ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกอ้อย

โดย : นายวันชัย นาคบำรุง วันที่ : 2017-06-24-13:39:15

ที่อยู่ : ม.2 ต.นากลาง อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เป็นอาชีพหลักของครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

เพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธุ์อ้อย

อุปกรณ์ ->

พันธุ์อ้อย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปลูกอ้อย และนำผลผลิตออกจาก ไร่อ้อย เพื่อส่งเข้าโรงงานน้ำตาล

ขณะที่การดูแลและบำรุงรักษาแปลงอ้อยหลังปลูก (ช่วงผ่านแล้ง) ต้องพรวนดินจะช่วยให้ความชื้นในดินไม่สูญเสียไป ช่วยลดอุณหภูมิที่ผิวดิน ทำให้อ้อยแล้งแตกกอมากขึ้นทำลายไข่แมลงศัตรูอ้อยตามผิวดิน ควรพรวนดิน เพื่อเพิ่มระดับความชื้นในดิน  การดูแลแปลงอ้อยช่วงหลังฝน อ้อยข้ามแล้งส่วนใหญ่จะเริ่มคลุมร่องอ้อย การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชนั้นชาว ไร่อ้อย ควรพิจารณาการใช้สารเคมีให้เหมาะสมกับวัชพืช โดยปฏิบัติควบคู่ไปกับการใส่ปุ๋ย  ซึ่งอ้อยจะมีระยะการเจริญเติบโตคือ

1.      ระยะงอก ประมาณ 2-3 สัปดาห์ หลังจากเริ่มปลูก 1.5 เดือน ( 3-6 สัปดาห์) อ้อยใช้อาหารจากท่อนพันธุ์และความชื้นในดินปุ๋ยรองพื้นช่วยให้รากแข็งแรง

2.      ระยะแตกกอ อายุประมาณ 1.5 เดือนเป็นต้นไป ซึ่งอ้อยอายุ 1.5 – 3 เดือน ต้องการน้ำและปุ๋ยไนโตรเจนมาก เพื่อช่วยให้แตกกอและหน่อเติบโต มากที่สุดอยู่ระหว่าง 2.5-4 เดือน หน่อที่แตกออกมาทั้งหมดในระยะแตกกอนี้จะเหลือเพียงประมาณครึ่งหนึ่งเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว

3.      ระยะย่างปล้อง มีการเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวของปล้องอย่างรวดเร็ว อายุประมาณ 3-4 เดือน จนถึงอายุประมาณ 7-8 เดือน หลังจากนั้นการเจริญเติบโตจะมีช้าลง มีการสะสมน้ำตาลเพิ่มขึ้นเพราะอ้อยอายุ 4-5 เดือนเป็นระยะที่กำหนดขนาดและน้ำหนักของลำอ้อยเป็นช่วงที่อ้อยเจริญเติบโตเร็วที่สุด จึงต้องการปัจจัยต่างๆ เพื่อการเจริญเติบโตทั้งแสงแดด อุณหภูมิ น้ำและปุ๋ย

4.      ระยะแก่และสุก อัตราการเจริญเติบโตช้าลงมาก เมื่อการเจริญเติบโตช้าลง การสะสมน้ำตาลจึงมีมากขึ้น เมื่ออ้อยอายุ 8 เดือน – เก็บเกี่ยวจะเป็นระยะสมน้ำตาลไม่ควรใส่ปุ๋ย (ขอขอบคุณข้อมูลจากอาจารย์กฤชนนทร์ )

การปลูกอ้อย มีอยู่ 2 วิธีคือ

1.      การปลูกอ้อยข้ามแล้ง คือการปลูกในช่วงเดือน ต.ค.- ธ.ค. ข้อดีของการปลูกช่วงนี้คือ ไม่ค่อยมีหญ้า และอ้อยได้จำนวนอายุหลายเดือนก่อนตัดส่งโรงงาน แต่ข้อเสียก็คือ งอกช้า เวลาปลูกต้องหยอดน้ำไปพร้อมท่อนพันธุ์ด้วยถึงจะดี

2.      การปลูกอ้อยฤดูฝน คือการปลูกอ้อยหน้า ก.พ.-พ.ค. ช่วงนี้อ้อยจะโตเร็ว งอกเร็ว แต่อ้อยจะมีอายุน้อย ผลผลิตไม่เต็มที่ เพราะต้องตัดส่งโรงงานในช่วงเปิดหีบ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วโรงงานจะเปิดหีบประมาณเดือนพ.ย. – เม.ย. แล้วแต่โรงงานว่าจะเปิดหรือปิดช่วงไหน เราไม่สามารถกำหนดเวลาตัดเองได้

ที่สำคัญการเตรียมดินคือ ขั้นตอนนี้สำคัญมากสำหรับ การปลูกอ้อย ถ้าดูแลในขบวนการนี้ดีๆ อ้อยจะสามารถเก็บไว้ได้หลายตอ และให้ผลผลิตสูง การปลูกอ้อย ถ้าละเลยขั้นตอนนี้ในปีถัดๆ ไปผลผลิตจะลดลงมากเก็บได้อย่างเก่งไม่เกิน 2 ตอ การไถต้องทำดินให้ร่วนซุยที่สุด

 

ข้อพึงระวัง ->

ก่อนจะ “เตรียมท่อนพันธุ์ ให้มีอายุที่เหมาะสมต้องอยู่ระหว่างอายุ 8-10 เดือนขึ้นไปจะทำให้ท่อนพันธุ์แตกราก แตกหน่อได้ดี โดยรากจะแตกออกมาก่อนและงอกตาตามมาทีหลังทำให้ระบบรากแข็งแรงขึ้น อ้อยจะผ่านแล้งได้ดีและมีหนอนกอเข้าทำลายน้อย เมื่อตัดท่อนพันธุ์แล้ว ต้องปลูกให้เสร็จภายใน 3-5 วัน ถ้าทิ้งไว้จะทำให้จุดเจริญของรากและตาเสียไป ความหนาของการกลบท่อน พันธุ์อ้อย

ในการปลูกอ้อย ข้ามแล้งที่เน้นปลูกเดือนตุลาคมให้กลบดินหนาประมาณ 2 นิ้ว  หากปลูกเดือนพฤศจิกายน กลบดินหนาประมาณ 3 นิ้ว และถ้าปลูกเดือนธันวาคม กลบดินหน้าประมาณ 4 นิ้ว ในเดือนตุลาคมดินยังมีความชื้นสูงอยู่ ต้องทำการพรวนดินในร่องอ้อยเพื่อให้ดินร่วนซุย ถ้าไม่พรวนเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ หน่ออ้อยไม่สามารถแทงพื้นดินได้”  

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา