักษณะเป็นน้ำข้นสีน้ำตาล มีกลิ่นหอม ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดอะมิโน กรดแลคติค และฮอร์โมนเอนไซม์
– ชนิดที่ใช้ขยะเปียก เป็นน้ำหมักที่ได้จากขยะในครัวเรือน เช่น เศษอาหาร เศษผักผลไม้ น้ำหมักที่ได้มีลักษณะข้นสีน้ำตาลจางกว่าชนิดแรก และมีกลิ่นหอมน้อยกว่า บางครั้งอาจมีกลิ่นเหม็นบ้างเล็กน้อย ต้องใช้กากน้ำตาลเป็นส่วนผสม

2. น้ำหมักชีวภาพจากสัตว์ เป็นน้ำหมักที่ได้จากเศษเนื้อต่างๆ เช่น เนื้อปลา เนื้อหอย เป็นต้น น้ำหมักที่ได้จะมีสีน้ำตาลเข้ม มักมีกลิ่นเหม็นมากกว่าน้ำหมักที่ได้จากวัตถุหมักอื่น ต้องใช้กากน้ำตาลเป็นส่วนผสม

3. น้ำหมักชีวภาพผสม เป็นน้ำหมักที่ได้จาการหมักพืช และเนื้อสัตว์รวมกัน ส่วนมากมักเป็นแหล่งที่ได้จากเศษอาหารในครัวเรือนเป็นหลัก

อุปกรณ์ ->

1.ถังหมัก

2.ไม้พาย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการหมักของน้ำหมักชีวภาพจะเกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ โดยใช้กากน้ำตาล และน้ำตาลจากสารอินทรีย์เป็นแหล่งพลังงาน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ

1. การหมักแบบต้องการออกซิเจน เป็นการหมักด้วยจุลินทรีย์ชนิดที่ต้องการออกซิเจนสำหรับกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ เพื่อสร้างเป็นพลังงาน และอาหารให้แก่เซลล์ การหมักชนิดนี้จะเกิดน้อยในกระบวนการหมักน้ำหมักชีวภาพ และมักเกิดในช่วงแรกของการหมัก แต่เมื่อออกซิเจนในน้ำ และอากาศหมด จุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจนจะลดน้อยลง และหมดไปจนเหลือเฉพาะการหมักจากจุลินทรีย์แบบไม่ใช้ออกซิเจน

2. การหมักแบบไม่ต้องการออกซิเจน เป็นการหมักด้วยจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจนสำหรับกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ เพื่อสร้างเป็นพลังงาน และอาหารให้แก่เซลล์ การหมักชนิดนี้จะเกิดเป็นส่วนใหญ่ในกระบวนการหมักน้ำหมักชีวภาพ ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ส่วนพวกเมอเคปเทนและก๊าซซัลไฟด์ปล่อยออกมาเล็กน้อย

ข้อพึงระวัง ->

น้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารในครัวเรือน
เศษอาหารในครัวเรือนมักมีข้อจำกัด คือ เน่าง่าย และมีกลิ่นเหม็น และเกิดในปริมาณน้อยในแต่ละวัน จึงเป็นปัญหาในการรวบรวม

น้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารที่เกิดขึ้นน้อย ทำได้โดยเตรียมชุดน้ำหมักข้างต้น (น้ำ+สารเร่ง+กากน้ำตาล) ในถังให้พร้อมก่อน หลังจากนั้น จึงเทเศษอาหารลงในแต่ละวันที่เกิดขึ้น อาจเทได้ประมาณ 7-15 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดถังที่เตรียม และต้องเตรียมชุดน้ำหมักเพียงค่อนถังหรือครึ่งถัง

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา