ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกมะนาวในวงซีเมนต์

โดย : นายมานะ ใยเทศ วันที่ : 2017-03-26-08:33:06

ที่อยู่ : 70/1 ม. 5 ต.สร้อยทอง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ศีกษาดูงานจากหมู่บ้านต้นแบบด้านเสรษฐกิจพอเพียง จึงได้นำกลับมาทำในหมู่บ้าน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1.วงซีเมนต์ 2.ท่อพีวีซี 3.พันธ์มะนาว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

          1. การคัดเลือกพันธุ์

              มะนาวที่ปูกในวงบ่อซีเมนต์ใช้ได้ทุกพันธุ์     แต่ที่สำคัญต้องเป็นพันธุ์ที่ตลาดต้องการ  มีการอกดอก ติดผลง่าย ให้ผลดก ผลมีขนาดใหญ่

เปลือกบาง  มีน้ำมาก  มีกลิ่นหอม  และทนทานต่อโรคและแมลง     พันธุ์ที่ตลาดนิยม ได้แก่พันธุ์แป้นรำไพ แป้นจริยา พันธุ์พิจิตร 1 และพันธุ์ตาฮิติ

เป็นต้น พันธุ์พิจิตร 1 และพันธุ์ตาฮิติ เป็นมะนาวที่ทนทานต่อโรคแคงเกอร์ที่ผล ใบ และลำต้นดีกว่าทุกพันธุ์

          2. การเตรียมวงบ่อซีเมนต์

              ควรใช้บ่อซีเมนต์ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 80 - 100 ซม.  สูง 40 - 60 ซม.  ที่ด้านล่างหรือก้นบ่อ ควรมีฝาซีเมนต์วงกลมขนาด

80-90 ซม. รองรับอยู่ด้านล่าง เพื่อป้องกันไม่ให้รากมะนาวหยั่งลงดินนอกก้นบ่อ บังคับอกผลนอกฤดูได้ยาก

          3. การวางบ่อซีเมนต์

              เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานควรวางวงบ่อเป็นแถวเป็นแนว ถ้ามีพื้นที่จำกัด ควรวางแถวเดียวระยะ 2x2 เมตร หรือ 2x3 เมตร แต่ถ้ามี

พื้นที่มาก ควรวางวงท่อแบบแถวคู่  2x2 เมตร แต่ละคู่ห่างกัน 3-4 เมตร

          4.  การเตรียมดินปลูก

               ดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเหมือนการปลูกไม้กระถางทั่วไป เป็นดินชั้นบนที่เป็นดินร่วนมีความอุดมสมบูรณ์สูง โดย

ใช้ดินร่วน 3 ส่วน  ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 2 ส่วน  ขี้เถ้าแกลยดำ 1 ส่วน หรือใช้ดินร่วน 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน   ขี้เถ้าแกลบดำ 1 ส่วน

ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้วตักใส่วงบ่อ กดดินหรือขึ้นเหยียบดิน โดยเฉพาะบริเวณขอบบ่อด้านล่างให้แน่น พูนดินสูงจากปากบ่อ 20-30 ซม. เผื่อ

ดินยุบตัวภายหลัง

 

          5.  การปลูก

               นำต้นพันธุ์มะนาวจากต้นกิ่งตอนต้นปักชำ  หรือต้นต่อยอดที่สมบูรณ์แข็งแรงดีมาปลูกตรงกลางวงบ่อ   โดยขุดหลุมเล็กน้อย รองก้นหลุม

ด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100-150 กรัมต่อหลุม  ใช้มีดกรีดก้นถุงพลาสติกสีดำโดยรอบแล้วนำต้นมะนาวไปวางในหลุม กลบดินเล็กน้อย ใช้

มีดกรีดถุงพลาสติกที่เหลือออก กลบดินกดดินให้แน่น ใช้ไม้ไผ่ปักหลักกันลมโยกแล้วรดน้ำให้ชุ่ม

          6.  การปฏิบัติดูแลรักษา

               6.1  การให้น้ำ ใช้สายยางรดน้ำหรือต่อระบบน้ำแบบมินิสปริงเกลอร์รดน้ำมะนาว 1-2 วันต่อครั้ง หรือวันละ 1 ครั้ง เฉพาะเวลาเช้า

               6.2  การใส่ปุ๋ย  หลังจากปลูกมะนาวได้ 1 เดือน   ควรใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการเจริญเติบโต   โดยใช้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 16-16-16 และปุ๋ย

ยูเรียเล็กน้อย อัตรา 100-150 กรัม หรือครึ่งกำมือต่อต้น ใส่เดือนละครั้ง ในระยะบังคับให้ออกดอก  ควรใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 สูตร 15-30-15 หรือ

ใส่ปุ๋ยที่มีตัวกลางสูง อัตรา 100-150 กรัมต่อต้น

               6.3  การคลุมโคนต้น  หลังจากปลูกแล้วควรใช้เศษฟางข้าวหญ้าแห้ง แกลบดิน กาบมะพร้าว ฯลฯ  คลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชุ่มชื้นใน

ดินและคลุมวัชพืชในวงบ่อด้วย

               6.4  การตัดแต่งกิ่ง ถ้าต้นมะนาวสมบูรณ์ดี มะนาวจะแตกกิ่งเล็กๆ จำนวนมาก   ควรตัดกิ่งที่ไม่เป็นระเบียบ กิ่งที่ซ้อนกัน กิ่งที่อยู่ด้านล่าง

ของต้น ไม่ควรหนักไปทางทิศใดทิศหนึ่งมากเกินไป เมื่อมะนาวออกผลอาจหักและล้มได้

               6.5  การค้ำกิ่ง  มะนาวที่ปลูกในวงบ่อ มีการกระจายรากจำกัด ในพื้นที่ที่มีลมแรง  เมื่อมะนาวติดผลดกมากกิ่งอาจหักหรือโค่นล้มได้ ควร

ป้องกันโดยการใช้ไม้ไผ่ค้ำยันกิ่งและลำต้นมะนาวแบบนั่งร้านสี่เหลี่ยมหรือปักเป็นกระโจมสามเหลี่ยม ให้มะนาวทุกต้นด้วย

               6.6  การเพิ่มดินปลูก   หลักจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตและตัดแต่งกิ่งมะนาวแต่ละปี  ควรนำดินร่วนผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตราส่วน ดิน

ร่วน 1 ส่วน ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน หรือดินร่วน 1 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน  ผสมปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 100-150 กรัม    ผสมให้เข้ากันดีแล้ว

นำมาใส่เพิ่มในวงบ่อให้เต็มปากบ่อ มีลักษณะพูนขึ้นเล็กน้อย

ข้อพึงระวัง ->

.  โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

               7.1  โรคที่สำคัญ

                      โรคแคงเกอร์  เกิดจากเชื้อแบคทีเรียป้องกันกำจัดโดยการใช้พันธุ์ทนทานมาปลูก เช่น พันธุ์พิจิตร 1 พันธุ์ตาฮิติ  ตัดแต่งกิ่ง ใบและ

ผลที่เป็นโรคไปเผาทำลาย และพ่นสารเคมี เช่น สารแคงเกอร์เอ็กซ์ โรครากและโคนเน่า เกิดจากเชื้อราไฟทอบเทอรา ป้องกันกำจัดโดยไม่ควรปลูก

มะนาวลึกเกินไป ไม่นำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักสดที่ยังไม่สลายตัวดี  มาเป็นวัสดุปลูกใช้สารเมทาแลคซิลละลายน้ำรดบริเวณโคนต้นที่เป็นโรค  โรคอื่นๆ

ได้แก่ โรคยางไหล โรคใบแก้ว โรคทริสเทซ่าและโรคราดำ ป้องกันกำจัดเช่นเดียวกับพืชสกุลส้มทั่วไป

               7.2  แมลงศัตรูที่สำคัญ

                      หนอนชอนใบ  การป้องกันกำจัด ควรตัดแต่งยอดอ่อน ใบอ่อนที่มีไข่หรือหนอนไปเผาทำลาย และพ่นสารเคมี ได้แก่ สารคาร์บาริล

หรือสารคาร์โบซัลแฟน เพลี้ยไฟ การป้องกันกำจัด พ่นสารเคมีคาร์โบซัลแฟนหรืออิมิดาโคลพริด ไรแดง  การป้องกันกำจัด      พ่นกำมะถันผลชนิด

ละลายน้ำในช่วงตอนเช้าหรือเย็น  หรือพ่นด้วยสารไดโคฟอล  เช่น เคลเทน เป็นต้น    เพื่อรักษาผิวผลไม้ไม่ให้ขรุขระหรือกระด้าง ไม่น่ารับประทาน

เพลี้ยหอย  การป้องกันกำจัด ตัดแต่งกิ่งมะนาว ที่พบเพลี้ยหอยระบาดไปเผาทำลาย หรือพ่นสารปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์

          8.  การบังคับต้นมะนาวในวงบ่อให้ออกดอดติดผลนอกฤดู

              ต้นมะนาวที่จะบังคับให้ออกดอกนอกฤดูนั้น ควรมีอายุอย่างน้อย 8 เดือนขึ้นไป ส่วนมะนาวที่มีาอายุมากกว่า 1 ปี และเคยออกดอกติดผล

แล้ว  ช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม  ควรเด็ดดอกและผลมะนาวในฤดูออกให้หมด ช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน    ส่วนใหญ่จะมีฝนตกอยู่ควรงด

การให้น้ำ พอถึงช่วงปลายเดือนสิงหาคมหรือต้นเดือนกันยายน ให้นำผ้าพลาสติกที่กันฝนขนาดกว้าง 1-1.5 เมตร ยาว 1.5-2 เมตร มาคลุมรอบวงบ่อ

ไว้ โดยให้ชายด้านหนึ่งมัดติดกับโคนต้นมะนาว  ให้สูงจากพื้นดินปากบ่อ 20-30 ซม.  คลุมไว้ประมาณ 10-15 วัน  สังเกตใบมะนาวมีอาการเริ่มเหี่ยว

ใบสลด อาจมีใบร่วงบ้างหรือเหี่ยวประมาณ 75-80% ให้นำผ้าพลาสติกออกแล้วให้น้ำพร้อมปุ๋ยสุตร 12-24-12 ต้นละ 100-150 กรัม ซึ่งถ้าต้นมะนาว

สมบูรณ์ดี หลังจากให้น้ำและปุ๋ยประมาณ 2 สัปดาห์ ต้นมะนาวจะผลตาดอกหรือแตกใบอ่อน พร้อมออกดอก    ช่วงนี้  ต้องหมั่นดูแลรักษาไม่ให้ศัตรู

มาทำลายมะนาวโดยเฉพาะ เพลี้ยไฟ ไรแดง และหนอนชอนใบ เป็นต้น

 

 

 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา